มีคนถามต่ายคำถามนี้มาบ่อยนะคะ การซ้อมดนตรีดูจะเป็นการทำหลายอย่างให้ดีพร้อมกัน เช่น เล่นโน้ตถูก เล่นจังหวะถูก เล่น dynamic (เสียงดังเบา) ตามที่โน้ตกำกับไว้ ตามมองโน้ต หูฟังเสียง นี่ยังไม่นับความเฉพาะตัวของแต่ละเครื่องดนตรี เช่น เปียโนต้องเล่นมือขวา มือซ้ายพร้อมกัน และให้เท้าเหยียบ pedal ด้วย ส่วนไวโอลิน มือซ้ายกด finger board มือซ้ายเล่น bow ขึ้นหรือลงให้ถูก
.
สำหรับเด็ก ๆ หลายครั้ง overwhelm นะคะ ต่ายแนะนำว่าให้แยกซ้อมเป็นส่วน ๆ ค่ะ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่ hand eye coordination ฝึกมาจนเป็น auto pilot แล้วก็ยังต้องแยกซ้อมพลงเป็นช่วง ๆ ค่ะ ช่วงไหนที่ยาก เล่นไม่ค่อยได้ต้องแยกมาซ้อมเฉพาะส่วนนั้นโดยการเล่นช้า ๆ จนได้แล้วค่อยเพิ่มความเร็วแล้วนำไปรวมกับส่วนอื่น ๆ เปิด metronome เพื่อให้จังหวะคงที่เท่ากันทั้งเพลง
.
สำหรับเด็ก ๆ เราต้องแยกย่อยกว่านั้นค่ะ และแต่ละเครื่องก็มีรายละเอียดที่ต้อง focus ต่างกัน วันนี้ขอพูดถึงเปียโนก่อนนะคะ เด็กเล็ก ๆ เวลาซ้อมจะซ้อมละมือให้ได้ก่อน แล้วค่อยเอามารวมกัน 2 มือ ปกติเราเรียนเปียโนกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าเราซ้อมทุกวันแสดงว่าเรามีเวลาซ้อม 7 วัน เราอาจจะวางแผนการซ้อมโดยซ้อมมือขวา 2 วัน ซ้อมมือซ้าย 2 วัน แล้วเอามาซ้อมรวมกัน 3 วัน ถ้าพยายามจะซ้อม 2 มือตั้งแต่แรก ก็อาจจะดู เยอะ overwhelm ค่ะ การแบ่งการซ้อมเป็นส่วนเล็ก ๆ ช่วยให้เด็กทำได้และมีกำลังใจค่ะ
.
พอโตขึ้นมาอีกหน่อย โน้ตเริ่มมีความซับซ้อน นอกจากเล่นโน้ตทั้ง 2 มือให้ถูกแล้วยังมีเรื่องของจังหวะ ความดังเบา (dynamic) และ pedal อีก ลองแบ่งเป็น focus ของแต่ละวันค่ะ เช่น วันแรกเล่นทีละมือให้คล่อง วันที่สองเอามารวมกันสองมือให้คล่อง วันที่สาม focus ที่จังหวะอย่างเดียว (โน้ตผิดบ้างไม่เป็นไร) วันที่สี่เน้นเรื่อง dynamic วันที่ห้าเน้นการเหยียบ pedal เหลืออีกสองวัน พยามยามเอาทุกอย่างมารวมกัน
.
สิ่งสำคัญในการซ้อมดนตรีคือเริ่มจาก**ซ้อมช้า ๆ** ช้าแบบที่เราเล่นได้สบายแบบไม่ต้องรีบตะครุบโน้ต หรือลุ้นมากเวลาเล่นว่าจะเล่นถูกไหม พอเล่นช้า ๆ ได้แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มความเร็ว อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยในการซ้อมและควบคุมจังหวะคือ metronome ซึ่งมีหลาย app ให้ download เปิด metronome ซ้อมช้า ๆ แล้วค่อยเพิ่ม speed ค่ะ ถ้าเพิ่มครั้งละ 2-3 beat/min มักละเล่นกันได้เลยไม่รู้สึกต้องพยายามมาก ถ้าเพิ่มประมาณ 5 beat/min จะเริ่มลุ้นเวลาเล่นแล้วค่ะ ค่อย ๆ เพิ่มความเร็วไปจนได้ speed ที่ต้องการ (หน่วยของ metronome คือ beat/min ตัวเลขที่เราเห็นแปลว่า metronome เคาะกี่ครั้งใน 1 นาที)
.
สำหรับต่ายเทคนิคการเพิ่มความเร็วคือ เล่นให้ได้มากกว่าความเร็วที่ต้องการเล็กน้อย เช่น ถ้าเพลงนี้ต้องเล่นได้ 100 ต่ายจะฝึกให้ได้ 110 เพราะถ้าเราเล่น 110 ได้คล่องอย่างไรเสียเราก็ต้องเล่น 100 ได้แน่นอน เผื่อตอนเล่นจริงเกิดตื่นเต้นแล้วเราเล่นเร็วไปกว่า 100 เราจะได้ประคองเพลงไปต่อไดด้วยค่ะ
.
การแยกซ้อมเป็นส่วน ๆ และการซ้อมช้า ๆ เหมือนการช่วยแบ่งเป้าหมายให้เล็กลง จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น และมีกำลังใจเมื่อทำได้ตามเป้าหมายในแต่ละวัน ที่สำคัญคือกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ถ้าซ้อมดนตรีแล้วโดนดุทุกที ลูก ๆ ก็คงจะไม่อยากซ้อม
.
คราวหน้าจะเขียนเรื่องเทคนิคการซ้อมไวโอลิน (เครื่องสาย) และการซ้อมเครื่องเป่า และ voice (การร้องเพลง) นะคะ
Comments