ต่ายได้มีโอกาสไปเข้าคลาส Music Therapy กับ คุณ Stephan Kühne และ ครูมัย ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก ซึ่งเป็นดนตรีบำบัดแนวมนุษยปรัชญาซึ่งใช้หลักการของ Rudolf Steiner เลยอยากจะมาแชร์ my reflection ค่ะ
.
ขอเล่าก่อนนะคะว่า Music Therapy ช่วยอะไรได้บ้าง แน่นอนว่าดนตรีช่วยให้เราคลายเครียดได้ นอกจากนั้นมีการใช้ดนตรีเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยระยะก่อนสุดท้าย การบำบัดอาจจะเป็นกลุ่ม หรือ private นอกจากนี้ยังมีการบำบัดในผู้ป่วยซึมเศร้า และเด็ก ๆ ที่มีภาวะ autism
.
ครู Stephan ถามว่า Where do I live? คำถามง่าย ๆ ที่คนส่วนมากคิดว่ารู้คำตอบแล้ว เช่น ฉันก็อยู่นี่ไง ฉันอยู่เมืองไทย แต่คุณครูชวนคิดว่า I live in my body ซึ่งทำให้ต่ายได้ “รับฟัง” ร่างกายของตัวเองเป็นครั้งแรกซึ่งแตกต่างออกไปจากความรู้สึกที่ผ่านมา ไม่ใช่สมาธิซะทีเดียว ไม่ใช่หูเท่านั้นที่ทำงาน สมองก็ยังทำงานไปตามสภาพใจ ..แต่พอ “ฟัง” เป็นแล้ว ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
.
ความรู้สึกนี้ดั่งเหมือนวินาทีที่เปิดประตูไปยังห้องที่คุ้นเคยแต่จากไปนาน กลิ่นในอากาศที่ลอยเข้าทางลมหายใจอันละเอียด ขนทุกเส้นตื่นรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย น้ำลายที่กลืนลงคอไปอย่างคุ้นเคยก็กลับแตกต่างออกไป ฉันจึงได้ “เห็น” ผ่านการ “ฟัง”
.
เมื่อได้ฟังร่างกายแล้ว จึงได้ทราบว่าในความไม่นิ่งของอนิจจังนั้น ร่างกายและวิญญานของเรา เพียรหาความสมดุลอยู่เสมอ
.
ความสมดุลนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน แต่ต่างกันไปในแต่ละคน เหมือนอาหารจานเดียวกัน คนหนึ่งว่าหวาน คนหนึ่งว่าจืด เราจึงไม่สามารถเอาเกณฑ์ของเราไปวัดผู้อื่นได้ ควรร่วมกันหาทางกลับสู่สมดุลด้วยตัวผู้รับการบำบัดเอง
.
ในจุดสมดุลของแต่ละเรื่องนั้น สร้างมาจากแรงดึงสู่ด้านดี vs ด้านไม่ดี ตัวอย่างที่คุ้นเคยกันดีคือ Stress management, คนเรามีทุกข์ มีเครียด มีอารมณ์ติดลบแบบนี้อยู่เสมอ แล้วแต่ละคนจัดการกับมันอย่างไร?
.
จากตารางในรูปประกอบ จะเห็นได้ว่า ความพยายามที่จะทำสมการชีวิตให้เข้าที่นั้นมีอยู่ในทุกข์คน แต่มีไม่มากนักที่จะเข้าใจตัวตนที่เป็นอยู่ในขณะนั้นได้จริงๆ
.
ดนตรีบำบัด จึงต้องเริ่มต้นจาก”ฟัง”ตัวเองให้ได้ก่อน แล้วจึงนำไปสู่การฟังผู้อื่น และ การฟังกันและกัน ค่ะ
Comments