ต่ายได้พูดคุยกับ คุณ ม้อ สาวิตร ศรีศรันยาพงศ์ ผู้บริหาร ฝ่ายวานิชธนกิจ
ผู้บริหาร ธนาคารกสิกรไทย, CFA, เพจ https://www.facebook.com/BKKFinanceLifestyle , และพ่อลูก 2
.
การเงินครอบครัว ก็คือ การทำอย่างไรให้ครอบครัวมีความสุข
เพราะหากครอบครัวมีความสุขแต่ว่าเงินไม่พอใช้มันก็ลำบาก
.
“แล้วเมื่อไหร่จะรวยสักที” - ทำอย่างไรให้มีรายรับมากกว่ารายจ่าย* นี่คือหลักสำคัญ
ซึ่งคล้ายกับการดูบริษัทว่ากำไรขาดทุนเท่าไหร่ แต่ ก็ไม่ค่อยจะง่าย
เช่นเดียวกันกับครอบครัวที่ต้องดูว่า ในแต่ละเดือน, แต่ละปี มีเงินเหลือเท่าไหร่ มีเก็บเท่าไหร่
เพราะส่วนมากคนดูแต่รายได้, เงินเดือน แต่ไม่ได้มองว่าเหลือเท่าไหร่
.
มา “ตรวจสุขภาพทางการเงิน” กันหน่อย
เหมือนการตรวจสุขภาพที่จะได้ “รู้ปัญหาก่อนที่จะเป็นเรื่องใหญ่”
ทุกคนรู้รายได้ว่ามีเท่าไหร่ แต่ ยากมากที่จะรู้ว่าจ่ายเท่าไหร่
รายจ่ายประจำ, รายจ่ายพิเศษ เช่นการไปต่างประเทศ
การจดบันทึก** ใช้หลัก รายจ่ายย่อยๆที่เกิดขึ้นประจำ + รายจ่ายใหญ่ๆที่นานๆเกิดขึ้นที
.
รายจ่ายย่อยๆรายเดือนคือ?
ค่าอาหาร + ค่าเดินทาง + ค่า entertainment + ค่าผ่อนต่างๆ = รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน
รายจ่ายใหญ่ (จ่ายเป็นก้อน, นานๆเกิดขึ้นที)
ซ่อมรถ, เข้าร.พ., ไปเที่ยวต่างประเทศ
ตัวอย่าง มีรายได้เดือนละ 50,000 - รายจ่ายรวม 30,000 = ก็จะเหลือ 20,000 / เดือน
แล้วนำมารวมเป็นรายปี รวมรายจ่ายก้อนใหญ่ด้วย (คล้ายๆกับงบการเงิน) ก็จะเห็นว่าปีหนึ่งจะเหลือเท่าไหร่
และจะบริหารให้มีประมิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่ออนาคต เช่น การศึกษาของลูก ฯลฯ
.
แม่ต่าย “รายรับจดได้ไม่ยาก แต่รายจ่ายจดยาก จดได้ไม่นานก็เลิก ทำไงดี?”
- ใช้บัญชีเงินเดือน แยกกับ บัญชีเงินเก็บ เช่น เงินเดือน 50,000 เข้ามา ก็โอน 20,000 ไปที่บช.เงินเก็บก่อนเลย
- จดบันทึกด้วยวิธีจดทุกสิ้นวัน หรือ ใช้การบันทึกจากบัตรเครดิต
- การจดบันทึกจะช่วยให้เห็นว่าเงินไปทางไหนหมด เช่น หมดค่าอาหารไปมาก แต่อยากมีเงินเก็บมากขึ้น ก็จะปรับตัวสู่เป้าหมายได้
- การบันทึก จะช่วยให้ “เปิด/ปิด” การเงินได้โดยไม่ต้องเดา เช่น ถ้าอยากเพิ่มเงินเก็บก็จะรู้ว่าต้องลดส่วนไหน ไม่ต้องเดาว่า “ค่ากาแฟมั๊ง” อีกต่อไป
.
Advance - บัญชีทรัพย์สิน: รวบรวมหุ้น, พันธบัตร, บ้าน, รถ, ทอง ทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่ จะเห็นภาพรวมที่แท้จริง
ถ้ามีหนี้ จะต้องวางแผนปิดหนี้ให้เร็ว เพราะถ้ารายได้ประจำเราเกิดเหตุเปลี่ยนแปลง มันจะลำบาก
เช่น เรื่องบ้าน หลายๆคนจะผ่อนขั้นต่ำ แต่ถ้าเกิดเหตุต้องออกจากงาน จะทำอย่างไร?
เป้าหมายพิเศษ - แผนเกษียณ, พาพ่อแม่เข้าร.พ., ซื้อรถ, ส่งลูกเรียนต่างประเทศ ฯลฯ ถ้าเราเอามาวางแผน เราจะรู้เลยว่าเราสามารถทำได้จริงหรือแค่ได้แต่ฝัน
ลดเป้าหมาย หรือ ลดรายจ่าย - เมื่อรู้แล้วเราห่างจากเป้าหมายแค่ไหนก็จะรู้ได้ว่าอะไรที่เราทำได้ เช่น อยากใช้รถหรูแต่ก็อยากส่งลูกเรียนตปท.ด้วย แต่ พอเช็คแล้ว คงต้องเลือกอย่างเดียว แม้จะลดรายจ่ายแล้วก็ตาม ก็จะรู้ได้ว่าสุขภาพทางการเงินของเราไปได้แค่ไหน
.
สรุป
A ตรวจสุขภาพทางการเงิน รายรับ - รายจ่าย อันไหนมากกว่ากัน
B ดูสินทรัพย์ หนี้สิน
C ป้องกันความเสี่ยง, ดูเป้าหมาย, ปรับตัวสู่เป้าหมาย ให้การเงินมีสมดุลย์ สู่ความสุขของครอบครัว
Comments