ขอแชร์ประสบการณ์ตัวเองจากการเรียน 2 เครื่องดนตรีที่ top hit ในเมืองไทย
.
ต่ายเรียน piano ตั้งแต่เด็ก ๆ เริ่มเรียนหลังจากจบ JMC เรียนมาเรื่อย ๆ จนจบ grade 5 Trinity ตอนม.3 แล้วก็หยุดเรียนไปตอนม.ปลาย พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เรียนต่อจนจบเกรด 8 พร้อมกับเริ่มสอน piano
.
ส่วน violin นี่เริ่มเรียนได้ประมาณ 2 ปี เริ่มเรียนพร้อมกับลูก ไม่เคยคิดว่าจะเรียน violin แต่ตั้งใจเรียนเพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องช่วยลูกซ้อมยังไง
.
อยากจะเล่าเรื่องทักษะการฟังของตัวเอง ช่วงนี้หลังจากเรียน violin มาได้ซักพัก รู้สึกว่าตัวเองหูดีขึ้นเยอะมาก คือ ฟังออกว่าตัวเองหรือลูกเล่นเพี้ยนไหม
.
ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า violin เป็นเครื่องที่เสียงของโน้ตแต่ละตัวไม่ได้ fix แบบ piano คือ piano กดยังไงก็ไม่เพี้ยน ก่อนเล่น violin นักไวโอลินต้องจูนเครื่อง (ปรับเสียงให้ไม่เพี้ยน) ก่อนเล่นทุกครั้ง ขณะที่นักเปียโนไม่ต้องจูนเครื่องเอง แต่เรามีช่างจูนเปียโนทำหน้าที่นี้ให้
.
คราวที่แล้วตอบน้องคนนึงไปว่า ทราบมาว่าที่มหิดลนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกดนตรีสากลต้องเรียน piano ทุกคน เพราะ piano เป็นเครื่องที่มีความกว้างของช่วงเสียงสูง-ต่ำมากที่สุด การเล่น piano ทำให้หูของคนเล่น piano ได้ฝึกฟังเสียงในทุก ๆ ช่วงเสียง
.
สำหรับต่าย เราคงเล่น piano แบบไม่ได้ฟังที่ตัวเองเล่น (สงสัยไหมคะ ไม่ฟังตัวเองเล่นได้ด้วยหรอ เวลาเล่น piano นี่ multitask มากนะคะ สองมือก็ต้องเล่นให้เข้ากัน ตาก็ต้องดูโน้ตไม่ให้เล่นผิด เท้าก็ต้องเหยียบ pedal จะเห็นว่า focus ทุกอย่างนี้พร้อมกัน หูก็อาจจะไม่ได้ไป focus การฟังแล้วค่ะ) และยังไม่ต้องไปสนใจด้วยว่าเล่นเพี้ยนไหม ตอนสอบฟังนี่รู้สึกยากมาก เพื่อนคนอื่นเค้าฟังออกกันได้ยังไง
.
ตอนเล่น violin นี่หูต้องฟังตั้งแต่เริ่มจูนเครื่องแล้วค่ะ ตอนเล่นนี่ต้องฟังโน้ตทุกตัวว่าเพี้ยนไหม ถ้าสังเกต violin ก็ไม่มี fret เหมือน guitar ที่ guide เราว่าต้องกดตรงไหน เพราะฉะนั้นนักไวโอลินต้องฟังตัวเองเล่นแน่นอนค่ะ
.
อย่างไรก็ดีทักษะการฟังเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับนักดนตรี ไว้จะมาเล่าให้ฟังนะคะว่าตัวเองฝึกอย่างไร
.
ต้องย้ำอีกครั้งนะคะ ว่านี่คือประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับหลักวิชาการนะคะ
コメント