top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.256 เสียดายแย่ถ้าพ่อแม่ไม่ได้อ่าน



เราเป็นผู้มี

อิทธิพลหลักต่อลูก อดีตของเราส่งผลต่อปัจจุบันในแง่ความสัมพันธ์ของลูก ลูกกระตุ้นความรู้สึกเก่า ๆ ของเราอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เราแสดงออกผิด ๆ เมื่อต้องรับมือเขา เช่น คุณแม่คนนึงโมโหและดุลูกที่ลูกลงจากเครื่องเล่นไม่ได้ ทั้งที่ที่ผ่านมาก็เคยลงได้ เมื่อได้นึกย้อนกลับไปในวัยเด็กพบว่าตอนที่เป็นเด็ก คุณยายเลี้ยงแม่แบบเจ้าหญิง ให้ระวังตัวตลอดเวา ทำให้รู้สึกว่าทำอะไรเองไม่เป็นเลยสักอย่าง และไม่อยากให้ลูกเป็นแบบนั้น เราอาจจะคิดว่าปฏิกิริยาทางอารมณ์ของเราอาจเกิดจากปูมหลังของเรา แต่จริง ๆ แล้วอารมณ์ลบที่จัดการยากเป็นสัญญาณเตือนว่ามางอย่างมาจี้จุดอ่อนเราแล้ว . ครั้งต่อไปเมื่อเรารู้สึกโกรธลูกแทนที่จะตอบโต้โดยไม่ยั้งคิด ลองถามตัวเองว่าความรู้สึกนี้เกิดจากสถานการณ์นี้และจากลูกของคุณ ณ ตอนนี้อย่างเดียวหรือเปล่า และคุณจะบังคับตัวเองให้มองสถานการณ์จากมุมของลูกได้อย่างไร วิธีที่ดีในการห้ามตัวเองไม่ให้ตอบโต้ลูกคือการพูดว่า ‘แม่ขอเวลาไตร่ตรองเหตุการณ์นี้ก่อน’ แล้วใช้เวลาสงบสติอารมณ์ก่อนที่จะคุยกับลูก . ถ้าความสัมพันธ์ของเรากับลูกเหมือนทั้งคู่ถูกทิ้งไว้กลางสนามรบ มีแต่การหาเรื่อง จับผิด และหงุดหงิด เราอาจทำสิ่งที่เรียกว่า การทิ้งระเบิดความรัก (love bombing) เพื่อพลิกความสัมพันธ์และสิ่งที่คุณทำมาตลอด คือต้องใช้เวลากับลูกเพื่อตั้งอุณหภูมิอารมณ์ของเราและของลูกใหม่ ไม่ใช่แค่เวลาคุณภาพ แต่เป็นการปรนเปรอลูกด้วยความรักอย่างเต็มที่ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกออกคำสั่งทุกอย่างในขอบเขต การทิ้งระเบิดความรักเป็นช่วงเวลาที่คุณอยู่กับลูกเพียงลำพัง ควรจะเป็นช่วงที่สมาชิกคนอื่นไม่อยู่บ้าน หรือไปพักโรงแรมถ้ามีกำลังจ่าย ตลอดช่วงหนึ่งวันเต็มหรือเสาร์อาทิตย์ ให้ลูกกำหนดว่าคุณทั้งสองจะทำอะไร จะกินอะไร ในช่วงเวลานี้ให้คุณ พร่ำแสดงความรักและชื่นชมลูกอย่างจริงใจ . คุณอาจจะคิดว่าทำแบบนี้ทำให้ลูกเสียนิสัยหรือเปล่า ให้ลองคิดดูว่าถ้าคนที่เรารักทำให้เรารู้สึกไร้ตัวตน ทั้งที่เราก็ได้ให้ความรักกับเค้าอย่างเต็มที่ การทิ้งระเบิดความรักเป็นการมอบความใส่ใจนะดับเข้มข้นให้ลูก ซึ่งจะช่วยตัดวงจรพฤติกรรมรุนแรงของทั้งสองฝ่าย และตั้งค่าใหม่เป็นจังหวะในการให้และการรับ . ถ้าคุณให้ความหมายกับการเลี้ยงลูกว่าเป็นแค่ภาระหน้าที่ที่คุณต้องคอยป้อนข้าว เช็ดก้น เอาอกเอาใจ เป็นความหมายของการเลี้ยงลูกแบบแคบ สำหรับผู้เขียนการเลี้ยงลูกคือการดูแลเอาใจใส่และใหเกียรติลูกค่ะ เป็นการลงทุนในความสัมพันธ์ แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าแต่ละวันผ่านไปอย่างวุ่นวาย ไม่มีผลงานอะไรให้ภูมิใจในแต่ละวันเลย ผลลัพธ์นั้นจะตามมาเอง