Ep.ที่แล้วคุยเรื่องการเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่ที่ต่างกัน ต่ายเล่าถึง TAPS model วันนี้จะมาเล่ารายละเอียดต่อค่ะ
.
TAPS model มักจะใช้โดยโค้ชเพื่ออธิบายความแตกต่างของการโค้ชกับวิชาชีพอื่นที่ใกล้เคียงกัน ถ้าดูจากกราฟ แกนตั้งจะบอกวิธี ซึ่งถ้าอยู่ด้านล่างก็จะเป็นการบอกถ้าอยู่ด้านบนจะไม่ใช้วิธีบอกแต่จะใช้การถามคำถามเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาเช่นกัน สำหรับแกนนอนด้านซ้ายจะเป็นการทำงานกับปัญหา ทำงานกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ด้านขวาจะเป็นการทำงานกับการแก้ปัญหาในปัจจุบันนและการมองไปข้างหน้าในอนาคต
.
ยกตัวอย่างสำหรับ ด้านบนซ้าย therapist (นักบำบัด) จะใช้วิธีการถามมากกว่าการบอกเพื่อช่วยแก้ปมปัญหาในอดีต ถ้าเป็นด้านล่างซ้าย ที่ปรึกษาจะบอกวิธีการแก้ปัญหาในอดีต ด้านล่างขวาคุณครูหรือ trainer จะใช้วิธีการบอกการให้ความรู้ (ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กหรือ pedagogy จะใช้ส่วนนี้มากที่สุด) ด้านบนขวาคือการโค้ชชิ่ง โค้ชจะไม่ได้มาบอกคำตอบแต่จะใช้วิธีถามคำถามเพื่อให้โค้ชชีได้คำตอบจากทรัพยากรที่มีภายในตัวเอง
.
ถ้าดูจากกราฟนี้ ผู้ใหญ่เราเรียนรู้/ ได้คำตอบของปัญหาจากทั้ง 4 quadrant ขึ้นอยู่กับสถานการณ์/ ความชอบของแต่ละบุคคล สำหรับเด็กประสบการณ์ทรัพยากรในตัวยังน้อยการเรียนรู้จะมาจากการบอกของผู้สอนเป็นหลัก
.
เมื่อพูดถึงการเลือกใช้เครื่องมือตามสถานการณ์ก็ทำให้นึกถึง Skill Will Matrix ทฤษฎีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาหัวหน้างานในองค์กร concept คร่าว ๆ คือ หัวหน้างานควรเลือกใช้วิธีการในการ lead ที่ต่างกัน no one size fits all
.
จากกราฟ Skill Will Matrix จะแบ่งเป็น 4 quadrant เช่นกัน แกนตั้งคือ will ความตั้งใจ ความมีส่วนร่วมของพนักงาน แกนนอนคือทักษะที่พนักงานมี ความตั้งใจสูงแต่ทักษะการทำงานในเรื่องนั้น ๆ น้อย (ซ้ายบน) หัวหน้างานควร guide หรือโค้ช ถ้าพนักงานมีทั้ง skill และ will น้อย (ซ้ายล่าง) หัวหน้างานควรสั่งหรือจับมือทำ ถ้าพนักงานมีทักษะสูงแต่ความตั้งใจน้อย (ขวาล่าง) หัวหน้างานควรกระตุ้นให้เค้ามีส่วนร่วมให้เห็นความสำคัญให้เค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงาน ถ้าพนักงานมีทั้งทักษะสูงและความตั้งใจสูง อันนี้หัวหน้างานควรปล่อยให้เค้าทำเลย ถ้าไปใช้วิธีอื่น ๆ เช่นการสั่ง พนักงานอาจจะอึดอัด
.
ตัวอย่างเช่นถ้ามีน้องจบใหม่มายังไม่เคยทำงาน หัวหน้างานควรจะใช้วิธีสั่งหรือจับมือทำมากกว่า empower ให้ไปทำเอง สำหรับพนักงานที่เป็น talent ที่เค้าก็มี will สูงก็ empower ให้เค้าไปทำได้เลย ซึ่งในพนักงานคนเดียวกันก็ไม่ใช้ว่าจะใช้วิธีเดียวกันตลอด เช่นน้องจบใหม่ ถ้าเป็นเรื่องที่เค้าถนัดเช่น ให้เค้าทำงานเกี่ยวกับ social media น้องอาจจะเป็น YouTuber มาก่อน อย่างเรื่องนี้น้องมีทักษะสูงหัวหน้างานก็อาจจะ empower ได้เลยค่ะ
.
เราสามารถนำเรื่องนี้มาปรับใช้กับการเลี้ยงลูกได้อย่างไร การสอนลูกก็ต้องปรับกลวิธีตามสถานการณ์ค่ะ ถ้าลูกยังเล็กควรใช้วิธีสอน บอก สั่ง เยอะหน่อยเพราะลูกยังมีทรัพยากรในตัวน้อยค่ะ พอโตขึ้นมาหน่อยสถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้น เราก็มีเครื่องมือ (วิธี) ให้ใช้มากขึ้นเช่นกัน บางเรื่องลูกก็อาจจะมาสอนแม่ได้เช่นกัน เช่น เค้าไปเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มาจากโรงเรียนก็ตื่นเต้นอยากจะเอามาสอนแม่ หลายครั้งก็เป็นความรู้ใหม่สำหรับแม่เช่นกันค่ะ
.
Key สำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองคือเราต้อง open, flexible พร้อมที่จะปรับวิธีของเราค่ะ ถ้าใช้วิธีไหนแล้วไม่ได้ผลดังใจก็หาวิธีใหม่ เปลี่ยนวิธีไปเรื่อย ๆ ค่ะ และอย่าลืมว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อสนุกค่ะ
コメント