ถ้าเราสงสัยว่าลูกเรา (หรือตัวเราเอง) เป็นโรคสมาธิสั้น แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ก่อนเลยค่ะ ถ้ายังไม่อยากไปพบคุณหมอ ในหนังสือเขียนให้เข้าใจง่ายเล่าเป็นเรื่องราวแต่อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระ รวมทั้งมีแบบประเมินให้เราลองประเมินเองเบื้องต้นว่าลูกเราน่าจะเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ค่ะ คุณหมอที่เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นเจ้าของเพจ หมอแมวน้ำเล่าเรื่อง นะคะ
.
โรคสมาธิสั้นเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ โดยจะมี 3 กลุ่มอาหารหลัก
1.Hyperactivity (คึกคัก) มีอาการซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ลุกเดินหาอะไรทำตลอดเวลา พูดเยอะ ชอบทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน แต่มักไม่ประสบความสำเร็จซักอย่าง เมื่อต้องนั่งนาน ๆ จะกระวนกระวาย
2.Impulsivity (หัวร้อน) มีนิสัยใจร้อน ทำอะไรไม่คิดถึงผลที่ตามมา เล่นแรง พูดโพล่ง พูดแทรก เวลาที่ต้องรอมักหงุดหงิด อาจทำกิจกรรมเสี่ยงอันตราย เช่น ใช้สารเสพติด โดดเรียน ขับรถเร็ว ทะเลาะวิวาท มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
3.Inattention (เหม่อเนือย) มีนิสัยเหม่อลอย วอกแวกง่าย ไม่สนใจฟัง ขี้ลืม ไม่รอบคอบ ไม่ค่อยมีความพยายาม ขี้เบื่อ โอ้เอ้ ผัดผ่อน ไม่มีเป้าหมาย ทำอะไรไม่สำเร็จ ทำงานผิดพลาด
ซึ่งคนที่สมาธิสั้นอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า 1 อาการ หรือครบทั้ง 3 อาการได้ในคนเดียวกัน
.
สาเหตุของโรคมักเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันได้แก่
1.ความผิดปกติทางชีววิทยา มีปริมาตรเนื้อสมองสีเทาลดลง มีความหนาของเนื้อสมองส่วนหน้า (ส่วนของ EF – Executive Functions) ทำงานน้อยกว่าปกติและพัฒนาล่าช้ากว่าปกติ และสารสื่อประสาทบางตัวผิดปกติ
2.พันธุกรรม ถ้าญาติสายตรงอันดับแรก เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก เป็นโรคสมาธิสั้น จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 4-5 เท่า
3.ด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีผลมี 3 ระยะ คือระยะที่คุณแม่ตั้งครรภ์, ระหว่างคลอด, ระหว่างเจริญเติบโต โอกาสจะเดินโรคสมาธิสั้นสูงขึ้นถ้าแม่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์, ระหว่างคลอดน้ำหนักน้อยมีภาวะแทรกซ้อน หรือได้รับสารพิษ ขาดออกซิเจนระหว่างเติบโต
4.ด้านสังคม คือการเลี้ยงดูในครอบครัว เช่น ครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง ผู้ปกครองเจ็บป่วยทางจิตเวช เด็กถูกทารุณกรรม ทำให้สมองหลั่งสารเคมีผิดปกติ
.
การวินิจฉัย ต้องใช้ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กหลาย ๆ คน เช่น ผู้ปกครอง ครู เพื่อน และต้องประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ เพราะจะต้องแยกจากภาวะที่คล้านโรคสมาธิสั้น เช่น เด็กซนปกติ โรคทางกาย เช่น โรคลมชัก โรคสมองได้รับการบาดเจ็บ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และยากรักาโรคที่มีอาการค้างเคียงทำให้มีอาการเหมือนสมาธิสั้น เช่น ยากันชัก
.
นอกจากนี้โรคสมาธิสั้นยังอาจมาพร้อมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคดื้อต่อต้านและโรคเด็กเกเร (Conduct Disorder), โรคภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน (แบ่งออกเป้น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ บกพร่องด้านการอ่าน เขียน และคำนวณ), โรคออทิสติก, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, โรคกล้ามเนื้อกระตุก (Tic Disorder), การใช้สารเสพติด
.
เด็กสมาธิสั้นจำนวน 1 ใน 3 เมื่อโตไปอาการทั้งหมดมักหายไป ถ้าหากได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดจากคนรอบข้าง และมีผู้ใหญ่ประมาณ 2-5% ที่ยังมีอาการสมาธิสั้น การรักษาทำได้โดยการกินยา ซึ่งเป็นยาที่ช่วยให้มีสมาธิในขณะที่ยาออกฤทธิ์และเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย ปลอดภัยสามารถใช้ยานี้ไปได้ตลอดตามอาการของโรค เด็กที่กินยาอย่างสม่ำเสมอยาจะสามารถช่วยปรับภาวะในสมอง นอกจากการกินยาคือ การปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมตอนที่อยู่นอกบ้านและในบ้าน คุณครูยังมีส่วนช่วยในการปรับพฤติกรรมในห้องเรียน นอกจากนั้นยังช่วยได้ด้วยการออกกำลังและทำในสิ่งที่ชอบเพื่อเสริมสร้างความภุมืใจ เพราะเด็กสมาธิสั้นมักจะถูกดุจากพฤติกรรมที่เป็นอาการของโรค และยังมีการฝึกทักษะกับสหวิชาชีพ เช่น นักฝึกพูด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา
.
ถ้าเด็กสมาธิสั้นได้รับการช่วยเหลือ จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้ ตัวอย่างคนดังที่มีภาวะสมาธิสั้นได้แก่ Leonardo Da Vinci, Emma Watson (นักแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี่จากเรื่อง Harry Potter), Bill Gates, Michael Phelps (นักว่ายน้ำโอลิมปิกที่ได้เหรียญทองมากที่สุดในโลก)
.
ถ้าคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะสมาธิสั้น แนะนำให้พาลูกปประเมิน เพราะการที่พบโรคได้ตั้งแต่เด็กและมีการรักษาจะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ค่ะ
Comentarios