ลูกกำลังจะไปแข่งไวโอลินค่ะ ลูกขอไปแข่งเอง แม่ถามว่าอยากไปแข่งเพราะอะไร ลูกบอกว่าอยากขึ้นเวที ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้หลาย ๆ งานการแสดงงดไป การแข่งดนตรีก็ปรับเป็นรูปแบบ online ให้ส่ง clip การเล่นไปประกวด เด็ก ๆ ขาดโอกาสการขึ้นเวทีค่ะ
.
การขึ้นเวทีให้อะไรบ้าง อย่างแรกเป็นการซ้อมที่มากกว่าปกติ เวลาเรียนก็ซ้อมให้ผ่านแล้วก็ขึ้นเพลงใหม่ เล่นให้ครูฟังเล่นผิดก็เล่นใหม่ การเล่นบนเวที คนเล่นก็อยากจะเล่นออกมาให้ดีที่สุด ถ้าเป็นการแข่งก็คงมีความหวังที่อยากจะชนะบ้าง เวลาเราอยู่บนเวที ทักษะที่ต้องฝึกคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าค่ะ ถ้าเล่นอยู่แล้วลืมโน้ต เล่นผิด สะอึก หรืออยากจะจามขึ้นมา จะทำอย่างไร??
.
เวลาซ้อมก่อนขึ้นเวทีเลยต้องมีการซ้อมแบบ run through ด้วยคือซ้อมแบบไม่มีหยุด the show must go on ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต้องเล่นให้จบเพลงให้ได้ นอกเหนือจากการแบ่งซ้อมเป็นช่วง ๆ และต่ายยังบอกลูกถึง concept การซ้อม 200% คือ เราควรซ้อมจนกล้ามเนื้อจดจำเพลงนั้นเล่นได้แทบจะ auto mode คือ ถ้าเราซ้อมได้ 100% พอขึ้นเวทีเราจะตื่นเต้นแล้วเราก็จะเล่นได้ 80% แต่ถ้าเราซ้อมไว้ 200% แม้ว่าจะตื่นเต้นบนเวที เราเล่นได้ลดลงก็จะยังลดลงมาที่ 100%
.
นอกจากนั้นการซ้อมแบบ full dress คือเอาชุดที่จะใส่เล่นคอนเสิร์ตหรือใส่แข่งมาใส่ตอนซ้อม เราจะได้รู้ว่าชุดมันเป็นอุปสรรคไหม เวลายกแขน ยกแล้วมันติดหรือเปล่า บางชุดใส่แล้วอาจจะหนีบไวโอลินไม่ได้ รวมทั้งรองเท้าด้วยค่ะ เราใส่แล้วยืนได้มั่นคงไหม เล่นได้จบเพลงไหม ถ้าเป็นนักเปียโนจะชวนให้ใส่รองเท้าซ้อมเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติซ้อมบ้านจะเหยียบ pedal ด้วยเท้าเปล่า พอใส่รองเท้าเหยียบ pedal อาจจะรู้สึกแปลก ๆ ถ้าไม่ซ้อมมาก่อนอาจจะกะไม่ค่อยถูก
.
และการซ้อมนี่ควรซ้อมว่าพอเดินขึ้นมายืนนเวทีแล้วต้องทำอย่างไร เช่น ขึ้นมาบนเวทีแล้ว อันดับแรกให้โค้งให้กรรมการและคนดูก่อน จากกนั้นให้คิวนักเปียโนว่าพร้อมแล้ว (ถ้าเป็นเด็กโตที่จูนเสียงเองได้แล้วจะมีการจูนเสียงกับเปียโนก่อน) แล้วก็เริ่มเล่น พอเล่นจบก็โค้งแล้วลงจากเวที คือไม่ใช่แค่ซ้อมแต่เพลงจนคล่อง แต่คิดไปบนเวทีแล้วไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร
.
การซ้อมให้ครบตั้งแต่ต้นจนจบสำคัญมากค่ะ ต่ายนึกถึงตอนทำงานใหม่ ๆ แล้วต้องซ้อม present งาน เราเตรียมซ้อมเนื้อหาที่จะพูดมาเป็นอย่างดี แต่ตกม้าตายไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร หลังจากคราวนั้นจะเริ่มต้นซ้อม present งานตั้งแต่ ‘สวัสดีค่ะ วันนี้จะมา...’ เลยค่ะ แล้วก็ซ้อมว่าจะจบอย่างไร เวลาเล่นดนตรีก็เหมือนกันค่ะ บอกลูกว่าโน้ตตัวแรกกับตัวสุดท้ายสำคัญที่สุด ถ้าจะอะไรไม่ได้ โน้ตตัวแรกต้องถูกเพราะเป็น first impression ส่วนโน้ตสุดท้าย เราอยากให้เค้าจำว่าเราจบสวย ๆ ค่ะ
.
และการซ้อมไวโอลินกับลูกก็เป็นการฝึกสติแม่ ฝึกความยืดหยุ่น ลูกไม่สามารถเล่นได้ perfect ทุกครั้ง เวลาจะชี้จุดที่ผิด จะพยายามหาที่ชมก่อน ตามหลักการ feedback ให้เราให้ positive feedback ก่อนเค้าจะได้เปิดหูรับฟัง
.
ทั้งแม่และลูกได้ฝึกทักษะหลายอย่างค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมใส่ความรักลงไปนะคะ ผลการแข่งขันไม่สำคัญเท่าลูกรู้ว่ายังไงเราก็รักลูกค่ะ unconditional love
Comments