‘เตรียมลูกให้เป็น Global Citizen’ พูดคุยกับคุณเก๋ เจ้าของเพจ #คนของโลก และเจ้าหน้าที่อบรมที่เดินทางไปอบรมมาแล้วทั่วโลกที่จะมาให้ความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่เธอเดินทางทำงานทั่วโลกกับองค์กรใหญ่ยักษ์มาแล้วมากมายค่ะ . หัวข้อ Global Citizen ได้รับคำถามหลังไมค์มาจากคุณพ่อคุณแม่มากมายเลยค่ะ เรามาเร่ิมสรุปกันไปทีละคำถามเลยนะคะ . “คนต่างชาติมองคนไทยว่าเป็นคนยังไง?” ตอบ คุณเก๋ค้นคว้ามุมมองทางวิชาการมาค่ะ จาก การศึกษาทางวัฒนธรรมผ่านจดหมายเหตุ พบว่า คนไทยชอบสนุก, ร้องเพลง, เต้นรำ, พูดเก่ง, ไม่ได้ชอบอดทน ทำงานหนัก . ช่วงปี 1970 - 1980 งานวิจัยการสื่อสารวัฒนธรรม 4 มิติ พบว่า คนไทยเกรงใจ, ให้เกียรติ, เคารพผู้ใหญ่, ยึดมั่นกฏเกณฑ์, ระยะห่างระหว่างอำนาจสูงมาก (ผู้ปกครอง - ลูกน้อง), ชอบรวมกลุ่ม, เน้นความสัมพันธ์มากกว่าเข้าประเด็น, ไม่ชอบเสี่ยง . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า จากการทำงานในบริษัทนานาชาติกับบริษัทไทย มีชั้นของอำนาจที่ชัดเจนมากๆ และ การรวมกลุ่มไปห้องน้ำหญิงไทยเป็นเรื่องที่ฝรั่งสงสัย . จากงานวิจัยไปสู่ความเป็นจริงในยุคสมัยๆหนึ่งค่ะ . “เด็กสมัยเรากับเด็กสมัยนี้ ต่างกันอย่างไรบ้าง?” ตอบ วัฒนธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในยุคปัจจุบันยิ่งเปลี่ยนเร็วยิ่งกว่ายุคใด “ความเป็นไทย” อาจต้องนิยามกันใหม่ คุณเก๋ไปอ่านงานวิจัยมาว่า Gen Z,Y,X, Baby bommer จะต่างกันมาก เด็กจะมีความห่างระหว่างอำนาจลงดลงอย่างมาก, กล้าแสดงออกมากขึ้น และ อาจสร้างความขัดแย้งได้โดยง่าย . เด็กปัจจุบันจะเน้นเป้าหมายระยะยาวมากขึ้น (ถ้าหาตัวเอง, Ikigai, Passion เจอ) และเน้นเรื่องการตามหาประสบการณ์ตรงมากขึ้น, แต่สิ่งที่เปลี่ยนน้อยที่สุดของเด็กไทยยุคใหม่คือยังคงเน้นความสัมพันธ์อยู่ . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า ในที่ทำงานมีคอร์สฝึกหัวหน้างานเพื่อบริหารข้าม gen เหมือนกัน จาก Baby Boomer และเจน X มาสู่ลูกน้องเจน Y และ ตอนนี้ที่เจน Z กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการพัฒนาทักษะที่ทำงานเช่นกัน . “เตรียมลูกอย่างไรในวันนี้?” ตอบ เราจะเตรียมลูกๆเหมือนอย่างที่เราถูกเตรียมมาไม่ได้ เพราะการเรียนเก่ง, เข้าสถาบันการศึกษาที่ดีอาจไม่ใช่กับโลกที่ “เต็มไปด้วยความไม่รู้” พวกเขาควรรู้จักตัวเองและควบคุมชีวิตตัวเองได้เป็นอย่างดี เปิดรับโอกาส, กล้าทดลอง, ล้มเหลว และ ลุกขึ้นมาใหม่ได้ ใช้การเชื่อมต่อเพื่อไปสู่เป้าหมาย แม้จะไม่เป็นคนที่เก่งที่สุดก็ตาม เพราะ collective wisdom, collective capacities กำลังจะมาในโลกที่เอาทักษะความสามารถมารวมกันเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ เราจึงไม่ควรปิดกั้นเขา แต่ควรส่งเสริมให้เขาได้งอกงาม คำถามที่ว่าโตขึ้นลูกอยากเป็นอะไร อาจ เปลี่ยนเป็น ทำอะไรแล้วมีความสุข, ทำแล้วอยากทำต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้ดียิ่งขึ้น . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า ปัญญามวลรวมอาจเป็นทักษะที่ช่วยให้ลูกๆอยู่เหนือกว่า AI ที่กำลังมาแย่งงานคนในยุคนี้ และ เด็กที่โตขึ้นมาพร้อมอินเตอร์เน็ตแล้วจะโตมาแตกต่างจากยุคเราเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงอาชีพที่ไม่เคยมีในยุคเราและอาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต . “การศึกษาจำเป็นระดับไหน? EP, Inter, ต้องเรียนใช่หรือเปล่า” ตอบ ถ้าทำได้ก็เป็นการเตรียมต้นทุนที่ดีให้กับลูกหลาน แต่ ถ้าทำไม่ได้ก็ยังมีโอกาสเป็น Global Citizen ได้เช่นกัน คุณเก๋ ก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษตอน ป. 5 แต่ก็ค้นพบได้ว่าต้องผลักดันตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าคนอื่นๆ รวมถึงการเปิดโอกาสสัมผัสความหลากหลายและโลกที่กว้างขึ้นให้ลูก เช่น การพาไปที่ต่างๆ, คนที่หลากหลาย, เป็นโฮสท์แฟมีลี่ให้เด็กต่างชาติ . แม้แต่จะเป็นเด็กในเมือง, เด็กต่างจังหวัดก็สามารถแลกเปลี่ยนทักษะกันได้ ซึ่ง จะต่อยอดให้ลูกมองโลกได้กว้างขึ้นและเปิดรับโอกาสใหม่ๆมากขึ้น นำไปสู่ความหลากหลายกับโอกาส เพราะ หากเด็กไม่มีความยืดหยุ่นหลากหลาย กลายเป็น เด็กเก่ง ที่เหมือนกันไปหมด แต่เด็กที่มีความเฉพาะเจาะจง และ นำมารวมกันเพื่อหน่วยงาน, สังคม ที่หลากหลายเช่นกัน . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า ทุนในองค์กรและทุนต่างประเทศมีมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะหากไม่จำกัดตัวเองเฉพาะประเทศชั้นนำ โลกใบนี้ของลูกๆนั้นกว้างมาก อยู่ที่ลูกเราว่าจะคว้าไว้ได้ไหม . “เราควรจะมีแนวทางเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็น Global Citizen?” ตอบ จากชีวิตของคุณเก๋ที่มาจากครอบครัวค้าขายธรรมดาๆ ในต่างจังหวัด มาสู่ คนที่ทำงานในหลายๆประเทศ จุดเปลี่ยนคือความคิดของวัยเด็กที่ “ชีวิตมีทางเลือก” ไม่จมอยู่กับอคติ “ฉันเป็นเด็กต่างจังหวัด” “ฉันพูดอังกฤษไม่เก่ง” “ฉันไม่มีทางไปเรียนต่อเมืองนอก” . เอาข้อจำกัดความทางคิดออกไป + เอาทักษะอะไรเพิ่มเข้ามา = ไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าได้อย่างไร . Global mindset + ทักษะทางภาษา + การปรับตัวทางวัฒนธรรม + เห็นความต้องการของโลก เช่นจาก Economic Forum, Sustainable development goal, transformation map เด็กก็จะโตไปเป็นพลเมืองโลกด้วยจิตสาธารณะ, ยั่งยืน . การศึกษา, สังคมปัจจุบัน เป็นผลผลิตของคน Gen เรา ที่บ้านควรเป็นพื้นที่ให้ลูกได้งดงามแบบของตัวเอง “อย่าตัดปีกผีเสื้อ” จนเขากลายเป็นหนอนเหมือนๆกันไปหมด ลูกคนได้ลองดิ้นรน และ ทดลองได้เต็มที่ ก่อนจะกลับมาหาเราที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกเรา แทนที่จะลงเอยที่ปัญหาทางจิตใจ ในห้องมืดๆของตัวเอง . “ถ้าลูกต้องไปอยู่ในที่ๆไม่มีคนรู้จัก ไปอยู่คนเดียว จะทำอย่างไร?” ตอบ คุณเก๋ ไปทำงานที่ประเทศในทวีปต่างๆที่ไม่ใช่ประเทศท่องเที่ยวและพื้นที่ทำงานก็มักอยู่ตามชายแดน แต่ด้วยประสบการณ์ที่ชอบไปอยู่บ้านคนอื่นมาตั้งแต่เล็ก เลยปรับตัวเก่ง ยืดหยุ่นสูง พอโตมาก็ชอบไปบ้านเพื่อนและศึกษามาตลอด และ เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ เพื่อเรียนรู้บทบาทและการเลือกตัดสินใจ ทั้งแบบ Hard skills, soft skills, ผู้นำ, ผู้ตาม อย่างเหมาะสม . Global Mindset คืออะไร? ตอบ จากการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรนานาชาติจำนวนมาก ได้คำจำกัดความหนึ่งว่า Global mindset คือ * “ความสามารถในการอยู่ได้อย่างสบายๆ ในสภาวะที่ไม่สบาย ในภาวะที่แตกต่างจากสภาพแวดล้อมของตัวเอง” ** “มีทัศนคติเชิงบวกต่อความแตกต่างหลากหลาย, ความคิดต่าง, ทำต่างจากตัวเอง” *** “รู้จักความเหมือนกันของความเป็นมนุษย์, เข้าใจ, สงสัย, สังเกต, รักการเรียนรู้” . