top of page
  • เพจของโค้ชแม่ต่ายค่ะ
  • 9e582e788b549c8bc310958d8222048f_icon
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.61 จับประเด็นจากการคุยเรื่องเราจะช่วยลูกเรียนดนตรีอย่างไร กับ Leo Phillips part 1/3


Ep.61 Key note from the discussion with Leo Phillips about how we can help our kids to learn music part 1/3 (Eng. below)

.

.

ต่ายได้มีโอกาสไปร่วม Music talk, Parent Session ที่ผู้ปกครองที่ลูกเรียนดนตรีมาคุยกันเรื่องเราจะช่วยลูกเรียนดนตรีอย่างไร ตั้งแต่เราจะเลือกเครื่องดนตรีอะไร ช่วยในการซ้อมอย่างไร ตลอดจนถึงเรื่อง motivation โดยมี คุณ Leo Phillip เป็น key note และช่วยตอบคำถามค่ะ คุณ Leo เป็นทั้ง นักดนตรี และ conductor ที่มีผลงานมาแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะการทำงานทั้งการสอนและ conduct ร่วมกับเด็ก ๆ ที่เล่นเครื่องสาย

.



Session ประกอบด้วยคุณแม่ประมาณ 10 คน และครูอุ๋ม (บัณจินดา เหล่าไทย) Director of ROUND NOTE Music และ คุณครูสอน piano แนว Suzuki เป็น moderator

.

เครื่องดนตรีแรกที่นิยมเริ่มกัน คือ piano และ violin แต่ในอังกฤษมักนิยมเริ่มด้วย recorder ซึงแต่ละเครื่องก็มีข้อดีต่างกันค่ะ เพราะ piano กดแล้วสามารถได้เสียงที่ไพเราะเลย ส่วน violin มี size เล็กเหมาะสำหรับเด็ก ส่วน recorder เป็นเครื่องที่เล่นได้ง่าย อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเลือกเครื่องไหน ที่สำคัญคือ #เราไม่ควรบังคับลูกค่ะ การถูกบังคับทำให้เด็ก ๆ เลิกเล่นดนตรี ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียใจเมื่อโตขึ้นค่ะ

.

แล้วเราก็คุยกันถึงเรื่องการซ้อมดนตรี คุณ Leo แนะนำว่าการซ้อมควรมี #จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน (goal oriented) เพราะการซ้อมไม่ใช่เรื่องของระยะเวลาในการซ้อมอย่างเดียว การซ้อมระยะยาวติดกันเกินไปก็ไม่ส่งผลดี การซ้อมที่ผิดวิธีไม่อาจทำให้เราเล่นดีขึ้นได้ เพราะการที่เราจะผลิตเสียงออกมาให้ได้ตามที่เราต้องการ เราต้องมี imagination และเราควรฟังตัวเองเล่นด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก โดยเราช่วยลูกให้มีวินัยในการซ้อมได้โดยจัดการซ้อมให้เป็นกิจวัตรประจำวัน (routine)

.

เราคุยกันถึงเรื่องพ่อแม่ควรช่วยลูกซ้อมดนตรีไหม ครูอุ๋มเปรียบเทียบไว้ได้อย่างน่าสนใจค่ะว่า #การเล่นดนตรีก็เหมือนการแปรงฟัน เป็นทักษะที่เด็กทุกคนต้องมี ตอนลูกเล็กไม่สามารถทำเองได้ เราก็ต้องช่วยลูก เราไม่ต้องถามว่ามันสนุกไหม จนเมื่อเค้าโตพอที่จะทำเองได้ และครูอุ๋มยังมองว่าการฝึกดนตรีเป็นการฝึกทักษะชีวิตให้ลูกเรียนรู้ที่จะพยายาม ผ่านทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ

.

