มีนิทานเรื่องอิฐก้อนเดียว เล่าเรื่องโดยสรุปคือ พระเณรช่วยกันก่อกำแพงวัดด้วยอิฐ ก่อได้สวยงามแต่มีอิฐก้อนเดียวที่เบี้ยวออกมา หลังจากกำแพงเสร็จไม่ว่าเมื่อไรที่พระหรือเณรเดินผ่านกำแพงก็จะเห็นอิฐก้อนที่เบี้ยวนี้ตลอด
.
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาต่ายได้เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยสอน workshop พ่อแม่ แล้วเราก็ได้คุยกันถึงเรื่องการให้ feedback ลูกทั้ง positive และ constructive feedback เราเลยได้คุยกันเรื่องอิฐก้อนเดียวนี้ค่ะ ว่าส่วนใหญ่เราจะเก่งในการหาข้อผิดพลาดของผู้อื่น (รวมทั้งลูกและสามีหรือภรรยาของเราด้วย)
.
ก็เหมือนกับที่พระที่วัดนั้นมองเห็นก้อนอิฐก้อนเดียวที่เบี้ยวออกมาตลอด ไม่ได้มองกำแพงทั้งกำแพง อิฐอีกหลายร้อยก้อนที่เรียงเป็นกำแพงอย่างสวยงาม หลาย ๆ บ้านเรามักจะดุหรือว่าลูกมากกว่าชมลูก บางบ้านยังมีความเชื่อว่าชมแล้วเหลิง
.
อยากให้ลองคิดถึงตัวเราเอง ถ้าเราได้รับคำชม เช่น ได้รับคำชมจากที่ทำงาน หรือจากสามี/ภรรยาของเรา เราก็คงรู้สึกดี หัวใจพองโต เวลาลูกเราได้รับคำชมลูกก็คงจะรู้สึกเช่นเดียวกัน รวมทั้งอีกมุมก็คือ เวลาที่เราทำดีถ้าเราไม่ได้รับคำชม เราอาจจะไม่รู้ว่ามันดีและควรทำต่อ เราก็อาจจะไม่ทำพฤติกรรมนั้นต่อ ถ้าเราชมลูกแบบชมที่พฤติกรรมเค้าแล้ว เค้าจะได้รู้ว่าควรทำพฤติกรรมนั้นต่อค่ะ
.
หลักการนี้เราสามารถนำมาใช้กับทุกคนรอบตัวเราได้เลยนะคะ เช่น คนที่ทำงาน หรือแม้แต่พ่อแม่ของเราเอง ไม่ว่าใครที่ได้รับคำชม (positive feedback) ก็น่าจะชอบมากกว่าได้รับแต่ constructive feedback นะคะ
.
เราลองมาจับถูกกันก่อนที่จะจับผิดนะคะ ถอยออกมามองกำแพงมากกว่าแค่มองอิฐที่เบี้ยวก้อนเดียวค่ะ
Kommentarer