top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.224 การบาดเจ็บจากการซ้อมดนตรี​


ต่ายได้มีโอกาสคุยกับ ดร.ขวัญ สมฤดี สุจิตพนิต, Head of Keyboard, Rugby School Thailand ซึ่งคุณขวัญจบ Doctoral of Musical Art in Piano Performance จาก University of Kansas ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ การบาดเจ็บจากการซ้อมดนตรีค่ะ

.

การการบาดเจ็บจากการเล่นดนตรีมีปัจจัยจาก 2 อย่าง คือการใช้งานมากเกินไป และใช้งานไม่ถูกต้องตามสรีระของเรา ทั้งสองอย่างนี้มักจะเกิดในนักเปียโนที่ใช้เวลาซ้อมเยอะ และมีพื้นฐานในการเรียนตั้งแต่แรกที่ไม่ถูกต้องและติดมาเป็นนิสัย ตอนอายุยังน้อยร่างการเราก็ซ่อมแซมได้เร็ว แต่พออายุมากขึ้นร่างการซ่อมแซมได้ช้าลง ก็จะเกิดเป็นปัญหาที่เรื้อรังและมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคนที่แม้ว่าท่าเล่นจะไม่ถูกต้องตามสรีระแต่ไม่ได้ซ้อมติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจจะไม่เกิดปัญหานี้

.

เมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬา นักกีฬาดูจะมีความเข้าใจเรื่องกล้ามเนื้อเรื่องสรีระมากกว่านักดนตรี เพราะนักดนตรีส่วนใหญ่จะถูกสอนให้ไปโฟกัสกับ artistic การถ่ายทอดอารมณ์ มากกว่าการเคลื่อนไหวและสรีระของร่างการที่เหมาะสมกับเพลง ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น มือเล็ก มือใหญ่

.

Alexander technique เป็นเทคนิคที่เป็นการจัดสรีระ ครูจะช่วยปรับสรีระในการเล่นดนตรี รวมทั้งจะมองเห็นด้วยว่าอะไรที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เป็นปัญหาในอนาคต

.

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคือการบาดเจ็บ การที่ซ้อมเปียโนแล้วปวดหลัง ให้ไปดูที่ท่านั่ง ถ้าเรารู้สึกเจ็บให้ฟังร่างกายตัวเอง ร่างกายกำลังเตือนเรา การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องไม่จำเป็นว่าเล่าแล้วต้องรู้สึกทรมานหรือรู้สึกขัด ถ้าร่างกายบอกเราแล้วมามีการเจ็บ ให้เราดูเรื่อง alignment วิธีการเล่น การนั่ง

.

Alignment ต้องเป็นเส้นตรงเพราะจะเป็นธรรมชาติที่สุด เวลาที่เราต้องเคลื่อนไหวไปทางใดทางหนึ่งมาก ๆ ร่างการทุกส่วนต้องเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกัน อาการบาดเจ็บง่าย ๆ มักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อไปคนละทาง เช่น นิ้วนึงไปทางซ้าย นิ้วนึงไปทางขวา กล้ามเนื้อถูกดึงไปคนละทาง เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่ประสานกัน เหมือนเวลาเราเล่นคู่ 8 โดยเฉพาะกับคนมือเล็ก ๆ

.

ถ้ามีบาง passage ที่เล่นแล้วอาจจะบาดเจ็บได้ง่าย เราต้องหาเทคนิคที่จะมา compensate กับสิ่งที่ทำได้ไม่ง่าย การเข้าใจ movement ตามธรรมชาติ จะช่วยให้เราเล่นออกมาได้ดี ไม่ขัดกับความรู้สึก

.

มีนักเปียโนหลายคนที่ต้องมาแก้ไขท่าทางการเล่นเปียโนเพราะได้รับการบาดเจ็บจากการซ้อมแบบเดิม ๆ มาเป็นระยะเวลานาน

.

Dorothy Taubman ดูแลนักเปียโน ช่วยแก้ไขท่าทางการเล่นให้นักเรียนเปียโนและนักเปียโนอาชีพ ได้คิดค้น Taubman approach และมี institute ที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่ที่สหรัฐอเมริกา

.

