หนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดว่ารวม ๆ แล้วคนเราไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลทุกครั้ง และอารมณ์ก็มีผลต่อการตัดสินใจของเรา ขอยกบทนึงในหนังสือเล่มนี้ว่านักวิจัยค้นพบว่าอารมณ์ต่าง ๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมเราอย่างไร . #อารมณ์เศร้า เวลาคนเราเศร้าเรามักจะไม่สนใจคนอื่นจะสนใจแต่จะหาวิธีให้ตัวเองหายเศร้า นักวิจัยทางด้านพฤติกรรมการเงินพบว่า ในการซื้อขายหุ้นในตอนที่เรามีอารมณ์เศร้า เรามักจะซื้อแพงขายถูก เพราะเราอยากหาทางออก อยากเปลี่ยนจุดที่ตัวเองอยู่ไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม . #ความรู้สึกขยะแขยง ส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องความผิดชอบชั่วดี โดยรวมแล้วทำให้เราอยากล้าง เราจึงมักขายหุ้นถูก แต่ไม่ซื้อหุ้นใหม่เข้ามา . #อารมณ์โกรธ ทำให้คนยอมเสี่ยงในเรื่องที่ปกติแล้วไม่กล้า คนที่มีอารมณ์โกรธเยอะ ๆ มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพและการงาน และมักจะเสี่ยงในเรื่องที่ไม่ควรเสี่ยง เช่น ขับรถฝ่าไฟแดง กินอาหารไม่ดี ไม่ออกกำลัง . #อารมณ์เบื่อ ทำให้ความเข้าใจด้านเวลาเปลี่ยนไป เมื่อเราเบื่อมาก ๆ เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า แต่ความเบื่อก็ช่วยให้เรามองหาสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เรามองหาเป้าหมายใหม่ ๆ . #ความเครียด คนที่กำลังเครียดมักไม่มีที่ว่างในสมองให้คิดอย่างอื่นนอกจากสิ่งที่กำลังเครียด ทำให้ความสามารถในการควบคุมตัวเองลดลงหรือหมดไป เวลาเครียดมาก ๆ เราจึงอยากกินของอร่อย ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว และยังมีงานวิจัยพบว่า ความเครียดที่เกิดจากความจนมีส่วนลดระดับไอคิวของคนเรา สรุปคือการตัดสินใจที่มีผลระยะยาวของคนที่เครียดจะด้อยกว่าคนที่ไม่เครียด . มีอีกคำที่อยากหยิบมาพูดคุยคือ empathy gap คือ ช่องว่างในใจเราวันนี้และใจเราในวันข้างหน้า มี 2 ประเภท คือ 1. cold-hot empathy gap (เย็นไปร้อน) คนที่อยู่ในสภาวะ ‘อารมณ์เย็น’ คือไม่มีความรู้สึกอยาก โกรธ หรือขยะแขยง จะจินตนาการถึงสภาวะ ‘อารมณ์ร้อน’ ยาก เช่น ตอนเราอิ่มอยู่เราก็นึกถึงความรู้สึกหิวไม่ออก 2. hot-cold empathy gap (ร้อนไปเย็น) คนที่อยู่ในสภาวะ ‘อารมณ์ร้อน’ มักไม่ได้คิดว่าตัวเองอยู่ในสภาวะอารมณ์ร้อน และจะประเมินผลกระทบจากอารมณ์ของตัวเองต่ำเกินไป อย่างเช่นคนที่โกรธหรือเมา ถ้าเรารู้ตัวว่ากำลังอารมณ์ร้อนให้ระวังการกระทำของเราที่อาจทำอะไรไปโดยที่เราจะเสียใจในภายหลัง
อารมณ์ส่งผลต่อการกระทำของเรานะคะ เราลองฝึกสังเกตอารมณ์ของเราให้รู้เท่าทันอารมณ์ของเรานะคะ ถ้าเราต้องตัดสินใจภายใต้อารมณ์ใด ๆ เราจะได้ทราบว่าอารมณ์มีผลกับการตัดสินใจนะคะ
Comments