จากหนังสือ Think Again ของ Adam Grant ที่ภาพรวมโดยสรุปคือเราอย่าปักใจเชื่อในสิ่งต่าง ๆ โดยทันที ไม่ว่าจะเป็นความรู้เดิมที่เรามี ความเชื่อ ทัศนคติที่เรามี Adam เป็นคนที่พูดถึง concept เรื่อง unlearn และ rethink ในหนังสือ Originals
.
ซึ่งมีส่วนหนึ่งในหนังสือบอกว่า เราไม่ควรถามเด็ก ๆ ว่า ‘โตขึ้นอยากเป็นอะไร’ คำถามนี่ดูจะธรรมดาสามัญมาก เราไม่ควรให้เด็กมองตัวตนของเค้าจากอาชีพเท่านั้น และการที่เด็กมีอาชีพในฝันอาจจเป็นการปิดกั้นการที่เค้าจะได้ลองมองหาสิ่งอื่น ๆ
.
ผู้เขียนยกตัวอย่างน้องชายของเค้าซึ่งถูกคาดหวังจากวงศ์ตระกูลว่าต้องเป็นหมอ แล้วเค้าก็มีความสามารถสามารถสอบเข้าเรียนหมอได้อย่างสบาย และได้เป็นหมอผ่าตัดสมองในที่สุด แต่ระหว่างทางเค้ามีความคิดหลายครั้งว่าควรจะมาทำอีพทางธุรกิจไหม จนในที่สุดก็ค้นพบว่าเค้าอยากทำธุรกิจมากกว่าเมื่ออายุ 30 กว่าและเรียนหมอมากว่า 10 ปีแล้ว จึงออกมาทำธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ จะดีกว่าไหมถ้าเค้าได้ลองคิดทบทวน เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองมากกว่าที่จะโฟกัสไปที่การเป็นหมออย่างเดียว
.
ถ้าต่ายมองในฐานะ HR ในฐานะ recruiter ตอนที่ทำงานใหม่ ๆ เวลา scan resume หาตำแหน่งไหน เราจะมองหาคนที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งนั้นโดยตรงยิ่งทำมานานยิ่งดี และยิ่งทำที่บริษัทเดิมมานานยิ่งดี เพราะจะได้มั่นใจว่าเค้ามีประสบการณ์สูง และยังเป็นคนที่น่าจะไม่ย้ายงานบ่อย
.
ถ้ามาดู resume เด็ก ๆ สมัยนี้การย้ายงานบ่อย ๆ เป็นเรื่องธรรมดามาก ถ้าอยู่ที่เดิมได้ 2-3 ปีนี้ถือว่านานแล้ว และสายงานที่ทำก็หลากหลาย เราลืมไปได้เลยที่จะหาคนที่มีประการณ์ตรง ทำงานในหน้าที่นั้นมานาน และอยู่บริษัทเดิมมานาน
.
การเปลี่ยนสายอาชีพในปัจจุบันก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นคนโลเล หรือคนที่ยังหาตัวตนไม่เจออีกแล้ว แต่เป็นเรื่องธรรมดามาก ยิ่งเราผ่านโควิดมา เรารู้ว่าการมีอาชีพเดียวไม่มั่นคง หลายคนได้ลองทำอาชีพอื่น ๆ ทำให้ได้โอกาสในการ explore สิ่งอื่น ๆ ที่เราอาจจะชอบมากกว่า มีความสามารถมากกว่า
.
มาถึงตรงนี้แล้วยังไง เราควรช่วยลูกค้นหาตัวตนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ไหม เด็กยุคนี้ถ้าครอบครัวสามารถสนับสนุนได้ พ่อแม่จะให้ลูกได้ลองในหลาย ๆ อย่างเพื่อค้นหาว่าเค้าชอบอะไร เค้ามีความสามารถในด้านไหน ถ้าเจอได้ตั้งแต่เล็ก ๆ ยิ่งดี เราจะได้ทุ่มเททรัพยากรในการ invest ในทักษะด้านนั้น ๆ
.
เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วต่ายก็ think again เช่นกัน การช่วยลูกค้นหาตัวตนแล้วผลักดันเค้าตั้งแต่เด็ก ถ้าถามต่ายว่าถ้าลูกเจอแล้วจะทำอย่างนั้นไหม ต่ายก็จะตอบว่าทำค่ะ เพียงแต่ว่าต่ายจะคอยสังเกตด้วยว่ามีอย่างอื่นอีกไหมที่เค้าอาจจะสนใจ ถ้ามีแล้วเค้าอยากลองก็ไม่ได้ปิดกั้นอะไร หรือถ้าลูกยังไม่รู้ว่าชอบอะไรก็ไม่เป็นไร ก็ลองไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบ ตัวต่ายเองก็เพิ่งค้นพบไม่นานว่าอาชีพที่ตัวเองชอบคืออะไร
.
เราอาจจะใช้เวลาหลายสิบปีในการหาเจอว่าเราชอบอะไร หรืออาจจะไม่เจอเลยก็ได้ Adam บอกว่าให้เราบอกความจริงกับเด็ก ๆ ไปว่า ‘หนูจะเป็นอะไรก็ได้ที่หนูเก่ง ตราบเท่าที่มีคนจ้างหนู’
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai
Yorumlar