หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับ time management ที่ไม่เหมือนเล่มอื่น ๆ ถ้าเรารู้ว่าเรามีชีวิตอยู่แค่เพียง 4,000 สัปดาห์ (ประมาณ 80 ปี) เราจะใช้เวลาอย่างที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ไหมคะ tag line ของหนังสือเล่มนี้คือ time management for mortal การบริหารเวลาแบบที่เรารู้ว่ายังไงซักวันเราก็ต้องจากโลกนี้ไป
.
ก่อนหน้านี้ต่ายมองว่าเวลาเป็น abundant resource ไม่ใช้ scarcity resource เราพยายามใส่ทุกอย่างที่อยากทำลงไปใน calendar ของเรา จริง ๆ แล้ววันไหนตารางดูเต็ม ๆ แน่น ๆ meeting back to back นี่จะรู้สึกดีว่า productive มาก และเครื่องมือจัดการเวลาส่วนใหญ่ก็จะหาทางช่วยให้เราทำ ‘ทุกอย่าง’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเครื่องมือการจัดการเวลาที่เป็นที่รู้จักหลายเครื่องมือ เช่น put first thing first จาก 7 Habits, pomodoro techniques, getting thing done (GTD
) เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้เราทำทุกอย่างที่อยากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในระยะยาวเราคงไม่สามารถที่จะ productive ได้ตลอดเวลา เราต้องการการพักผ่อนและเรายังมีสิ่งอื่น ๆ ที่อยากทำที่อาจจะไม่ productive ในมุมมองของการทำงาน เช่น การใช้เวลากับครอบครัว การทำงานอดิเรกที่เรารัก
.
หลักการบริหารเวลาที่มีจำกัด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำอย่างไรให้ทุกอย่างเสร็จ แต่เป็นการหาวิธีให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดที่สุดว่าเราจะ *ไม่* ทำอะไร และทำอย่างไรให้เรารู้สึกสบายใจเมื่อไม่ทำมัน การผัดวันประกันพรุ่ง เป็นการเลือกอย่างชาญฉลาดว่าสิ่งไหนควรถูกเลื่อนออกไปเพื่อจะได้มุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่สำคัญที่สุด มันสามารถช่วยให้คุณละเลยในสิ่งที่สมควรละเลย
.
ตัวอย่างหนึ่งในหนังสือคือคลิปในปี 2016 ที่
มีคนใช้หนังยางรัดหลายเส้นรัดแตงโมไปเรื่อย ๆ ให้คนดูลุ้นว่าเมื่อไรแตงโมจะแตก จนถึงนาทีที่ 44 หนังยางเส้นที่ 686 ก็ทำให้แตงโมแตกตามคาด ซึ่งถึงขณะนี้มีคนดูไปแล้วเกือบ 9 แสนคน หลายคน comment ว่า “อยากเลิกดูจะตาย แต่ตั้งใจแล้วว่าจะดูจนจบ” “นี่ผมทำอะไรกับชีวิตตัวเองอยู่เนี่ย” เราเองก็เคยเป็นแบบนี้ไหมคะ เราไถมือถือไปเรื่อย ๆ ดูอะไรที่บางทีก็ไม่รู้ว่าดูไปทำไม มันมีประโยชน์กับชีวิตยังไง (คุณอาจจะบอกว่าเป็นการพักผ่อน) เงยหน้าขึ้นมาอีกที อ้าวผ่านไปแล้วชั่วโมงนึง งานที่ต้องทำยังไม่ได้ทำ
.
หลังจากอ่านบทนี้ในหนังสือ ก็ช่วยต่ายได้เยอะเลยค่ะ เวลาที่ไถดูคลิป ดูไปซักส่วนหนึ่งละ เริ่มไม่อยากดูต่อ แต่ก็เสียดายว่าจะจบแล้ว จะนึกถึงเรื่องแตงโม แล้วก็เลิกดูทันที เพราะถ้าเราดูต่อไป ถ้าเราเอาเวลาเหล่านี้มาคำนวณอาจจะทำให้เราเห็นภาพว่าเราเสียเวลากับเรื่องแบบนี้รวม ๆ กันตลอดชีวิตเราไปหลายวันเลยค่ะ
ใครอยากลองดูคลิปนี้ได้ตาม link นี้เลยค่ะ
.
ต่ายชอบอีกกิจกรรมหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ที่จะช่วยให้เราตระหนักถึงการใช้เวลาของเรา คือให้เราไปที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ แล้วเลือกภาพที่เราชอบหนึ่งภาพ เราจะนั่งมองภาพนี้เป็นเวลา 3 ชั่วโมง นั่งมองอย่างเดียวเลยนะคะ เราจะโดนยึดมือถือก่อนเริ่มกิจกรรมนี้ เราจะนั่งอยู่คนเดียว ไม่พูดคุยกับใคร ต่ายอยากลองทำกิจกรรมนี้มากเลยค่ะ
.
หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเห็นว่าแล้วเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิผล จริง ๆ แล้วเราต้องเลือก ‘ทิ้ง’ บางสิ่งเพื่อจะใช้ชีวิตให้รื่นรมได้มากขึ้น ไม่ต้องเร่งรีบทำทุกอย่าง
.
อ่านจบแล้วนึกถึงตอนเด็ก ๆ ที่เรารู้สึกว่าเวลาเป็น abundant resource สำหรับเรา หรือนึกภาพชีวิต slow life ที่ตอนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ยากเหลือเกิน ต่ายว่าการจัดการเวาคงเริ่มต้นคล้าย ๆ กับการจัดบ้านค่ะ เราต้องเลือก ‘ทิ้ง’ ก่อนถึงจะจัดระเบียบได้ค่ะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai
コメント