เมื่อเราฝึกรับฟังลูกและปล่อยให้ลูกส่งผลต่อเราจนเป็นนิสัย การเลี้ยงลูกจะทำให้เราอิ่มใจ และเมื่อเราทุ่มเทื่อช่วยให้ลูกรู้สึกเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมกับเรา ก็ถือว่าเราได้ลงทุนในสิ่งที่จะกลายเป็นอารมณ์พื้นฐานของเค้าในอนาคต . จงช่วยเหลือลูกแต่ไม่ใช่ทำทุกอย่างแทนลูก ลูกจะเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะแยกจากพ่อแม่อย่างไร จงวางใจให้ลูกแยกตัวเมื่อพร้อมตามจังหวะของเค้าเอง อย่าบังคับให้ลูกทำตามจังหวะของคุณ ถ้าเราปล่อยให้ลูกทำตามจังหวะของตัวเอง ลูกจะหลับได้เองและหลับยาวตลอดคืน แล้ววันหนึ่งนั่ง คลาน เดิน แต่งตัว ทำอาหารเช้าเอง จ่ายค่าโทรศัพท์เอง ตามจังหวะของเค้า ถ้าเรากดดันให้เค้าทำก่อนทั้งลูกและเราจะหงุดหงิดด้วยกันทั้งคู่ พอถึงเวลาเขาก็จะทำได้เอง ถ้าเราเร่งรัดพัฒนาการของลูก เราอาจไปถ่วงพัฒนาการของเค้าด้วย ถ้าคุณยื่นมือเข้าไปช่วยลูกในเวลาที่ลูกทำเองได้ นั่นคือคุณลดทอนความสามารถของลูกและปล้นหน้าที่ของเขามาทำเสียเอง . หน้าที่ของเราคือต้องรักลูกให้มากกว่าตัดสินลูก และคำนึงถึงความรู้สึกของลูกมากกว่าจะมองเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่ถูกต้อง การแสดงออกว่าให้เกียรติและนึกถึงจิตใจทารกเด็กเล็กไม่ได้แปลว่าคุณตามใจเค้าแบบไร้ขอบเขต . พฤติกรรมคือการสื่อสาร ผู้เขียนเชื่อว่าไม่มีใครดีหรือเลวร้ายไปทั้งหมด พฤติกรรมของบางคนวุ่นวายหรือทำให้คนอื่นเดือนร้อน ก็ไม่มีใครเกิดมาเลวหรอก เพราะฉะนั้นแทนที่จะตีตราว่าพฤติกรรมนั้น ‘ดี’ หรือ ‘เลวร้าย’ จะใช้คำว่า ‘ว่าง่าย’ หรือ ‘เกเร’ แทน ถ้าเด็ก ๆ แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือเกเรออกมากเพราะเขายังไม่เจอวิธีแสดงความรู้สึกและความต้องการของตัวเองในรูปแบบที่ง่ายและได้ผลกว่า หน้าที่ของเราคือถอดรหัสพฤติกรรมลูก ลองถามตัวเองว่าลูกพยายามสื่อสารอะไรผ่านพฤติกรรม และเราช่วยให้ลูกสื่อสารได้ราบรื่นกว่านี้ได้อย่างไร

หน้าที่ของเราคือ เป็นต้นแบบพฤติกรรมที่ดีแสดงออกกับลูกและคนอื่น ๆ ด้วยความเห็นอกเห็นใจและหวังว่าลูกก็จะทำแบบเดียวกันด้วย นอกจากนี้ยังมีทักษะอีก 4 ประการ ที่รุกคนต้องพัฒนาเพื่อเข้าสังคม และเพื่อประพฤติตัวให้เหมาะสม ได้แก่ 1. ความสามารถที่จะข่มความหงุดหงิด 2. ความยืดหยุ่น 3. ทักษะการแก้ปัญหา 4. ความสามารถที่จะมองเห็นและรู้สึกจากมุมของผู้อื่น . หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณแม่นักจิตบำบัด เป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้คุณและลูกพร้อมจะซ่อมแซมความสัมพันธ์และก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง เหมาะสำหรับคนที่เตรียมตัวจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณแม่ท้อง ไปจนถึงคุณพ่อคุณแม่ลูกวัยรุ่น


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai

Comments


bottom of page