ต่ายฟัง Podcast, Secret Sauce ที่เชิญ ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea บริษัทแม่ของ Shopee, Garena, AirPlay คุยกันเรื่อง รับมืออนาคตด้วยทักษะแห่งความล้มเหลว เมื่อความรู้มีอายุขัยสั้นลง และการรับมือกับความล้มเหลวสำคัญพอ ๆ กับการกรุยทางแห่งความสำเร็จ
.
โดยสรุป ทักษะแห่งความล้มเหลวว่าคือ การล้มเหลว ยอมรับความล้มเหลว และเรียนรู้จากการล้มเหลวนั้น (ล้มเหลว ยอมรับ เรียนรู้)
.
เป็นทักษะที่เราอาจจะไม่เคยได้ตั้งใจฝึกฝน แต่ได้เรียนจากประสบการณ์จริงของเรา
.
การทำงานแบบ agile ก็เป็นการเรียนรู้การล้มเหลว และเรียนรู้อย่างรวดเร็ว (fail fast, learn fast)
.
ประเด็นนี้ต่ายอยากจะชวนคิดเรื่องการส่งลูกเข้าการแข่งขันต่าง ๆ มีแนวคิดการศึกษาหลายแนวที่ไม่สนับสนุนให้เด็ก ๆ แข่งขันกับผู้อื่น เช่น Suzuki method ที่ให้เด็กแต่ละคนพัฒนาไปตาม pace ของตัวเอง หรือ Waldorf และ แนวทางจิตศึกษา หรือของลำปลายมาศพัฒนา ก็ให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง
.
แต่คนรุ่นเราน่าจะโตมากับการแข่งขัน โรงเรียนมีการประกาศชื่อเพื่อนที่ไปแข่งขันได้รับรางวัล และเราก็รู้สึกภูมิใจเวลาที่เราไปแข่งขันได้รางวัลมาแล้วคุณพ่อคุณแม่เราไปคุยให้คนอื่นฟัง
.
แนวทางไหนที่ดีกว่ากัน? ในยุคของเราที่เลี้ยงลูกด้วยความรู้ของศตวรรษนี้
.
คำถามนี้ต่ายไม่มีคำตอบ แต่อยากชวนคุณพ่อคุณแม่คิดว่าแนวทางไหนที่จะเหมาะกับลูกเราและเหมาะที่จะช่วยเตรียมลูกเราสำหรับอนาคตค่ะ
Commentaires