top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.361 Learning How to Learn part 2


วันนี้เรียนจบคอร์สนี้ใน Coursera ค่ะ ชอบมากอยากบอกต่อ ของฟรีมีจริง ดีงามมากค่ะ concept หลัก ๆ คือเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสมองของเราได้ทุกช่วงวัย สมองเราไม่ได้หยุดพัฒนาตอนอายุ 25 แต่ cell สมองเราเกิดใหม่ทุกวัน คอร์สนี้เหมาะกับทุกวัย และเหมาะมากกับคนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ต่ายเรียนคอร์สนี้โดยตั้งใจจะนำไปสอนลูกต่อ และสำหรับตัวเองที่เป็น learner ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยค่ะ คอร์สนี้มีคนลงทะเบียนเรียนแล้วกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก และมี subtitle ภาษาไทยค่ะ

.

ลองมาดูบางส่วนของเนื้อหากันนะคะ

.

- การนอนหลับที่เพียงพอสามารถช่วยการทำงานของสมองโดยสมองจะลบส่วนที่ไม่สำคัญออกและเพิ่มความแข็งแรงให้ส่วนที่เราอยากจำ

- ถ้าหากว่าทำการบ้านอยู่แล้วเจอการบ้านที่ยากทำต่อไม่ได้ให้เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแล้วกลับมาทำการบ้านใหม่ อย่าพยายามทำต่อไปเรื่อย ๆ (เปลี่ยนจาก focus mode เป็น diffuse mode ซึ่งมี creativity สูงกว่า)

- การเรียนรู้สิ่งใหม่เราจะใช้ working memory ในการจำ หากอยากให้การเรียนรู้นี้ไปอยู่ที่ long term memory (ซึ่งจะจำได้ถาวรกว่า) ต้องอาศัยการทำความเข้าใจ ลงมือทำ ฝึกฝน และ เทคนิค space repetition คือ การพยายามทวนในระยะเวลาที่ห่างกัน ไม่ควรอัดแน่นทวนความรู้วันเดียวก่อนสอบ!

- Chunk ความรู้ที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน การที่เราจะสร้างกลุ่มก้อนนี้ให้เราจำได้ต้องอาศัยความเข้าใจ และต้องมีการทบทวน (recall โดยการปิดหนังสือแล้วนึกถึงสิ่งที่เรียนไปหรืออ่านไปให้ได้มากที่สุด หากยังนึกออกไม่หมดให้เว้นระยะเวลาแล้วแล้ว recall ใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจำเนื้อหาที่สำคัญได้ การเปิดดูเฉลยไม่ช่วยเราได้เท่า recall ด้วยตัวเอง)

- การเรียนรู้ควรสลับกันไปมาระหว่าง focus mode และ diffuse mode โดยอาจใช้เทคนิคโพโมโดโรช่วย คือ จดจ่อกับการเรียนรู้ โดยเน้นไปที่ขบวนการทำงาน 25 นาที (โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลว่าจะเสร็จหรือไม่) และพัก 5 นาทีเพื่อไปทำกิจกรรมอื่นเป็นการให้รางวัลเล็ก ๆ กับตัวเองที่เราจดจ่อได้ครบ 25 นาที เทคนิคนี้ช่วยลดการผลัดวันประกันพรุ่งด้วย

- การทำงานโดยไม่เน้น product หรือผลลัพธ์แต่เน้นที่ process คือเน้นกระบวนการในการทำ จะช่วยให้เราเครียดน้อยลงเพราะไม่ต้องคอยกังวลว่างานจะเสร็จตามเวลาหรือไม่

- เทคนิคการจำแบบ memory palace คือใช้ในการช่วยจำสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน เช่น รายการซื้อของที่ supermarket โดยใช้การจำเป็นภาพของสิ่งที่เราคุ้นเคย เช่น ภาพห้องนั่งเล่น รายการซื้อของเช่น นม ขนมปัง ส้ม ทิชชู่ เราจำเป็นภาพในห้องนั่งเล่นของเราว่าเห็นขนมปังในทีวี มีนมหกอยู่บนโซฟา ส้มลูกใหญ่วางบนโต๊ะและทิชชู่กลิ้งอยู่ใต้เก้าอี้ ช่วยให้เราจำได้

- การทำ task list (to do list) ของวันรุ่งขึ้นก่อนนอนจะช่วยให้ขณะที่เรานอนจะช่วยให้ subconscious ของเราช่วยหาทางออกให้เราระหว่างที่เราหลับ

- การใช้อุปมาอุปมัย ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องยากที่เรียนรู้ใหม่โดยการ link กับสิ่งที่เราเรียนรู้อยู่แล้ว และทำให้เราจำได้ดีขึ้น

- สมองของเราสร้าง cell ใหม่ทุกวัน ซึ่งถ้าเราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ cell เหล่านี้ก็จะไม่ตายไป และสิ่งที่ดียิ่งกว่ายาและวิตามินใด ๆ ช่วยสร้าง cell สมองคือการออกกำลัง

- แม้ว่าเราจะไม่ได้เกิดมามีสมองเป็นเลิศในด้านใดด้านนึง และเราไม่จะเป็นต้องฝึกฝนเฉพาะสิ่งที่เรามีพรสวรรค์ แต่เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยการฝึกฝนและ perseverance

- การทบทวนการเรียนรู้ หากเรามีกลุ่มเพื่อนที่ช่วยกันทบทวนก็จะช่วยในการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นกว่าทบทวนคนเดียว

- การฝึกทำ minitest คือสร้างทำข้อสอบจำลองจะช่วยลดการตื่นเต้นในการสอบจริง ช่วยในการทำความเข้าใจและฝึก recall ด้วย และมีเทคนิคฝึกการหายใจให้ลึกหายใจให้เข้าท้องเพื่อช่วยลดการตื่นเต้นได้อีกด้วย

- การทบทวนควรทำในสถานที่ต่าง ๆ กันไป เราจะได้ไม่จำโดยจำจากห้องที่เราใช้เรียน เพราะตอนที่เราสอบก็เป็นคนละที่กับที่ที่เราใช้เรียน

- เทคนิคการสอบ ควรดูภาพรวมของข้อสอบ หาข้อที่น่าจะยาก ทำข้อยากก่อน เพราะต้องใช้การจดจ่อสูง หากทำแล้วติด ให้รีบเปลี่ยนไปทำข้อที่ทำได้ให้ครบแล้วค่อยกลับมาลองทำข้อยากใหม่ สลับกันไปมาเป็นการสลับ focus mode กับ diffuse mode

ต่ายเองได้ลองใช้เทคนิคเหล่านี้แล้ว work มากค่ะ ตอนสอบเพื่อเรียน Learning How to Learn ใน Coursera ให้จบเมื่อใช้เทคนิคเหล่านี้แล้ว ต่ายสอบได้คะแนน 100% เต็มเลยค่ะ

Comentários


bottom of page