top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.388 Alexander Technique


Alexander Technique เป็นวิธีการเรียนรู้การเคลื่อนไหวและท่าทางที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการทำงานโดยรวมของร่างกายโดยการสอนผู้คนให้ตระหนักถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวและความตึงเครียดที่เป็นนิสัย และเรียนรู้วิธีคลายความตึงเครียดที่ไม่จำเป็นและเคลื่อนไหวได้มากขึ้น สะดวกและมีประสิทธิภาพ

.

เทคนิคนี้ได้รับการพัฒนาโดย F. Matthias Alexander ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าคนจำนวนมากพัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวและความตึงเครียดจนเป็นนิสัย ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย ความเจ็บปวด และข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว อเล็กซานเดอร์เชื่อว่ารูปแบบเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ผ่านการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายดายยิ่งขึ้น

.

ซึ่ง Alexander เองเป็นนักแสดงซึ่งได้มีอาการบาดเจ็บจนไม่สามารถใช้เสียงได้ แม้ว่าจะไปหาหมอหลายคนก็ไม่สามารถช่วยให้เสียงกลับมาได้ เค้าจึงใช้วิธีการสังเกตตัวเองในกระจก ปรับท่าทาง จนสามารถแก้ปัญหานี้เองได้ จึงนำมาสู่ Alexander Technique

.

เทคนิค Alexander มักใช้เพื่อช่วยผู้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ และอาการบาดเจ็บจากการตึงซ้ำๆ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬา ดนตรี และการพูดในที่สาธารณะ โดยทั่วไปจะสอนในเซสชันแบบตัวต่อตัวกับคุณครู Alexander Technique ซึ่งจะใช้คำแนะนำและการสัมผัสกับร่างกายอย่างแผ่วเบาช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงนิสัยของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะคลายความตึงเครียดและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น

.

ต่ายรู้จักเทคนิคนี้จากในวงนักดนตรี ตอนที่ไปเรียนคุณครูก็เคยเป็นนักไวโอลินในวง orchestra เพื่อน ๆ ที่เรียนส่วนใหญ่ก็เป็นนักดนตรีหรือครูสอนดนตรี สำหรับนักดนตรีการซ้อมดนตรีหลายชั่วโมงต่อวัน ถ้า posture ไม่กีก็ทำให้เกิดการเจ็บปวด เกิดอาการบาดเจ็บ และยังทำให้เสียงที่ออกมาคุณภาพไม่ดีด้วย จึงมีการศึกษาเทคนิคนี้เพื่อช่วยนักดนตรี

.

เทคนิคนี้ใช้ได้กับบุคคลในทุกวงการ ต่ายเองก็ได้ไปลอง one on one session ระหว่างใน session เป็นการจัดท่าทางเพื่อให้ให้เราใช้ร่างการของเราได้อย่างเหมาะสม ครูบอกว่าแต่ละคนมีร่างกายและการใช้ร่างกายมาไม่เหมือนกัน ดังนั้นครูจะไม่ได้บอกว่านักเปียโนทุกคนจะต้องนั่งหลังตรงเท่านั้น แต่จะต้องสังเกตว่าแต่ละคนควรจะนั่งเล่นเปียโนอย่างไร และการสัมผัสจากคุณครูในการจัดท่าทางจะเบามาก ไม่ได้ลงน้ำหนักเหมือนอย่างเวลาเราไปนวด เมื่อจบ session ก็รู้สึกว่าอาการปวดที่หลังดีขึ้น สำหรับ session เดียวเราคงยังปรับเปลี่ยนท่าทางจนเป็นนิสัยไม่ได้ อาจจะต้องมี one on one session ประมาณ 20-30 ครั้งแล้วแต่แต่ละคน

.

เทคนิคนี้ยังมีการสอนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงเด็กโต มีการสอนในโรงเรียน เช่น Eton College, Royal College of Music, Arts Educational Drama School

.

เทคนิคนี้ใช้ได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ค่ะ คนที่มีปัญหาปวดหลังเทคนิคนี้ช่วยได้ดีเลยค่ะ

Comments


bottom of page