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า องค์กรที่เคยทำงานด้วยก็สนับสนุน Value the difference ที่จะนำสิ่งดีๆ, จุดแข็งมารวมๆกัน แม้กระทั่งคนพิการก็มีสัมผัสอื่นที่พิเศษกว่าคนทั่วไปเช่นกัน เช่น ผู้พิการทางสายตาที่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่าน Call centre ที่พิมพ์ดีดได้เร็วมากๆ . “การเตรียมตัวอยู่ร่วมในความต่างวัฒนธรรม” ตอบ Head - Heart - Hand ปัญญา - จิตใจ - ทักษะ เป็นแนวทางที่ใช้ในการเพิ่มศักยภาพได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือนี้พัฒนาผู้ใหญ่ก็ได้และสามารถปรับให้เหมาะสมกับเด็กได้เช่นกัน เช่น การฝึกการแก้ปัญหาแบบซับซ้อน, ประมวลความรู้, เชื่อมโยง และ นำไปปรับใช้ เริ่มจากการเล่น, ทำกิจกรรมให้เป็นtheme เพื่อเพิ่มมิติการเรียนรู้ เช่น เล่นสนุกกับลูกโลก, ความรู้รอบตัวและโลก, กิจกรรมอาหารต่างประเทศกับเพื่อนบ้าน เป็นต้น . หาความหลากหลายในการเที่ยว ไปร้านแปลกๆ, ทักษะการเข้าสังคมอย่างเหมาะสม กินข้าวชุดใหญ่, เปิบมือ, ต้องรู้และทำได้ . ต้นทุนทางจิตใจ - ให้ลูกได้ลองผจญภัย, กระตุ้นจินตนาการ, ซึ่งจะได้จากการลองสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ, ทดลองอยู่บ่อยๆ และที่สำคัญ รู้จักตัวเองและยอมรับที่จะรักตัวเอง และ สร้างเป็นความเข้มแข็งที่ยืดหยุ่นให้ตัวเองได้ คนจึงมีจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับผู้อื่นผ่านความเข้าใจทั้งสุขและทุกข์ในสิ่งที่เชื่อมโยงพวกเราไว้ด้วยกันได้ . “ยกตัวอย่างคนที่เป็น Global Citizen และคนที่ไม่เป็น Global Citizen” ตอบ คุณเก๋ไปหารายงานทางวิชาการมาอีกเช่นกันค่ะ ว่าในเมืองไทย ที่ไหนคนมี Global Mindset เยอะ? พบว่าในหน่วยงานท้องถิ่นจะเป็นท้องถิ่นอยู่ซึ่งเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ ภาคเอกชนจะมี Global Mindset ชัดเจนกว่า ซึ่งมักสะท้อนออกมาทางความคิดที่เปิดกว้างและหลากหลาย . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า Global Citizen อาจไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานในต่างประเทศก็ได้ แต่เป็นการทำงานที่หลากหลายและกว้างขวาง
“ถ้าลูกเราไม่มี Global Mindset แล้วอนาคตของเขาจะเป็นอย่างไร?” ตอบ โอกาสจะแตกต่างกันมากค่ะ เรื่องภาษาจะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไปเพราะเทคโนโลยีก้าวตามทันความต้องการอยู่ทุกวันๆ เช่นใน Line, MS Team มีแปลภาษาตอนประชุมให้แล้ว ดังนั้นภาษาสำคัญแต่ไม่สุด ทัศนคติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำให้เขาเลือกชีวิต, เพื่อน, งาน ได้ด้วยตัวเอง ในกระดาษชีวิตที่มีขนาดใหญ่มีอิสระซึ่งได้มาจาก Global Mindset นี่เอง . โค้ชแม่ต่าย เสริมว่า พ่อแม่ก็ต้องโตตามลูกด้วย เพราะ โลกที่เราโตมากับโลกของเขามันเป็นคนละแบบ เราอาจจะเลี้ยงเขาได้แต่เขาจะโบยบินของเขาเอง และ อาจจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา . “Corperate ระดับโลก มีการเปิดรับความหลากหลายขนาดไหน?” ตอบ เปิดกว้างมากที่สุดและไม่มีการ Discriminate ใดๆทั้งๆสิ้น สำหรับเด็ก องค์กรที่ยิ่งหลากหลาย ยิ่งดึงดูด คนเก่งเอาไว้ได้มาก เพราะTalentรุ่นใหม่มองหาสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนสมบัติที่ช่วยให้ก้าวไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ . โค้ชแม่ต่าย สรุปเสริมว่า เราหาโลกใบใหม่ให้ลูกได้จากต่างจังหวัดแค่นี้เอง และ เราเลี้ยงผีเสื้อขึ้นมาได้สวยงามแล้ว ก็อย่าไปตัดปีกผีเสื้อ แม้ผีเสื้อจะโบยบินจากเราไปในวันหนึ่งก็ตาม . คุณเก๋ ปิดท้ายด้วยว่า แม้จะบินไปไกลแต่สุดท้ายก็เหมือนนกพิราบที่กลับบ้าน และ ฝากให้เด็กๆมีอิสระ เป็นคนของโลก รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น สร้างอนาคตให้ตัวเองและผู้อื่นได้อย่างดีค่ะ
Comments