top of page
  • เพจของโค้ชแม่ต่ายค่ะ
  • 9e582e788b549c8bc310958d8222048f_icon
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.407 โดนตีกับโดนว่าอันไหนเจ็บกว่ากัน


เราอยู่ในยุคที่เดี๋ยวนี้พ่อแม่ไม่ตีลูก (หรือตีลูกน้อยลงกว่าตอนที่เราเป็นเด็กเยอะ) คุณครูก็ไม่ใช้วิธีการลงโทษด้วยการตีแล้ว จะเปลี่ยนเป็นการว่ากล่าวตักเตือน การทำทัณฑ์บน หรือการตัดคะแนนความประพฤติแทน

.

การตีถือเป็น physical violence เรารับรู้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะหากมีร่องรอยการตีหรือการทำร้ายร่างกาย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ ต้องช่วยกันสอดส่องดูแล อย่างเช่นถ้าคุณครูเห็นรอยแผลตามตัว คุณหมอเด็กตรวจร่างกายแล้วอาจจะสงสัยว่ามีการทำร้ายร่างกาย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

.

การลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายกันจึงลดน้อยลงกว่าในยุคที่เราเป็นเด็กมาก

.

วันนี้อยากชวนคุยเรื่อง domestic violence หรือความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งไม่ได้มีแง่การทำร้ายกันของร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่มีเรื่องการทำร้ายจิตใจด้วย ซึ่งเรื่องนี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และเราเองก็พลั้งเผลอว่าลูกได้ง่ายกว่าการตีลูก หรือเราอาจจะพูดอะไรทำร้ายจิตใจลูกไปโดยไม่ทราบหรือไม่ได้ตั้งใจ

.

ถ้าเราตีลูก ลูกก็เจ็บ แต่ความเจ็บนั้นมันก็หายไป แต่ถ้าเราว่าลูก ลูกก็เจ็บ (เจ็บในใจ) แต่ความเจ็บนั้นอาจอยู่ยาวนานอย่างที่เราคาดไม่ถึง เพราะเมื่อลูกนึกถึงเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเมื่อไรมันก็เจ็บอีก ลองนึกถึงตัวเราเองเราเคยโดนใครว่า แล้วมันจำฝังใจไหมคะ ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ลืมว่าโดนว่าว่าอะไร และก็ยังเจ็บทุกครั้งที่นึกถึง

.

เราเองก็อาจจะเผลอไปสร้างเหตุการณ์แบบนั้นกับลูกเราแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ถ้าเราเป็นพ่อแม่ แล้วลูกยังเป็นเด็กน้อย ลูกอาจจะไม่สามารถแสดงอารมณ์โกรธออกมาได้ ลูกอาจจะเก็บกดไว้ข้างในและไปหาทางระบายออกทางอื่น เช่น เราเคยได้ยินเหตุการณ์ bully ของเด็ก ๆ เด็กที่ไป bully คนอื่นอาจจะเคยได้รับ violence อาจจะทั้ง physical และ mental แล้วไประบายออกกับเด็กคนอื่น (เพราะไม่สามารถระบายออกกับผู้ใหญ่ที่กระทำเค้าได้) หรือ เด็กที่ถูก bully อาจจะเป็นเด็กที่ได้รับ violence มาเช่นกัน แต่อาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ถ้าทำให้ใครโกรธเราก็จะได้รับ violence เป็นการตอบสนอง เพราะมีตัวอย่างแบบนี้ให้เค้าเห็น

.

ถ้าเป็นเด็กที่ไม่สามารถไปแสดงออกที่ไหนด้าน อาจจะเก็บกดสะสม และอาจจะออกมาในรูปแบบความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ เช่น อาการซึมเศร้า ผู้ใหญ่หลายคนที่มีอาการซึมเศร้าก็อาจมีสาเหตุมาตั้งแต่ตอนที่เป็นเด็ก

.

เราเลือกได้ค่ะว่าจะส่งต่อความรุนแรงที่เรา(อาจ)เคยได้รับมา หรือเราจะหยุดวงจรนี้


Comments


bottom of page