มีใครเคยเรียนการฟังมาบ้างคะ ในโรงเรียนเราได้เรียนการเขียน การอ่าน และการพูดมาแน่นอน การฟังก็เป็นอีกทักษะที่สำคัญแต่เราไม่ค่อยได้เรียนกันมานะคะ ภาษาอังกฤษคำว่า hearing กับ listening นี่ก็ไม่เหมือนกันนะคะ คำว่า hearing เราเกิดมาก็ได้ยินเสียงต่าง ๆ รอบตัว แต่ listening เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนเพราะมันไม่ใช่การได้ยินผ่าน ๆ อย่าง hearing ค่ะ
.
สำหรับต่ายการฟังเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับความสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ ถ้ามีแต่คนพูดไม่มีคนฟังแล้วเราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในหนังสือเรื่อง Seven Habits for Highly Effective People กล่าวถึง habit ที่ 5 คือ ‘Seek first to understand then to be understood’ เราอยากจะให้คนอื่นมาเข้าใจเรา เราต้องพยายามไปเข้าใจคนอื่นก่อน ซึ่งใน workshop Seven Habits นี้ตอนที่เรียน habit 5 สิ่งที่ต้องฝึกเพื่อให้เข้าใจคนอื่นคือการฟังค่ะ
.
การฟังมีหลายระดับค่ะ ถ้าเราไป search ใน Google ว่า ‘type of listening’ จะเจอหลายทฤษฎีเลยค่ะ วันนี้ต่ายหยิบยกมา 1 อันนะคะ มาดูว่าการฟังมีประเภทอะไรบ้าง
1.Ignoring คือ เราไม่ฟังเลย เวลาคนพูด เราไม่สนใจ หรือเราก็พูดสิ่งที่เราอยากพูดไปเลย
2.Pretend Listening ทำเป็นว่าฟัง ฟังไปแล้วมีการทำเสียงตอบรับบ้างเหมือนว่ายังฟังอยู่ ตัวอย่าง เช่นเราดูมือถือไปคุยกับคนอื่นไปด้วย คนฟังก็รู้สึกได้ว่าเราไม่ตั้งใจฟัง
3.Selective Listening เราเลือกฟังเฉพาะส่วนที่เราอยาได้ยิน เช่น ความคิดเห็นที่ตรงกับเรา อันนี้คนฟังจะได้รับสารไม่ครบ อาจจะทำให้ไม่เข้าใจข้อความทั้งหมด
4.Attentive Listening ฟังแบบตั้งใจ จับใจความได้ทั้งหมด สามารถพูดตอบประเด็นที่คุยกันได้ การฟังระดับนี้เป็น mode การตั้งใจฟังอบบปกติของเรา
5.Empathic Listening เป็นการฟังระดับลึก ฟังได้เข้าใจไปถึง intention ของผู้พูดไม่ใช่ฟังเฉพาะคำพูด ซึ่งการฟังระดับนี้ต้องสังเกต non-verbal language ด้วย ผู้พูดจะรู้สึกได้ว่าผู้ฟังตั้งใจและเข้าใจเค้าเหมือน in his/her shoe
.
การฟังระดับ 5 Empathic Listening ต้องอาศัยการฝึกฝนและใช้สมาธิและพลังงานในการฟังค่ะ เราไม่สามารถฟังระดับนี้ได้ตลอดเวลา เราต้องเลือกเปิด mode นี้สำหรับกรณีที่สำคัญค่ะ เช่น ถ้าเห็นลูกเศร้าใจมาเล่าเรื่องที่โรงเรียนให้ฟัง หรือแฟนเราเริ่มบ่นเจ้านาย/คนที่ทำงาน การฟังระดับนี้เน้นทำความเข้าใจผู้พูด ไม่เน้นว่าเราจะต้องตอบ หรือแนะนำอะไรเค้ากลับไปค่ะ ฟังแล้ว reflect สิ่งที่เราได้ยินกลับไปสั้น ๆ ให้ผู้พูดรู้ว่าเราฟังเค้าอยู่
.
ต่ายตั้งใจฝึกฝนทักษะนี้และนำมาใช้ในครอบครัวค่ะ เราฟังลูกตั้งแต่วันนี้ ให้เค้ารู้ว่ามีแม่เป็นคนที่เค้าจะมาเล่าได้ทุกเรื่องเพราะแม่จะคอยฟังเค้า ก็หวังว่าพอลูกเป็นวัยรุ่นหรือโตไปแล้วก็ยังจะอยากกลับมาเล่าอะไรให้เราฟังค่ะ ส่วนหลังจากที่ฝึกฟัง mode นี้ สามีก็บอกว่าเราฟังได้ดีขึ้น แล้วก็มีเรื่องมาเล่าให้เราฟัง ต่ายค้นพบว่าหลายครั้งการเล่าก็ช่วยระบายความเครียด และคนเล่าก็ไม่ได้คาดหวังคำแนะนำ/ solution อะไรจากเรา เค้าแค่ต้องการคนรับฟังค่ะ
Comments