top of page
Search
Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.369 Psychological Safety


Concept ‘Psychological Safety’ กำลัง in trend มากในการพัฒนาองค์กรค่ะ เป็นการสร้างบรรยากาศปลอดภัยในการทำงาน เป็นความเชื่อที่ว่าคนๆ หนึ่งสามารถแสดงออก กล้าเสี่ยง และทำผิดพลาดโดยไม่ต้องกลัวผลด้านลบ เช่น การลงโทษ การเยาะเย้ย หรือการเหยียดหยาม สามารถพูดและรับฟัง แบ่งปันความคิด ถามคำถาม และเสนอความคิดเห็น โดยไม่ต้องกลัวการตอบโต้หรือขายหน้า

.

ความปลอดภัยทางจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด การทำงานเป็นทีม และนวัตกรรมในกลุ่มหรือองค์กรใดๆ ช่วยให้บุคคลรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันความคิดและความคิดเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมองว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และเติบโตมากกว่าความล้มเหลวที่จะถูกลงโทษ

.

มีหลายงานวิจัยที่พบว่าเมื่อองค์กรมี psychological safety ทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือบางองค์กรที่หาสาเหตุของการที่ผลประกอบการลดลงไม่เจอก็พบว่าเมื่อสามารถสร้าง psychological safety ได้ก็ช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้น

.

ซึ่ง framework ‘The Four Stages’ ของ Timothy R. Clark อธิบาย stage ของการมี psychological safety ดังนี้

โดยที่การจะมี stage ถัด ๆ ไปจะต้อง มี stage ก่อนหน้านั้นก่อน (อารมณ์เหมือน Maslow’s Hierarchy of Needs ที่ต้องเติมความต้องการขั้นล่างก่อนถึงจะไปเติมความต้องการขั้นต่อ ๆ ไปได้)

1. Inclusion Safety ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม สามารถเชื่อมโยงและ feel belong โดยที่ยังสามารถเป็นตัวของตัวเองได้

2. Leaner Safety ความปลอดภัยที่จะเรียนรู้ สามารถถามคำถาม ให้และรับ feedback ได้ และมีโอกาสที่จะเติบโต

3. Contributor Safety รู้สึกปลอดภัยที่จะเสนอความคิดเห็น มีส่วนร่วม ใช้ทักษะความสามารถสร้างคุณค่าให้กับทีม

4. Challenger Safety รู้สึกปลอดภัยที่จะคิดต่าง กล้าเสนอความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างตรงไปตรงมา

.

การสร้าง psychological safety ไม่ใช่หน้าที่เฉพาะองค์กรหรือหัวหน้างาน แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยแล้ว เราก็ต้องกล้าที่จะใช้พื้นที่นี้ในการแสดงความคิดเห็นด้วย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง psychological safety จะต้องนำสิ่งนี้ไปใช้ในทุกระดับไม่ใช่เฉพาะระดับผู้นำ

.

และการมี psychological safety ก็มาพร้อมกับ accountability เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยแล้ว เราก็ต้อง balance กับความรับผิดชอบในการส่งมอบงานที่ได้รับมอหมายด้วยค่ะ

.

ถ้านำ concept นี้มาประยุกต์ในบ้าน เรากำลังพูดถึงการสร้างบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับสมาชิกในครอบครัว ต่ายขอฝากคำถามสำหรับแต่ละ stage ดังนี้นะคะ

1. Inclusion Safety: ทุกคนในครอบครัว feel belong หรือไม่

2. Learner Safety: ทุกคนสามารถถามคำถาม ให้และรับ feedback ได้ไหม ต่ายนึกถึงเหตุการณ์ตอนเด็ก ๆ ที่คุณพ่อดุและเสียงดัง การให้เหตุผลของเรา (feedback) ก็ถูกมองว่าเถียง จนกลัวและก็ต้องฟังเงียบ ๆ

3. Contributor Safety: เรารับฟังความคิดเห็นของทุกคนไหม หรือว่ามีคนใดคนหนึ่งในบ้านที่เป็นคนตัดสินใจหลัก

4. Challenger safety: ถ้ามีความเห็นต่างในบ้าน เราทำอย่างไรกับความต่างนั้น

.

หลาย ๆ บ้านไม่ได้มี physical violence แต่การขาด psychological safety ก็อาจจะก่อให้เกิด metal violence ค่ะ

Comments


bottom of page