ในกระแสสังคมปัจจุบันที่การแข่งขันเป็นเรื่องปกติ เราเห็นเด็ก ๆ แข่งขันประกวดความสามารถกันมากมาย ทั้ง ดนตรี กีฬา ศิลปะ และวิชาการ
.
ต่ายเห็นพ่อแม่โพสต์บน social ชื่นชมความสำเร็จจากการแข่งขันของลูก โรงเรียนกรให้การสนับสนุนโพสต์ความสำเร็จของนักเรียน รวมทั้งรางวัลทั้งหลายเหล่านี้เด็ก ๆ สามารถเก็บเป็นพอร์ต (portfolio) เพื่อช่วยให้เข้าเรียนต่อได้
.
แล้วทำไมต่ายถึงตั้งคำถามนี้ การศึกษาเลี้ยงดูเด็ก ๆ ที่ไม่ใช่แนวทางหลักอย่างเช่น มนุษยปรัชญา (anthropology) และ Waldorf ก็มาในแนวทางที่ไม่สนับสนุนให้เด็กแข่งขัน ไม่ให้เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ให้เค้าเรียนรู้และเติบโตไปตาม pace ของเค้า เพราะอะไร?
.
สมองคนเราวิวัฒนาการมาจากเมื่อยุคหิน มี 2 mode คือ โหมดปกติ กับ โหมดปกป้อง ในยามปกติสมองอยู่ในโหมดปกติ เราจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้เต็มที่ ร่างกายมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้าสมองรับรู้ว่าเรากำลังตกอยู่ในอันตราย สมองจะอยู่ในโหมดปกป้อง ร่างกายจะหยุดทำกิจกรรมปกติ ใช้พลังงานมาเพื่อป้องกันตัวเอง ช่วงนี้การเรียนรู้การเติบโตจะหยุด การซ่อมแซมจะหยุดลง
.
การแข่งขันก็ทำให้สมองอยู่ในโหมดปกป้อง สำหรับการถูกเปรียบเทียบก็เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความรุนแรงในบ้าง (ทั้ง physical และ mental violence) การดุ ตำหนิ ลูก ก็ทำให้สมองอยู่ในโหมดปกป้อง ร่างกายหยุดเติบโต ถ้าเด็ก ๆ อยู่ในภาวะนี้บ่อย ๆ ก็จะเติบโตช้า
.
ต่ายเองก็เลี้ยงลูกตามกระแสหลัก ส่งลูกแข่งขัน โรงเรียนมัธยมที่ลูกเข้าเรียน ถ้าเด็ก ๆ มีพอร์ตการแข่งขันระดับประเทศมาตั้งแต่ประถม จะสามารถขอทุนลดค่าเรียนได้ และต่ายเองก็เติบโตมาในสังคมของการแข่งขัน รวมทั้งตอนเด็ก ๆ คุณพ่อของต่ายก็ดุมาก
.
พ่อแม่หลายคนที่เลี้ยงลูกในแนวทางเลือก จึงส่งลูกเข้าโรงเรียนทางเลือกหรือทำ homeschool เอง
.
แล้วคุณพ่อคุณแม่มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้คะ
.
บทความนี้ inspire มาจากการอ่านหนังสือของ อ.เรือรบเล่มนี้เลยค่ะ “สิบวันเปลี่ยนชีวิต” ค่อย ๆ ละเมียดอ่านแล้วก็ reflect & internalize ไปค่ะ
Commentaires