ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งลูกให้เค้าไปเติบโตที่อื่นโดยที่เราไม่ได้เลี้ยงดูเค้า เราจะรู้สีกอย่างไรคะ?
.
“สมัยก่อนประเทศเล็ก ๆ มักจะส่งโอรสธิดาของกษัตริย์ไปยังจีนเพื่อแสดงความภักดีและแสดงความซื่อสัตย์ต่อองค์จักพรรดิ์” . ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก เป็นหนังสือเรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยาย เป็นทั้งอัตชีวประวัติและหนังสือประวัติศาสตร์รวมอยู่ในเล่มเดียวกัน อ่านสนุกมากวางไม่ลง แต่รอบนี้ที่อ่านความรู้สึกเปลี่ยนไป อ่านไปด้วยความรู้สึกที่เป็นแม่ ถ้าเราจะไม่ได้เจอลูก ไม่ได้เฝ้าดูเค้าเติบโตเป็นเวลาหลายสิบปี แล้วได้กลับมาเจอกันจะรู้สึกอย่างไร และเมื่อลูกที่ไม่ได้อยู่กัพ่อแม่เติบโตมาเป็นแม่ . หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คุณสิรินทร์ พัธโนทัย ลูกสาวของคุณสังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้ส่งลูกสาว (ผู้เขียน) และลูกชายไปอยู่ที่ประเทศจีนอย่างลับ ๆ ในขณะที่ประเทศไทยกำลังกลัวคอมมิวนิสต์และเป็นพันธมิตรอยู่กับสหรัฐอเมริกา การส่งลูกไปโดยหวังให้เด็ก ๆ เป็นสะพสนเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีนในอนาคต . คุณสิรินทร์ออกเดินทางไปประเทศจีนตั้งแต่อายุ 8 ขวบและเดินทางไปกับพี่ชายสองคน ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับดูแลเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากนายกรัฐนตรีโจวเอินไหล แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องปรับตัวเป็นอย่างมากทั้งเรื่องอาหาร อากาศ มารยาท การใช้ชีวิตของชาวจีนที่แตกต่าง การเข้าเรียนในโรงเรียนจีนทำให้ได้รูจักถึงความยากลำบากที่แท้จริงของชาวจีน และชีวิตก็ต้องตกระกรำลำบากเมื่อมีการปฏิวัติวัฒนธรรมเกิดขึ้น พี่ชายถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ส่วนตัวเธอเองต้องหลบซ่อนตัวไปเป็นชาวนาอยู่ในชนบท และต้องหาทางหนีออกจากจีนไปยังอังกฤษ ไม่ได้กลับประเทศไทยเลยเป็นเวลา 17 ปี . ตั้งแต่วันที่ออกเดินทางจากไทย โดยที่ไม่รู้ตัวว่าจะไม่ได้กลับมาอีกเป็นสิบปี มีช่วงเวลาที่คุณพ่อติดคุกการเมือง และได้เห็นคนที่นับถือหลายคนในจีนถูกประจาน หลายคนเสียชีวิตในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ไม่ได้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอครัว แล้วคุณสิรินทร์ก็ได้กลายมาเป็นคุณแม่ของลูกชายสองคน ต่ายอ่านไปแล้วก็จินตนาการถึงผู้หญิงที่เป็นแม่ 2 คนในเรื่องนี้ . คนแรกคือคุณแม่ของคุณสิรินทร์ คือคุณวิไล พัธโนทัย คุณวิไลเป็นภรรยานักการเมืองที่เข้มแข็งทำหน้าที่ดูแลลูก ๆ ทั้ง 5 คน ตอนที่สามีติดคุก 2 ครั้ง ทำหน้าที่เป็นฑูตอย่างไม่เป็นทางการในการเจรจากับผู้นำระดับสูงในต่างประเทศ คูณวิไลตัดขาดจากครอบครัวนักธุรกิจเพื่อมาแต่งงานกับนักการเมือง และยังต้องยอมส่งลูก 2 คนไปให้จีนเลี้ยงดู ลองคิดในมุมคนเป็นแม่ดูค่ะว่าจะต้องแข็งแกร่งแค่ไหน ในวันที่อะไรก็ไม่เป็นใจจะเอาแรงอะไรมาผลักให้ดำเนินต่อไป . ส่วนแม่คนที่สอง คือคุณสิรินทร์ ลูกที่เติบโตมาต้องห่างไกลจากพ่อแม่มาทำหน้าที่สะพานเชื่อมความสัมพันธ์ และเกือบเอาชีวิตไม่รอดในประเทศที่เธอรักและผูกพันมากนี้ เสมือนเป็นอีกประเทศแม่ของเธอ เมื่อเธอได้เป็นแม่เอง เธอก็อยากให้ลูกได้กลับมารู้จัดรากเหง้าของเธอ ได้มารับการศึกษาที่จีน และลูกชายก็ได้มาทำหน้าที่สะพานเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีนอีกเป็น generation ที่ 3 ตอนที่เป็นแม่ในแบบที่ไม่ได้มีภาพแม่เป็นตัวอย่างให้ดูจะเป็นอย่างไร . อ่านแล้วรู้สึกว่าโชคดีที่เรายังได้อยู่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ได้เห็นเค้าค่อย ๆ เติบโตไปในแต่ละวัน รักกัน ทะเลาะกัน ไม่ได้เป็นแม่ที่ดีที่สุด แต่ก็ดีใจที่ได้อยู่กับลูกค่ะ #เลี้ยงลูกเล่นดนตรี
ป.ล. อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วกลับไป google ประวัติศาสตร์ช่วงนั้นเยอะมากค่ะ ประวัติศาสตร์บางช่วงอ่านแล้วให้ความรู้สึกว่าโชคดีมากที่เกิดมาในยุคนี้ และบางครั้งก็ไม่น่าเชื่อว่าคนเราจะทำอะไรเลวร้ายกับเพื่อนมนุษย์ได้ขนาดนั้น ถ้าลูกเรียนประวัติศาสตร์ช่วงนี้ แม่ติวให้ได้ A แน่นอนค่ะ ^^
Comments