สำหรับคนที่เรารักถ้าเรารู้ว่าเป็นช่วงท้าย ๆ ของชีวิตแล้ว เช่น คนที่เรารักเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว อย่างมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ หรือผู้สูงอายุที่ชราภาพมาก ๆ แล้ว ทางการแพทย์มีการดูแลแบประคับประคอง ช่วยดูแลมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการดูแลประคับประคองกันในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่เรียกว่า ‘การดูแลแบบประคับประคอง’ หรือ Palliative Care
.
ต่ายรู้จักคำนี้ครั้งแรกตอนที่ไปเป็นอาสาสมัครรับฟังผู้ที่สูญเสียในช่วงโควิด และได้รับการอบรมการฟังจากคุณหมอและทีมงานทางด้าน palliative care ถ้าเราไม่ได้รู้จักใครที่ใช้บริการนี้อยู่ เราอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่สำหรับต่ายแก่นของเรื่องนี้เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ค่ะ
.
หลังจากที่ได้ทราบหลักการของ palliative care คือ การดูแลใส่ใจผู้ป่วยในแบบประคับประคอง ไม่ได้หยุดการรักษา แต่ก็ยังเคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วย เช่น ถ้าผู้ป่วยบอกว่าไม่อยากให้มีการเจาะร่างกาย สอดท่อ ใส่สายระโยงระยาง เราก็เคารพการตัดสินใจของเค้า แต่ทั้งผู้ป่วยและเราก็รับรู้ผลที่จะตามมาร่วมกัน หรือคุณพ่อของเพื่อนต่ายที่เพิ่งจากไปบอกชัดเจนว่าอยากจะกลับมาอยู่ที่บ้าน ทางบ้านก็เคารพและพาคุณพ่อกลับมาอยู่ที่บ้านและคุณพ่อก็ได้จากไปตอนอยู่ที่บ้านอย่างที่ตั้งใจ
.
ต่ายเชื่อมโยงกับคำว่า dignity ตอนที่ทำงานที่ NGO และก่อนลงสนามจริงไปช่วยผู้ประสบภัยพายุไซโคลน น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด อาสามัครทุกคนต้องเรียนเรื่อง Humanitarian สิ่งนึงที่สอนคือเราต้อง respect ทุกคนมี dignity ผู้นำครอบครัวที่เคยหาเลี้ยงครอบครัวเมื่อประสบภัยแล้วเค้าไม่สามารถปกป้องดูแลครอบครัวของเค้าได้ในช่วงเวลานั้น เราจะดูแลเค้าอย่างไรโดยไม่ทำลาย dignity ของเค้า
.
ใน community ของ palliative care ที่คุยกัน มีการคุยกันถึงการจัดงานศพในแบบที่เราต้องการ มีการทำสมุดเป็น guide เพื่อให้เขียนบอกว่าหากเราตายไปแล้วเราอยากให้จัดการอะไรอย่างไรบ้าง สำหรับต่ายเองคุณพ่อก็บอกไว้ว่าอยากให้งานศพเป็นอย่างไร ให้ใช้รูปไหนวางหน้าศพ ต่ายก็เลยถามส่วนอื่น ๆ ที่คิดว่าพ่อยังบอกไม่ครบ คุยกันเหมือนคุยทั่วไป แต่ก็ดีใจที่ได้คุย เพราะเราก็อยากทำอะไรให้คนที่เรารักเป็นครั้งสุดท้ายในแบบที่เค้าก็อยากให้เป็นด้วย
.
ต่ายนึกถึงหนังสืออีกเล่มที่เคยอ่าน Death Cleaning ของ Margareta Magnusson คนเขียนเป็นชาวสวีเดน คนสูงอายุชาวสวีเดนพยายามจะมีของส่วนตัวให้น้อยที่สุด เผื่อว่าถ้าเสียชีวิตไปจะได้ไม่เป็นภาระให้ลูกหลานที่ไม่รู้ว่าควรจะจัดการกับของเหล่านี้อย่าไร สิ่งไหนที่อยากจะยกให้ใคร หรือบริจาคก็จัดการตั้งแต่ตอนมีวิตอยู่ ส่วนข้าวของอื่น ๆ ก็มีการแปะฉลากไว้ว่าถ้าเสียชีวิตแล้วจะให้ลูกหลานทำอย่างไร เช่น ยกให้ใคร ให้นำไปขาย หรือนำไปบริจาค หลักการก็คือจะได้ไม่เป็นภาระให้ลูกหลานในการจัดการของเหล่านี้
.
เมื่อไม่นานมานี้ได้คุยกับกลุ่มกัลยาณมิตร ก็มีการเปิดประเด็นคุยเรื่องนี้กันค่ะ พี่หมอในกลุ่มก็เลยบอกว่า คำว่า palliative care คือ ‘Best Supportive Care’ คือการช่วยสนับสนุนการจากไปอย่างดีที่สุด ซึ่งต่ายชอบคำนี้มากค่ะ มันบอกความหมายอย่างนั้นจริง ๆ ทั้งสนับสนุนผู้ป่วยและสนับสนุนคนรอบข้างให้ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี และช่วยให้คนในครอบครัวมีระยะเวลาทำใจ ใด ๆ ในโลกล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปค่ะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai
Comentários