top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

จากนักพัฒนาคนสู่แม่ที่อยากพัฒนาลูก




ต่ายเป็น HR ในองค์กรใหญ่มากว่า 20 ปี มี passion ในการพัฒนาคน จากประสบการณ์การทำงาน ต่ายได้พบกับผู้คนหลากหลาย และได้พบว่าคนที่เข้าใจตัวเองจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เพราะเค้าสามารถหาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับเข้าได้ และคนเหล่านี้มักจะมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน การออกแบบแผนการพัฒนาให้เค้าจึงถูกจัดทำอย่างมีทิศทาง

.

เมื่อต่ายมีลูก ต่ายก็อยากเห็นลูกพัฒนาและเติบโต ต่ายหาเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเข้าใจเค้าและช่วยให้เค้าเข้าใจตัวเอง ด้วยการทำงานในสายการพัฒนาคน ต่ายได้ใช้เครื่องมือ assessment หลายตัวทั้ง assess personality, competency, traits ต่ายมองหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับเด็กเพราะอยากจะเข้าใจลูก

.

ต่ายรู้จัก CliftonStrengths (ชื่อเดิม Strength Finder) มาเกือบ 20 ปีแล้ว ตอนทำงานที่แรกทางบริษัทก็ซื้อหนังสือ Now, Discover your strengths แจก และได้ทำ strength assessment ครั้งแรก จนมาถึงตอนที่เรียนโค้ชและเป็นโค้ชเต็มตัวก็ได้กลับมามองหาเครื่องมือช่วยให้โค้ชชีเข้าใจตัวเอง และพบว่า Strength Explorer เป็นเครื่องมือค้นหาจุดแข็งที่เหมาะกับเด็กตั้งแต่ 10 ขวบขึ้นไป (Strength Explorer เป็น CliftonStrengths version ที่ simplify แล้วจาก 34 ตัวเหลือ 10 ตัว) ต่ายจึงตัดสินใจที่จะศึกษาเครื่องมือนี้ในเชิงลึก

.

เมื่อได้นำเครื่องมือนี้มาใช้กับลูกพบว่าทำให้เราเข้าใจเค้าได้มากขึ้น ก่อนที่ลูกจะทำ assessment ต่ายสงสัยมาตลอดว่าทำไปลูกต้องเสียใจมากมาย ตอนที่เล่น board game ในบ้านแล้วแพ้ ผลจาก Strength Explorer เค้ามี competition อยู่ใน top 3 ทำให้ต่ายเข้าใจแล้วว่าผลการแข่งขันใด ๆ สำหรับเค้ามันสำคัญ และการรู้สิ่งนี้ก็ช่วยให้ต่ายเองปรับแนวทางในการเลี้ยงลูก เน้น gamification ในการกระตุ้นในเค้าทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์

.

จากการที่ได้ใช้เครื่องมือนี้กับลูก ต่ายเองก็อินกับเรื่องนี้มากหลังจากที่ได้อ่านหนังสือ Strengths Based Parenting: Developing Your Children's Innate Talents ต่ายยังได้ช่วยพ่อแม่อีกหลายคนเข้าลูก คุณพ่อคุณแม่หลายคนที่ตามเพจเลี้ยงลูกของต่าย (FB: เลี้ยงลูกเล่นดนตรี) ก็ได้เข้าใจลูกมากขึ้นและมีแนวทางไปปรับการเลี้ยงลูก

.

ไม่เพียงแต่เครื่องมือนี้จะช่วยให้เข้าใจลูก เครื่องมือนี้ยังเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย ถ้าครอบครัวไหนได้ทำ CliftonStrengths assessment กันทั้งบ้าน คนในบ้านก็จะเข้าใจตัวเองและเข้าใจคนในครอบครัวมากขึ้น มีตัวอย่างครอบครัวหนึ่งที่คุณพ่อมี strategy อยู่ใน top 5 และ คุณแม่มี deliberative อยู่ใน top 5 ก่อนจะทราบผล strength ทั้งสองคนก็จะหงุดหงิดกันละกันว่าทำไมคุณพ่อต้องทำอะไรรวดเร็ว ในขณะที่คุณแม่ก็จะตัดสินใจช้าเหลือเกิน เมื่อได้ทราบผล strength แล้วจึงเข้าใจกัน และแบ่งหน้าที่ในการตัดสินใจในบ้าน ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องการความฉับไวในการตัดสินใจ คุณพ่อจะเป็นคนตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ คุณแม่จะเป็นคนตัดสินใจ

.

สำหรับต่าย CliftonStrenght เป็นเครื่องมือช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และช่วยให้วางแผนการพัฒนาตัวเราได้อย่างมีทิศทางค่ะ

 

โค้ชต่าย กชกร สกุลอิสริยาภรณ์, PCC


Comentarios


bottom of page