1. โค้ชใช้ทักษะอะไรบ้างในการเลี้ยงลูก?
สำหรับลูกเล็กวัยประมาณ 2 ขวบ เน้น ‘การสังเกตภาษากาย’ ที่แสดงความรู้สึกผ่านรายละเอียดเล็กๆ ที่จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจลูกได้โดยไม่ต้องสื่อสาร การสังเกตแบบใส่ใจจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ได้อย่างดี
.
ลูกที่โตขึ้นมาหน่อยวัยประมาณ 5 ขวบ ที่ผ่านการสังเกตลูกมาแล้ว สู่ช่วงวัยที่ลูกพูดได้จึงชวนลูกคุย คิดผ่าน ‘คำถาม’ ทำให้ลูกสามารถใช้ความใส, บริสุทธิ์ และสะท้อนความคิดของเขาขึ้นมาจริงๆ แทนการใช้คำสอน, คำสั่ง ในการเลี้ยงดูลูก
.
สำหรับลูกวัยก่อนวัยรุ่น ใช้ ‘การฟัง’ แม้ว่าลูกจะพูดเก่ง แต่ โค้ชต่ายก็จะฟัง keywords ว่าลูกต้องการให้ฟังในระดับใด ทำให้ลูกมีอะไรก็อยากมาเล่าให้ฟัง เพราะเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’
2. การฟังที่ดีจะสร้าง ‘การเปิดใจ’ กันได้ดี และ นำไปสู่สิ่งความสัมพันธ์ที่ดี ให้วาง ‘ความคาดหวัง’ เพื่อให้เป็นความตั้งใจฟังที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ฟังเพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นอย่างที่พ่อแม่ต้องการแทนที่จะให้ลูกได้เติบโตอย่างที่ตัวลูกต้องการด้วยการฟังลูกอย่างเต็มที่จะทำให้เมื่อเขาอยากฟังเรา เขาก็จะได้รับฟังอย่างเต็มใจ
.
มีกรณีที่ผู้ป่วยซึมเศร้ามาคุยกับโค้ช บางครั้งการโค้ชก็ผ่านไปด้วยดี โดยใช้การฟังเพื่อปลดปล่อยความรู้สึกลบ ออกไปจากใจ
.
‘เคล็ดลับทีมเดียวกัน’ ที่ให้ความสุขเป็นของขวัญกับคู่ชีวิตเพื่อสร้างความสุขให้ครอบครัว และคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นทีมเดียวกันในการเลี้ยงลูก
3. เมื่อไหร่ที่จะเป็นโค้ชหรือเป็นพ่อแม่ให้ลูก?โค้ชทุกท่านไม่รู้สึกว่ามันเป็นหมวกที่ต่างกัน เพราะการโค้ชช่วยปรับมุมมอง ให้เราเห็นลูกอย่างที่เขาเป็น และจะช่วยให้เรารู้ว่า ในบางขณะ เราอาจจะบอกข้อมูลให้เขาได้เลยหรือกระตุ้นให้เขาได้คิด
.
เพราะทักษะการโค้ชสามารถนำมาปรับใช้เป็นโมเดลๆได้ แม้แต่การโค้ชระดับ ICF ก็ยังมีการ educate ข้อมูลให้ผู้รับการโค้ชได้ แต่ไม่ใช่ educate solution เพราะสุดท้ายคนที่ตัดสินใจควรเป็นลูกของเรา
4. ลูกจะเป็นลูกเราจนถึงอายุเท่าไหร่?
ลูกของเราต้องการให้เราสวมบทบาทไหนในช่วงอายุใด?
เช่น 3-10 ขวบที่เริ่มเป็นตัวตน พ่อแม่อาจจะต้องเป็นครู ที่คอยตามคำถาม, สอนสิ่งที่เขาอยากรู้
10-16 พ่อแม่อาจกลายเป็นเพื่อน ให้ลูกได้ลองผจญภัยในแบบของเขา
17 - 20 เป็น supporter, teacher บ้าง เพื่อเสริมสร้างให้เขาได้ลองใช้ชีวิตและค้นพบตัวเอง
20 ขึ้นไป พ่อแม่สามารถเป็นโค้ชได้เพื่อช่วยพาเขาไปสู่เป้าหมายที่เขาต้องการได้
30 ลูกจะกลับมาเป็นลูกที่เราจะได้รักกันอีกครั้ง
5. การโค้ชและการเสริมความสุขให้ครอบครัว
การทำ home school ให้ลูก โดยการปรึกษาและตกลงใจร่วมกับภรรยา แม้ว่าจะมีคำถามจากคนอื่น แต่ด้วยการฟัง, สื่อสาร, เข้าใจ ก็จะช่วยให้ผ่านไปได้
.
แม้แต่ปู่ย่าตายายกับการให้ความรักกับหลาน เราก็จะเข้าใจได้ว่าเมื่อก่อนพ่อแม่ของเราผ่านอะไรมา โดยเฉพาะครอบครัวขยาย
.
การสร้างความเข้าใจผ่านการทำความเข้าใจผู้อื่นก่อน ก็จะช่วยให้เขาเข้าใจเราได้เช่นกัน เพราะคนเรามีชุดความคิดที่ต่างกัน
6. สำหรับในครอบครัวขยายใหญ่มาก - การยืนหยัดอย่างนอบน้อม Humble & Respect - เป็นวิธีที่กลมกล่อมและสร้างทีมครอบครัวที่ใหญ่ขึ้นใช้ทักษะกับตัวเองมากที่สุด เช่น การเลี้ยงลูกให้รู้จักใจตัวเอง
7. ภูมิคุ้มกันความคิด ที่เลี้ยงลูกด้วยการเปิดให้ลูกสะท้อนเสียงความรู้สึกออกมา ด้วยการถาม "ลูกรู้สึกอย่างไร" และสะท้อนความรู้สึกออกมาให้พ่อแม่ฟังได้ และ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีความคาดหวัง และ รับฟังลูกเราได้มากแค่ไหนและอยู่กับเขาตรงนั้น และเมื่อลูกเรามี พื้นที่ ในใจกับเราเขาก็อยู่กับเรา ไม่เช่นนั้นเขาจะไปหาจากคนอื่น
8. การสร้าง self esteem ที่ให้ลูก express อารมณ์โดยไม่ต้องกดอารมณ์เอาไว้ เพื่อให้สังเกตสิ่งต่างๆและยอมรับผู้อื่น
9. เสาเข็มของความสัมพันธ์ (Rapport) และพลังของความเงียบ ที่เปิดให้ลูกได้ฟังความรู้สึกของเขาเอง ในพื้นที่ของเขาเอง และเมื่อพร้อมลูกจะเปิดใจกับเรา แทนที่จะจี้เอาๆ ตอบสิๆ ทำไมไม่ตอบๆ และพ่อแม่จะเชื่อมั่นในตัวลูกว่าลูกดูแลตัวเองได้ แทนที่จะ "เห็นมั๊ยๆ" เพราะคำตอบอยู่กับพ่อแม่ แต่ถ้า เราให้คำตอบอยู่กับลูก เขาจะเห็นเราเป็นทีมเดียวกันแล้ว
CoachTai Musicparent
Comments