top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.71 The Music Parents’ Survival Guide Part 1 (Eng below).



.

หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมากค่ะ เขียนโดย Amy Nathan เป็นคุณแม่ที่มีลูกเล่นดนตรี แต่เธอเองไม่ได้เป็นนักดนตรี และอยากจะช่วยสนับสนุนลูก จึงรวบรวมพูดคุยรวบรวมข้อมูลจากคน 150 คน ในอเมริกา ทั้งผู้ปกครองที่มีลูกเล่นดนตรี (music parent), ผู้ปกครองที่เล่นดนตรี, ผู้ปกครองที่ไม่เล่นดนตรี, ครูสอนดนตรี ซึ่งบางส่วนก็เป็น music parent, และนักดนตรีอาชีพในสาขาต่าง ๆ เพื่อมาตอบคำถามคาใจ music parent

.

หนังสือเล่มนี้คุยถึงหลาย ๆ เรื่องที่เราเคยคุยกันไปแล้ว ต่ายขอสรุปประเด็นที่เรายังไม่เคยคุยกันในเพจนี้ดังนี้ค่ะ

.

ต่ายเพิ่งทราบว่า Suzuki method เป็นวิธีการสอนที่นิยมแพร่หลายในอเมริกาโดยเฉพาะการเรียนเครื่องสาย ต่ายเคยเขียนเล่าเรื่อง Suzuki method ใน Ep.5 การเรียนดนตรีด้วย Suzuki method


https://www.facebook.com/2201624653226213/posts/2214656908589654/


การเรียนเครื่องสาย เครื่องดนตรีที่มีคุณภาพมีส่วนช่วยในการเรียนของลูกเป็นอย่างยิ่ง นึกถึงการแข่งดนตรีนะคะ ถ้าแข่งเปียโน ทุกคนจะเล่นเปียโนตัวเดียวกัน แต่ถ้าเป็นเครื่องสายหรือเครื่องเป่า แต่ละคนจะนำเครื่องดนตรีมาเอง ซึ่งเครื่องดนตรีที่มีคุณภาพก็จะผลิตเสียงที่ดีกว่า

.

เด็กบางคนที่เล่นเก่งมาก ๆ เมื่อแข่งจบแล้ว อาจจะมีกรรมการแนะนำให้เปลี่ยนเครื่องดนตรี หรืออาจจะมี นักดนตรีหรือ sponsor ให้ยืมเครื่องดนตรี และที่อเมริกาก็มีเงินกู้สำหรับซื้อเครื่องดนตรีด้วยค่ะ

.

Violin นักไวโอลินอยากครอบครอง หรือมีโอกาสได้เล่นก็ยังดี ก็หนีไม่พ้น Stradivarius ก็อารมณ์ประมาณ Steinway & Sons สำหรับเปียโนค่ะ

.

อีกเรื่องที่เรายังไม่เคยพูดถึงกัน คือ เรื่องการเปลี่ยนครูค่ะ เราเคยคุยกันว่าครูคนแรกอาจจะไม่ใช่ครูที่สอนลูกเราตลอดไป และครูที่สอนเด็กเล็กกับสอนคนที่พอจะเล่นได้แล้วก็ใช้ทักษะแตกต่างกัน

.

ครูบางคนอาจจะแนะนำเลยค่ะว่าให้เปลี่ยนครู เพราะสอนจนหมดความรู้แล้ว บางครั้งผู้ปกครองอาจจะอยากเปลี่ยนครูเอง บางครั้งไปดู concert หรือไปค่ายดนตรี แล้วเห็นว่ามีเด็กอายุเท่าลูกเราเลยแต่ทำไมเล่นเพราะกว่าลูกเราจัง หรืออาจจะมีอีกทางเลือก คือ เรียนกับครูพร้อมกันมากกว่า 1 คน เช่น เรียนกับครูประจำของเรา และอาจจะไปเรียน master class กับครูอีกท่านเพื่อช่วยแก้เทคนิค เดือนละครั้ง (ปกติครูที่สอน master class จะเก่งมาก ๆ ค่าเรียนก็สูงตาม อาจจะเรียนเป็นประจำทุกสัปดาห์ไม่ไหว)

.

เราจะหาครูจากที่ไหน ครูที่สอนประจำอาจจะแนะนำครูคนใหม่ให้ อาจจะเป็นครูของครูอีกที ผู้ปกครองแนะนำกัน หรือถ้าไปดู concert แล้วชอบนักดนตรีคนไหน อาจจะลองถามดูว่าเค้าสอนดนตรีไหม หรือถ้าเป็น concert นักเรียน เด็กคนไหนเล่นเก่ง ๆ เราก็ไปสืบว่าเค้าเรียนกับครูคนไหนค่ะ

.

ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจและเรายังไม่เคยคุยกันค่ะ เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังตอนต่อ ๆ ไปนะคะ

.

.

This Ep name is the interesting book, written by Amy Nathan. She has kids who play music but she is not a musician. She wants to support her kids. So she talked to 150 people, in the US, who are music parents like her, parents who play music, parents who did not play music, professional musicians in various fields to answer questions to music parents.

.

In this book, it is discussed about many topics we talked in this page. So I summarize points that we never discuss here.

.

I have just known that Suzuki method is the popular method in the US especially for teaching string instruments. I wrote about Suzuki method in Ep.5 Studying music with Suzuki method


https://www.facebook.com/2201624653226213/posts/2214656908589654/?d=n


Studying string instruments, the quality instruments do support the learning. Thinking of the music competition, all pianists will play the same piano while those who play string or woodwind or brass will bring their own instruments. For which quality instruments will produce better sound.

.

For some talent kids, after the competition, the judge may recommend them to change the instruments. Or there maybe musician or sponsor lend them better instruments. There are even loan for buying music instruments.

.

Violin which all violinists want to own or at least want to play once Stradivarius. The same feeling like Steinway & Sons for pianists.

.

The other topic, we never talked about is switching teacher. We talked that the first teacher may not forever teacc our kids. And the teachers who teach young kids use the different skills to teach those who can play music already.

.

Some teachers may advise parents to switch teacher as they teach all what they know already. Some case, parents are the one who want to make change. Sometimes, they went to see a concert or music camp and they saw another kids about the same age as their, they play much more beautifully. Or alternatively, kids can study with two teachers at the same time. Kids study with their regular teacher while also attend master class to build on technique. (Normally, the teachers who teach master class are highly skill. And their fees are expensive, we may not afford to study with them regularly every week.)

.

Where we can find a teacher? Our current teacher may recommends new teacher who maybe the teacher’s teacher. Parents may suggest each other. Or you may attend the concert, and you like the musician, you may ask if s/he also teach. Or if you attend student concert and you found talent kids, you may find out who these kids study with.

.

There are still many topics we never talked. I will talk about them later.


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

Comments


bottom of page