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเรียนดนตรีของแต่ละบ้านค่ะ เราให้ลูกเรียนดนตรีเพื่ออะไร เราอยากให้เค้าเล่นดนตรีเป็น สนุกไปกับดนตรี มีดนตรีในหัวใจ เมื่อโตขึ้นดนตรีจะได้เป็นเพื่อนเค้า heal their own souls หรือ เราอยากให้เค้าฝึกทักษะชีวิตผ่านดนตรี หรือเราอยากให้ลูกเราเป็นนักดนตรี เป้าหมายที่ต่างกันก็นำไปซึ่งการซ้อมที่ต่างกันค่ะ




.

เราควรยอมให้ลูกเลิกเรียนดนตรีเมื่อไหร่ คุณแม่ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าเราไม่อยากให้ลูกหยุดเรียนจนกว่าจะเล่นดนตรีได้เองแล้ว เพื่อให้ดนตรีอยู่ในชีวิตเค้าไปตลอด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เค้ายังเล็กยังไม่สามารถตัดสินใจเองได้ เราอาจต้องมีการ push บ้าง แต่อย่า force เพราะการ force จะทำให้เด็กไม่อยากเรียนดนตรี อย่าให้เค้าเสียใจตอนโตที่หยุดเรียนดนตรีนะคะ

.

Ep. หน้ามาคุยกันต่อเรื่องการเลือกครูดนตรี การเรียนดนตรีสำหรับเด็กเล็ก ทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นนักดนตรี และอื่น ๆ แล้วพบกันค่ะ

.

.

I attended Music talk, Parent session which the parents of music kids discussed about how we can support kids to learn music. We talked about what instruments to begin, how to support their practice, how to motivate them and much more.

Mr. Leo Phillip is our key note and help answers our questions. Leo is the musician and conductor in many countries, specialize in teaching and conducting with kids who play string instruments.

.

There were about 10 moms in the session together with, Oomi (Ms. Banchinda Laothai), the Director of ROUND NOTE Music and a piano teacher in Suzuki method, as an event moderator.

.

The first famous instruments for beginner are piano, violin and recorder.

Each instruments, there are different benefits. For piano, you will get a pleasant sound at your first hit the key. For violin, its mini size fit with kids’ body. For recorder, the UK famous beginning instrument, it is simple. No matter which instrument we choose, the golden rule is ‘Do not force’.

Forcing kids to play music undermine the kids stop learning music which they would regret when they grow up.

.

We then talked about the practice, Leo suggested that we should practice with ‘goal oriented’. A good practice session is not just the length of the session. Too long continuous practice time did not give us good result. The wrong practice method will not help us play better. To play the sound that we want, we need imagination. We should listen to ourselves when we play which is difficult to do. We can help the practice by setting it as a routine task.

.

Shall the parents practice together with kids? Oomi gave an interesting analogy. Playing music is like brushing your teeth. It is an essential skill for all the kids. When they are young, they cannot do it themselves, we need to help them until they are able to do it themselves. We do not ask them if it is fun or not. She also see practicing music is practicing life skills. Kids learn to put effort through both success and failure.

.

All we discussed is related to the GOAL of learning music. Why we want kids to play music. Whether we want them to be able to play music, enjoy the music, and have music in their hearts. They grow up with music as a buddy and allow the music heal their souls. Besides we might want them to practice life skills through learning music or to be a professional musician. The different targets lead to the different ways of practice.

.

When we should allow kids to stop learning music. All moms agreed that we do not want our kids to stop until they can play it by themselves as we want them to have music in their lives. Especially, when they too young to decide by themselves, we may need to push a little bit. But do not FORCE. Do not force them until they stop and they will be regret later.

.

Next Ep., I will share about how to choose music teacher, music for young kids, essential skills for musician and many more. See you.


Photo credit:


http://www.leophillips.com/biography.htm


https://www.long-mcquade.com/611/Band---Orchestral/Recorders---Tinwhistles/Yamaha/Soprano-Baroque-Recorder.htm


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

Comments


bottom of page