Ep ที่แล้ว ต่ายเขียนเรื่องการช่วยลูกซ้อมเปียโน ep นี้จะเน้นที่ไวโอลิน โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องสายอื่น ๆ ได้ค่ะ
.
ภาพรวมของการซ้อมเหมือนกัน คือ
1.พยายามแบ่งการซ้อมเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เล่นได้และมีกำลังใจในการบรรลุเป้าหมายเล็ก ๆ
2.ซ้อมช้า ๆ มาก ๆ ก่อน ให้เล่นได้แล้วค่อยเพิ่มความเร็ว
3.ชมลูกก่อน แล้วค่อยบอกว่าควรแก้ตรงไหน
.
สำหรับไวโอลิน เราใช้สองมือไม่เหมือนกัน มือขวาจับโบ (คันชัก) มือขวากดสายที่ finger board ตอนที่ลูกเรียน posture สำคัญมาก ตอนหัดใหม่ ๆ ฝึกจับไวโอลินโฟมอยู่ 3 อาทิตย์กว่าจะได้จับไวโอลินจริง
.
ก่อนซ้อมและเรียนทุกครั้งต้องตั้งสายค่ะ (tuning) ไวโอลินเสียงเพี้ยนง่าย ถือเดินไปมาสายก็เพี้ยน อุณหภูมิหรือความชื้นเปลั่นนสายก็เพี้ยน เราจะเห็นนักไวโอลินตั้งสายกันบนเวทีก่อนแสดงหรือก่อนแข่งเลยค่ะ
.
วืธีการตั้งสายสำหรับผู้ปกครอง เราใช้ตัวช่วยค่ะ โหลด app ตั้งสายมาเลยค่ะ ช่วยให้เรารู้ว่าสายตั้งตรงหรือยัง ปกติเราตั้งสาย A เป็นสายแรก ซึ่งโน้ต A จริง ๆ แล้ว ตรงกับความถี่ 440 Htz ตอนนี้ที่ยุโรปนิยมตั้งสูงกว่า studio ที่ลูกเรียนตั้ง A = 442 Htz เวลาจูนเปียโนที่บ้านเลยต้องลอกให้คนจูนตั้ง A = 442 Htz ไปด้วยค่ะ
.
เวลาซ้อมสามารถแยกซ้อมเป็นท่อนสั้น ๆ หากท่อนไหนยากก็สามารถแยกซ้อมโบกับมือซ้ายก่อนได้ ถ้าโบยาก ก็ซ้อมแต่โบกับสายเปล่าก่อน
.
สำหรับนักไวโอลินโดยเฉพาะที่เล่นกับวงจะเล่นโบขึ้นหรือโบลงที่สำคัญค่ะ นึกถึงภาพวง orchestra นักไวโอลินเค้าจะเล่นโบขึ้นลงเหมือนกันหมด ถ้ามีคนนึงเล่นโบผิดนี่รู้เลย
.
โดยมากเพลง ๆ นึง จะมีโบมาตรฐานอยู่แล้ว เสียงของโบขึ้นหรือโบลง จะได้คุณภาพเสียงที่ไม่เหมือนกันค่ะ
.
นอกจากนั้นก็คล้าย ๆ เปียโนค่ะ จะแยกซ้อมโน้ต, จังหวะ, dynamic ในแต่ละวันก็ได้ค่ะ
.
ที่สำคัญที่สุดอย่าลืมให้กำลังใจลูกนะคะ Ep ต่อไปมาดูรายละเอียดการซ้อมเครื่องเป่าและ voice นะคะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai
Comments