Principle หลัก ๆ ของ rotation movement ที่เป็นธรรมชาติ ทุกส่วนของร่างกายเคลื่อนไหวไปด้วยกัน ช่วงส่งเสริมให้เกิด movement mสอดคล้องกัน ถ้าข้อมือบิดไปทาง แขนบิดไปทาง ที่ดูขัดๆไม่เป็นธรรมชาติดูไม่ flow ควรจะหลีกเลี่ยงการเข้าใจ alignment ของร่างกาย ของ แขน มือ จะช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น alignment มีแกนเป็นเส้นตรง แขนไม่ควรหักหรือบิดทั้งสองข้าง นักเปียโนแขนก็ไม่ควรจะบิดไปบิดมา ต้องสังเกต tension ถ้าเคลื่อนไหวเกร็ง ไม่สบาย ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวที่ลำบาก

.

มีมากกว่า 50 % ของนักเปียโนอาชีพที่มีการบาดเจ็บเพราะเราใช้ร่างกายแบบเดิมซ้ำ ๆ อย่างเช่นนักกีฬา ถ้าไม่ระมัดระวังกล้ามเนื้อจะบาดเจ็บได้ง่าย แม้แต่นักไวโอลิน ก็จะต้องยืนให้ถูกท่า การเล่นเครื่องที่ไม่ balance อย่างเช่น ไวโอวิน ฟลูต วิโอลา ก็ต้องดูแลเรื่องท่าทางการเล่นที่ถูกต้อง

.

ถ้าจัดท่านั่งถูกตั้งแต่แรกตั้งแต่เริ่มเรียนก็จะไม่เจอปัญหาอาการบาดเจ็บเมื่อเรียนดนตรีไปนาน ๆ สำหรับการเล่นเปียโนสิ่งที่สำคัญคือท่านั่ง น้ำหนักส่วนนึงต้องลงที่เก้าอี้และอีกส่วนหนึ่งน้ำหนักลงที่เท้าให้ balance ถ้าเรานั่งไม่ดี ร่างกายส่วนบนจะถูก effect แล้วก็จะถ่ายทอดไปที่แขนและมือ

.

วิธีป้องกัน ต้องมี awareness กับร่างกายตัวเอง หลายครั้งเราถูกเทรนการเล่นดนตรีมา เล่น เล่นแล้วเมื่อยดีแสดงว่าซ้อมเยอะ หรือเล่นแล้วเจ็บดี ร่างกายบอกว่าซ้อมเยอะ จริง ๆ แล้วมันเป็น warning sign ถ้ารู้ตัวว่าบาดเจ็บ อย่างแรกควรหยุดเพราะถ้าทำซ้ำ ๆ ต่อไปอาการจะยิ่งหนักขึ้น ต้องเชื่อฟังร่างกายต้องหยุดพัก ต้องกลับมา retrain ส่วนมากคนที่จะเจ็บจนทนไม่ไหวมักจะอายุปลาย ๆ 20 เพราะร่างกายจะซ่อมแซมไม่ได้ดีเหมือนตอนเด็ก ๆ แล้ว

.

ถ้าสามารถ identify ได้ว่าเจ็บตรงไหน เพราะอะไร เช่น เวลาเล่นแล้วแขนเกร็ง ก็จะแก้ปัญหาได้มากกว่า แต่การแก้ต้องใช้เวลาเป็นปี เหมือนการ undo habit เพราะเป็นสิ่งที่เราทำมาเป็นปี ต้องใช้ความพยายามและความเข้าใจ เราแก้ด้วยตัวเองยาก ถ้าคนที่ตั้งใจที่จะแก้ก็หายได้

.

การที่เราเล่นดนตรีแบบที่เคลื่อนไหวผิด ๆ จะทำให้เราดึงศักยภาพออกมาได้ไม่เต็มที่ ถ้าเราสามารถแก้ได้ก็จะสามารถเล่นออกมาได้ดีกว่าเดิม

.

ความเชื่อที่เล่นแล้วทรมานคือผิด เล่นแล้วต้อง delicious รู้สึกสบายคือวิธีที่ถูกต้อง

.

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กที่สนใจจะให้ลูกเรียนดนตรี คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว alignment ได้ เพราะลูกซ้อมดนตรีกับเราเยอะกว่าเจอคุณครู ท่าทางที่ดูไม่เป็นธรรมชาติที่ไม่ flow ก็ควรปรับ และควรให้เวลาในการปรับไม่ใช่สามารถปรับได้ทันทีเหมือนเด็กหัดเดินก็ต้องใช้เวลา


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา, #StrengthFinder, #ค้นหาพรสวรรค์, #โค้ชแม่ต่าย, #StrengthCoach, #Gallup, #CoachTai

Comments


bottom of page