ปีใหม่นี้ต่าย count down ที่โรงพยาบาลเฝ้าคุณแม่ค่ะ เป็นครั้งที่สองแล้วที่มาเฝ้าคุณแม่ admit ครั้งแรกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
.
ประสบการณ์การเฝ้าคนไข้ admit ที่เหมือนกันหลัก ๆ ของสองครั้งก็คือ มีความกังวลในอาการของคุณแม่และได้นอนน้อยหรือแทบจะไม่ได้นอน ซึ่งอย่างไรเสียเราก็ต้องมีวิธีฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจให้กลับมา function ปกติได้โดยเร็ว
.
อยากเล่าประสบการณ์การ heal ใจของต่าย ในหลายช่วง moment ที่ต้องการ self heal เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า ทำให้ใจอ่อนแอฉับพลัน แต่ต้องฮึบเอาใจตัวเองกลับมาโดยเร็ว เพราะมีอะไรต้องทำต่อ
.
รอบแรกที่เฝ้าแม่ค้นพบว่าการ self coaching ช่วยได้เป็นอย่างมาก ตอนนั้นเป็นช่วงตีสองที่นอนต่อไม่หลับ ก็เปิดคอม ตอนนั้นพอรู้ตัวเองแล้วว่าการเขียน (พิมพ์) ช่วยระบายออกได้สำหรับต่าย แต่วันนั้นคิดว่าแทนที่จะเขียนธรรมดา ก็เลยเขียนแบบถามตอบเป็นการโค้ชตัวเอง
.
โค้ชชิ่ง เป็นเหมือนการพูดคุยธรรมดาถามตอบกัน ต่ายก็ถามแบบโค้ชให้ตัวเองตอบ โดยการพิมพ์ เคยลองโค้ชแบบคุยกันเองถามตอบโดยไม่เขียนหรือพิมพ์ มันไม่ work ค่ะ คือความคิดมันเร็ว บางทีลืม หรือตามไม่ทัน.
.
การพิมพ์หรือเขียนมันจะช่วย slow down ความคิด ช่วยให้มีเวลา reflect ความคิดและสามารถกลับมาอ่านซ้ำได้ค่ะ
.
สำหรับรอบนี้ ต่ายก็เอางานมาทำ งานนี้คือการทำ playlist ให้พี่ที่จะไปใช้ใน session breathwork ระหว่างที่หาเพลง เปิดฟังไป เลือกเพลงไป ก็อยากฟังเพลงบางเพลงขึ้นมา เพลงนั้นช่วยปรับอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
.
ต่ายเองสนใจ music therapy และไปเข้าคอร์สเรียนไปสัมนามาหลายครั้ง ครั้งนี้เป็นการ put theory to practice อย่างแท้ทรู ได้ลองทดสอบกับตัวเอง แล้วพบว่าบางเพลงมี specific reaction กับแต่คนที่แตกต่างกัน
.
ต่ายทำ playlist ของตัวเอง บางเพลงก็ทำให้รู้สึกสนุก อยากเต้นไปด้วยเลย ส่วนบางเพลงที่มีความหลังด้วย ฟังแล้วน้ำตามาเลย
.
ต่ายว่าเพลงบรรเลงที่ไม่มีคำร้อง (ต้องไม่ใช่เพลงที่เคยมีคำร้องแล้วมาทำเป็นเพลงบรรเลง) เป็นเพลงที่สามารถใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ ใช้ปรับอารมณ์ตามอารมณ์เพลงได้
.
แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น เพลงคลาสสิกที่สำหรับหลาย ๆ คนน่าจะฟังได้เรื่อย ๆ ต่ายเคยได้ยินเพลงคลาสสิกใน cafe เพลงนี้ suppose ว่าจะเป็นเพลงที่เปิดแล้วฟังสบาย ๆ แต่ต่ายฟังแล้วเครียดขึ้นมาเลย เพราะเป็นเพลงที่ลูกกำลังจะใช้แข่ง ทำให้นึกถึงตอนที่ซ้อมกันทุกวัน (และทะเลาะกันไปบ้าง) เครียดเลยค่ะ
.
สำหรับต่ายจะมีเพลงที่รู้ว่าต้องฟังสำหรับอารมณ์ไหน ต่ายมักจะแนะนำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีกับต่าย ทำ playlist ตามอารมณ์ เก็บไว้ใช้ในแต่ละสถานการณ์ playlist สำหรับอารมณ์เศร้า playlist สำหรับเวลาต้องการกำลังใจ playlist สำหรับเวลาโกรธ ฯลฯ
.
การมาเฝ้าแม่ admit รอบนี้ ดนตรีช่วยต่ายได้มากค่ะ สำหรับทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ ถ้าหากคุณเป็นผู้ดูแลผู้อื่น สิ่งสำคัญมากคือ เราต้องดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจค่ะ ถ้าเรา break down เอง เราก็จะไม่สามารถดูแลคนอื่นได้ค่ะ
Comments