top of page
Search
Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.357 มารู้จักสมองของเรา เพื่อให้เราเรียนรู้ได้ดีขึ้น

Ep ที่แล้วเ

ขียนเรื่องการป้องกันอัลไซเมอร์ไป จากการศึกษาสมอง จริง ๆ สมองเราสามารถพัฒนาและเสื่อมได้ตลอดทุกช่วงวัย สมองไม่ได้หยุดพัฒนาเมื่ออายุ 25 ปี แม้แต่ผู้สูงอายุก็สามารถหัดทักษะใหม่ ๆ เช่น ดนตรี ภาษา ได้ หรือหากว่าเราอายุยังน้อยแต่ไม่ดูแลสมอง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า สมองเราก็ถูกทำลายได้เช่นกัน

.

ต่ายได้มีโอกาสไปฟังคุณ Barb (Dr. Barbara Oakley) มาพูดที่ SCB Academy คุณ Barb เป็นผู้แต่งหนังสือ ‘Learning How to Learn’ และเป็นผู้สอนคอร์สชื่อเดียวกันใน Coursera ที่มีผู้เรียนมากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก และ speaker ของ Ted Talk ในหัวข้อเดียวกับชื่อหนังสือ คุณ Barb เป็น professor ทางด้านวิศวกรรม ที่ตอนเด็ก ๆ ไม่ชอบเลขและวิทยาศาตร์เลย ไม่ชอบแบบไม่ยอมเรียนเลยด้วย จบปริญญาตรีใบแรกทางด้านภาษา และมาเริ่มเรียนปริญญาตรีอีกใบทางด้านวิศวะตอนอายุ 26 เพื่อเปลี่ยนสายอาชีพ

.

คุณ Barb มีเคล็ดลับมาบอกว่าเราจะสามารถเรียนรู้อะไรก็ได้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบเลย หรือไม่เข้าใจเลย อย่างเช่นที่คุณ Barb สามารถเปลี่ยนมาเรียนเลขได้ เคล็ดลับอยู่ที่เรามารู้จักและเข้าใจการทำงานของสมองกันนะคะ

.

สมองเรามี 2 โหมด คือ โหมดจดจ่อ (focus) และโหมดผ่อนคลาย (diffuse) เราต้องการทั้ง 2 ส่วนนี้เพื่อช่วยในการเรียนรู้ โหมดจดจ่อคือการที่เราตั้งใจอยู่กับสิ่งที่กำลังเรียนหรือทำอยู่ หากมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ หากเราต้องแก้ปัญหาหรือวิเคราะห์เราใช้โหมดจดจ่อนี้ เมื่อไรก็ตามที่เราติดในการแก้ปัญหา การเรียน การทำงาน ให้เราเปลี่ยนไปใช้โหมดผ่อนคลาย ทำอะไรที่เรา relax โหมดนี้จะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ที่เราจะสามารถนำกลับมาใช้เมื่อเรากลับมาอยู่ในโหมดจดจ่อ ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จะใช้ทั้ง 2 โหมดนี้สลับกันไป

.

หากว่าเรามีการผัดวันประกันพรุ่ง ทางแก้ที่ดีคือการใช้ 2 โหมดนี้สลับกัน ในเทคนิคที่เรียกว่าโพโมโดโร ต่ายเคยเขียนไว้ใน Ep.290 เทคนิคการไม่ผัดวันประกันพรุ่ง https://www.growwithtai.com/post/ep-290-เทคนิคการไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

.

การเรียนรู้ที่ดีอึกอย่างคือการใช้อุปมาอุปมัย (metaphor) คือ การอธิบายสิ่งที่เราเรียนมาใหม่ หรือสิ่งที่ยาก ๆ ด้วยการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรารู้จักอยู่แล้วเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น เทคนิคนี้ช่วยให้เราเชื่อมโยงการเรียนรู้ใหม่กับสิ่งที่เราอยู่แล้วช่วยให้เราเข้าใจและยังทำให้จำได้ด้วย

.

เทคนิคในการช่วยอ่านหนังสือ คือ ให้เริ่มต้นจากมองภาพใหญ่ เปิดหนังสือผ่าน ๆ เพื่อดูหัวข้อ คำที่เป็นตัวหนา ขีดเส้นใต้ กราฟ ตาราง เพื่อให้เราบอกสมองคร่าว ๆ ว่าเรากำลังจะเรียนรู้อะไร ก่อนลงมืออ่านละเอียด และเมื่ออ่านจบ เพื่อให้เราจำสิ่งที่เรียนไปคือการ recall เมื่ออ่านหนังสือหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วให้เราปิดหนังสือ แล้วลองนึกดูว่าเราจำอะไรได้บ้าง เราอาจจะจำได้ไม่หมด แต่เราใช้เทคนิคการทวนซ้ำ ๆ เพื่อในหลาย ๆ วันเพื่อให้เราจำได้มากขึ้น การนอนหลับจะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น การทบทวนควรจะทบทวนหลาย ๆ วัน มากกว่าทบทวนวันเดียวเยอะ ๆ

.

จากการศึกษาเทคนิคการ recall ช่วยในการเรียนรู้มากกว่าการอ่านซ้ำ ๆ เพียงอย่างเดียว และช่วยได้มากกว่าการอ่านไปขีดเส้นใต้หรือ highlight ไปด้วย และยังช่วยได้มากกว่าการทำแผนภาพเพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ เนื่องจากเราควรจะมีพื้นฐานที่ดีในแต่ละเรื่องการก่อนที่เราจะนำมาเชื่อมโยงกัน ใช้อุปมาเหมือนการก่อกำแพง เราควรรอให้ปูนแห้งดีก่อนที่จะก่อกำแพงชั้นต่อ ๆ ไป

.

ความเชื่อที่ผิดว่าถ้าเรียนแล้วเข้าใจคือเราก็ได้เรียนรู้แล้ว ความจริงคือการเข้าใจในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพอ หากเราไม่ลงมือผึกทำโจทย์และมีการทำซ้ำด้วย

.

ยังมีอีกหลายเทคนิคที่คุณ Barb สอนค่ะ ทั้งเทคนิคการช่วยจำ การเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง ฯลฯ Ep นี้ต่ายเรียบเรียงจากหลายแหล่งการเรียนของคุณ Barb แนะนำให้ไปหาเรียนเพิ่มได้ค่ะ

หากเวลาน้อยแนะนำดู clip TedTalk ค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=O96fE1E-rf8

ใครชอบอ่านหนังสือ แนะนำหนังสือ Learning how to Learn และคุณ Barb ยังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มติดตามคุณ Barb ได้ที่ https://barbaraoakley.com/

หากใครชอบเรียน online สามารถ register course ‘Learning how to Learn’ ได้ที่ https://www.coursera.org/

Comments


bottom of page