top of page
  • เพจของโค้ชแม่ต่ายค่ะ
  • 9e582e788b549c8bc310958d8222048f_icon
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.315 – 5 Love Languages for Children part 2


วันนี้มาคุยต่อ เรื่องการ discipline ลูก และการจัดการความโกรธของเราที่จะมาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกได้อย่างไร นะคะ

.

ก่อนอื่นในหนังสือให้ทำความเข้าใจว่า discipline ไม่เท่ากับ punishment เสมอนะคะ และเราควรเริ่มจาก unconditional love ก่อนที่จะ discipline เมื่อลูกทำตัวไม่น่ารัก เราควรถามตัวเองว่าลูกอยากได้อะไรจากการทำตัวไม่น่ารัก มากกว่าที่จะถามว่า เราควรจะแก้พฤติกรรมนี้อย่างไร ความรักของเด็ก ๆ จะไม่เหมือนความรักของพ่อแม่ที่ unconditional love หรือความรักของผู้ใหญ่ที่รักเพราะอยากได้ความรักแลกเปลี่ยน แต่ความรักของเด็กจะเป็นความรักเพื่อตัวเองเพื่อเติม love tank

.

ความรักช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กมีผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ emotional maturity ค่ะ การที่เราพูดภาษารักกับลูกทั้ง 5 ภาษาแม้ว่าเราจะยังไม่รู้ภาษารักหลักของลูก เราช่วยเติมเต็มความต้องการทางด้านอารมณ์ของลูกและยังช่วยกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของลูกด้วยค่ะ

.

สำหรับการ motivate ลูก สิ่งสำคัญคือ การที่ให้ลูกรับผิดชอบจากการกระทำของเค้า ซึ่งเราเริ่มต้นได้จากการที่ให้เค้ารับผิดชอบในสิ่งที่เค้าสนใจ และเราต้องอนุญาตให้เค้ารับผิดชอบด้วยค่ะ เช่น บางทีให้ลูกทำน้ำหก ให้ลูกเช็ด ก็ช้า ไม่สะอาดด้วย ทำเองดีกว่า อย่างนี้ลูกก็ไม่ได้โอกาสให้รับผิดชอบในสิ่งที่เค้าทำค่ะ เรารับผิดชอบงานบ้านมากเท่าไร ลูกเราก็จะได้รับผิดชอบงานบ้านน้อยลง แล้วก็จะ motivate น้อยลงด้วยค่ะ

.

การจัดการอารมณ์โกรธที่พบบ่อยและให้ผลเสียคือ พฤติกรรม passive-aggressive คือ การทำเพื่อส่งผลร้ายกลับไปยังบุคคลที่มีอำนาจ หรือการประชด ในกรณีลูกวัยรุ่น บุคคลที่มีอำนาจคือ พ่อแม่ เช่น เคสของเด็กวัยรุ่นที่ไม่มีปัญหาด้านการเรียน ทำการบ้านสม่ำเสมอ แต่ผลการเรียนออกมาแย่กว่าความสามารถของเค้า ไม่ว่าพ่อแม่หรือครูจะให้รางวัลหรือลงโทษอย่างไร ก็ไม่ทำให้เด็กคนนี้เรียนดีขึ้นมา เพราะจุดประสงค์ของเค้าคือการทำให้พ่อแม่ผิดหวังเพื่อระบายความโกรธ

.

ช่วยเดียวที่พฤติกรรม passive-aggressive เป็นเรื่องปกติ คือ ช่วงต้นของวัยรุ่น

.

เราสามารถสอนลูกให้จัดการความโกรธได้ตั้ง 6-7 ขวบ ลูกสามารถแสดงออกถึงความโกรธได้ 2 ทางคือ ทางคำพูดและการกระทำ ซึ่งในสองทางนี้ให้ลูกระบายออกมาทางคำพูดดีกว่า การที่เราสอนให้ลูกจัดการความโกรธจะช่วยทำเราสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรม passive-aggressive ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เริ่มต้นได้โดยการที่เราเติม tank love ของลูกให้เต็มด้วย unconditional love ด้วยภาษารักหลักของลูก และภาษารักอื่น ๆ เมื่อลูกมี tank love ที่เต็มลูกก็ไม่จำเป็นต้องโหยหาความรักจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ บางพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เป็นการถามคำถามจากลูกว่า ‘พ่อแม่รักหนูหรือเปล่า’

.

ถ้าพ่อแม่โกรธลูก ลูกไม่มีทางที่จะไประบายออก และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อย ๆ จะนำไปสู่พฤติกรรม passive-aggressive เพราะเค้าไม่สามารถระบายออกึงความโกรธได้หลายครั้งที่ลูกระบายความโกรธออกมาทางคำพูด พ่อแม่พูดกับลูกว่า ‘กล้าดียังไงมาพูดกับพ่อแม่แบบนี้’ ลูกก็มี 2 ทางเลือกคือ เชื่อฟังแล้วเก็บความโกรธไว้ภายใน หรือไม่ก็ไม่เชื่อฟังเลยค่ะ ดังนั้นก็ปล่อยให้ลูกได้ระบายความโกรธออกมาค่ะ

.

สิ่งสำคัญคือ การจัดการอารมณ์โกรธ (anger management) ของพ่อแม่เองค่ะ เราต้องหาวิธีจัดการกับความโกรธความตัวเอง เพื่อไม่ให้พลังความโกรธตกไปอยู่กับลูก รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการความโกรธให้ลูกด้วยค่ะ

.

ไม่ใช่เฉพาะลูกนะคะ ที่ต้องการเติม love tank เราเองก็ต้องการเช่นกันค่ะ อย่าลืมเติม love tank ด้วยการส่งภาษารักให้สามีหรือภรรยาด้วยนะคะ

.

สำหรับคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวเราก็ยังสามารถเติม love tank ให้ลูกได้ แม้ว่าภาระเราจะเยอะ มีหลายอย่างที่ต้องทำ หนังสือแนะนำให้เราหาตัวช่วยให้การเติม love tank ให้ลูกเราค่ะ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง คนในชุมชน อธิบาย concept 5 love languages ให้เค้าฟัง ให้เค้าช่วยเติม love tank ให้ลูกเราค่ะ

.

หนังสือเล่มนี้สำหรับต่ายนอกเหนือจากจะได้เข้าใจ concept การนำภาษารักไปใช้กับลูกแล้ว ยังได้วิธีการ discipline ลูกด้วยความรัก และเข้าใจความสำคัญของการจัดการความโกรธ เพื่อไม่ไปลดความรักใน love tank ด้วยค่ะ


Comments


bottom of page