top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.430 แล้วในที่สุดแม่ก็ตื่นเต้น


ถ้าใครที่ติดตามต่ายกันมาสักพักคงจะพอได้อ่าน Ep. ที่ต่ายซ้อมๆๆๆๆเปียโน เพื่อจะเล่น accom ให้ลูกที่จะแข่งไวโอลิน ต่ายบอกลูกว่าเราต้องซ้อม 200% เพื่อที่เวลาเราตื่นเต้น เราจะเล่นได้ drop ลงแต่มันก็จะยังคงได้ 100%

.

นอกจากนั้นต่ายก็มีการจัดคอนเสิร์ต (Live ผ่าน Facebook) ให้ลูกได้ซ้อมตื่นเต้น ให้รู้ว่าตื่นเต้นแล้วจะเป็นยังไง เราจะจัดการกับมันยังไง เพราะวันแข่งยังไงเราก็ตื่นเต้นแน่นอน แต่เราพอจะรู้แล้วว่าจะจัดการกับมันยังไง

.

สำหรับต่ายเอง นอกเหนือจากการซ้อม 200% ตอน concert ที่ Live ต่ายก็ผ่าน process เดียวกันกับลูกมาทั้งหมด แม่ก็ตั้งใจมาก เป้าหมายหลักสำหรับต่ายอาจจะไม่ใช่การเล่นให้เป็นเลิศ แต่ขั้นต่ำคือห้ามทำลูกพังบนเวที ดังนั้นเป้าหมายของต่ายคือ ต้องเล่นให้จบ ไม่สะดุด ไม่หยุดกลางทาง

.

พอถึงวันจริง ต่ายกับลูกก็ดูไม่ได้มีอาการว่าจะตื่นเต้น ลูกก็ยังกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับแม่ตอนอยู่ในห้อง standby ป๊าบอกว่าลูกมี exclusive accom เป็น accom ที่เล่นให้ลูกคนเดียว มีครูเปียโนหลายคนที่เล่นให้นักเรียนหลายคน บางคนแข่งกันคนละห้องครูต้องวิ่งไปมา ผู้ปกครองอาจจะมีแอบเสียวว่าครูจะมาทันไหม แต่ครู accom ก็ดูจะ professional ผ่าน concert มามากมาย ดูชิลมากในสายตาต่าย เล่นเพราะ และดูไม่ตื่นเวทีกันเลย

.

การเล่นดนตรี หรือ performance อื่น ๆ รวมทั้งกีฬา ไม่เหมือนการเรียนวิชาการอื่น ๆ ที่พออ่านหนังสือเข้าใจหรือจำได้แล้วพอเข้าห้องสอบก็จะทำได้ การเล่นดนตรี เราซ้อมกันเยอะมากเพื่อให้กล้ามเนื้อจำได้เลยว่าต่อไปต้องเล่นยังไง ทำให้เวลาที่เราสติหลุดเล็กน้อยนิ้วเราก็ยังคงเล่นต่อไปได้ เป็น muscle memory แต่เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างมากที่อาจจะมากระทบ เช่น หากเรามีอะไรมากระทบจิตใจ รถติดทำให้มาสายแล้วเราต้องรีบ อาจจะทำให้การซ้อมทั้งหมดที่ผ่านมา ไม่ได้ช่วยให้เรา perform ได้อย่างที่เคยซ้อม

.

ตัดภาพมาถึงห้องประกวด เราซ้อมการเดินเข้าออกกันมาอย่างดี แม่จะให้จังหวะโค้งด้วยการหายใจเข้า คือ ซ้อมกันมาทุกอย่างตั้งแต่การเดินเข้าเวที การโค้ง การตั้งท่าเล่น การให้สัญญาณกันว่าพร้อม เพื่อให้เราไม่ไปเงอะงะหน้าห้อง แล้วจะจิตตก พอต่ายให้สัญญาณลูกเริ่มเล่น พอกดโน้ตตัวแรก โอย รู้เลยว่าตื่นเต้น ไม่ได้ตื่นเต้นอย่างนี้มานาน ไม่ได้ตื่นเต้นมาก แต่รู้ว่าถ้าคุมไม่ได้ต้องเล่นผิดแน่ ๆ ก็พยายามจดจ่อ ฟังที่ตัวเองเล่น ฟังที่ลูกเล่น แล้วก็เล่นจบไปได้ แบบที่ต่ายเรียกว่าไม่พัง มีผิดบ้าง ซึ่งรู้ทีหลังตอนที่มาฟัง record แล้ว เพราะตอนเล่นอยู่ตื่นเต้นมาก มากจนไม่รู้ว่าตัวเองเล่นเปียโนยี่ห้ออะไร ทั้ง ๆ ที่ยี่ห้อมันก็อยู่ตรงหน้า ตอนก่อนแข่งแอบหวังใจว่าเผื่อจะได้เล่น Steinway & Sons ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เล่นเปียโนอะไรไป

.

การทำงานร่วมกันของแม่กับลูก (ไม่รู้ว่าลูกรู้ตัวไหมว่าแม่ฝึก teamwork ให้ลูก) ตลอดเวลาหลายเดือนก็ผ่านไปใน moment ที่การแข่งจบ แม่เป็นทุกอย่างให้ลูกแล้วจ้า

Comments


bottom of page