top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.206 ดนตรีของเด็กกับชีวิตของผู้ใหญ่ สรุปจาก clubhouse Ep.3..



Clubhouse Ep.3 นี้ ชวนเพื่อน ๆ ที่เคยเรียนดนตรีตอนเด็ก ๆ มาพูดคุยกันค่ะ ซึ่งทุกคนตอนนี้ก็ยังมีดนตรีอยู่ในชีวิต เรามาดูกันนะคะว่าเด็กที่เล่นดนตรี โตขึ้นมาแล้วเป็นยังไงกัน

.

วันนี้ต่ายเชิญเพื่อมัธยมและเพื่อนมหาวิทยาลัยมาพูดคุยกันค่ะ มีคุณหมอที่ตอนนี้มีโรงเรียนสอนดนตรีและก็เป็นครูสอนเปียโน มีเพื่อนที่จบวิศวะ ตอนนี้เป็น co-founder บริษัทฟังใจซึ่งเป็นบริษัท music platform, community และ media และมีเพื่อนที่จบเศรษฐศาสตร์ เป็นมือคีย์บอร์ดในวงฉ่ำฉ่ำ เป็น YouTuber เปียโน และเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในธนาคาร

.

แต่ละคนก็เริ่มต้นเรียนดนตรีจากการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ บางคนก็ชอบดนตรีตั้งแต่ได้เรียน บางคนในระหว่างที่เรียนคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องช่วยผลักดันในบางช่วงที่เรียน

.

มาดูกันว่า อะไรในดนตรีที่ทำให้ดนตรียังอยู่ในชีวิต อะไรทำให้แต่ละคนยังเล่นดนตรีอยู่นะคะ เริ่มจากดนตรีเป็นเครื่องระบายความเครียด เครื่องระบายความสร้างสรรค์ การเล่นดนตรีทำให้มีความภาคภูมิใจ เช่นในมีเวลาที่ได้อัดงานมาเป็นชิ้น ได้สื่อสารผ่านการเล่นให้คนฟัง ช่วยสร้าง self esteem ช่วยให้ได้รับการยอมรับจากคนอื่น เวลามีคนมาดูเยอะ ๆ โลก online ช่วยให้เราได้แชร์ผลงาน เวลามีคนมาไลค์ แชร์ รู้สึกมีคุณค่าช่วยเติมเต็มชีวิต การเล่นคนตรีคือการได้ทำในสิ่งที่ชอบเล่นแล้วมีความสุข อะไรที่ชอบก็จะอยู่กับเราไปตลอด ทำให้เราเห็นคุณค่าในสิ่งที่ชอบทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะทำแล้วได้เงินไม่ได้เงิน จริง ๆ แล้ว ทุกคนมีดนตรีอยู่ในตัวเอง ทุกคนมีเพลงที่ชอบ ทุกคนฟังและร้องเพลง

.

การที่ได้มาเป็นครู นอกจากเราจะเป็นผู้ให้เราได้สอน เราก็ได้เรียนรู้จากนักเรียนด้วยได้ปรับวิธีการสอนให้เข้ากับแต่และคน ได้เห็นการเติบโตของนักเรียน ได้ฝึกความอดทน ให้โอกาสลูกศิษย์ ถ้านักเรียนเรียนแล้วไม่ซ้อมไม่ก้าวหน้า เราควรอดทนไม่ไปตัดโอกาสเค้า เราควรให้เวลาให้เค้าได้อยู่กับดนตรีนานขึ้น ขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครู นักเรียน ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน

.

คำแนะนำให้ผู้ปกครองสำหรับคนที่อยากให้ลูกมีดนตรีในชีวิต ผู้ปกครองบางท่านอาจจะคาดหวังตั้งเกณฑ์ให้ลูก ซึ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่มีเป้าหมาย แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นการกดดัน คำแนะนำคือเด็กทำตามการกระทำของพ่อแม่ พ่อแม่ควรทำกิจกรรมดนตรีกับพ่อแม่ ฟังเพลง พาไปดู concert เล่นดนตรีกับลูก พ่อแม่มีอะไร involve กับดนตรี เพราะลูกเห็นพ่อแม่เป็น role model หรือง่าย ๆ ก็คือขอให้มีเสียงเพลงในบ้าน เปิดเพลงในบ้าน ถ้าพ่อแม่เล่นดนตรีได้ก็เล่นให้ลูกฟัง ที่สำคัญคือไม่ควรบังคับ และอย่าเอา preference เราเป็นตัวครอบ เช่นเพลงสมัยนี้ไม่ดีเลยจะทำให้เด็ก anti เพลงที่ไม่ชอบ เปิดเพลงให้หลากหลาย ไม่มีเพลงที่ดีไม่ดี มีแต่เพลงที่ชอบไม่ชอบ

.

ให้เด็กได้ลองเล่นดนตรีในมุมที่เค้าชอบไม่ใช่ในมุมที่พ่อแม่ชอบ ถ้าลูกเรียนดนตรีแล้วไม่ชอบ อาจจะลองค้นหาความต้องการ ลองเปลี่ยนเครื่องดนตรี ยอมรับตัวตนว่าลูกชอบอะไร เปิดใจให้ลูกได้ทำตามที่ชอบ ส่งเสริม มิติการเป็นนักดนตรีในสมัยยุคพวกเราเด็ก ๆ แคบ อาชีพที่พ่อแม่เห็นว่าทำได้คือออกอัลบั้มกับไปเล่นตามร้าน อาชีพ สมัยนี้คนที่เล่นดนตรีเก่ง ๆ เป็น YouTuber, cover ในการร้องเพลงและเครื่องดนตรี สามารถทำรายได้ได้ ทุกคนเห็นตรงกันว่าการจะอยู่รอดได้ต้องทำงานบนสิ่งที่มี passion เราจะทำได้ดี แล้ว return จะกลับมาเอง

.

บางครั้งการยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ถ้าเด็กมีความชอบถึงคุณพ่อคุณแม่ห้ามเด็กก็จะหาวิธีทำในสิ่งที่ตนเองชอบ บางบ้านที่ไม่ได้ส่งเสริมด้านดนตรี เด็ก ๆ ก็แอบฟังดนตรี แอบไปเล่นดนตรีที่อื่นอยู่ดี อยากให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตความชอบของลูก ถ้าลูกไม่ได้ชอบสิ่งที่ผิดอะไรอย่างเช่นการเสพยาเสพติดหรือไปแว้นก็อยากให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจและสนับสนุน

.

ยุคปัจจุบัน โลกเปิดกว้างไร้พรมแดน หาข้อมูลได้ง่าย มีแหล่งให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่บางทีทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันจะไม่ focus เบื่อง่าย จะเลิกง่าย บางที passion มาทีหลัง เราฝึกจนมี skill เป็น craft man แล้ว passion มาทีหลังแล้วต่อยอดขึ้นไป เราต้องอยู่กับมันจนมากพอแล้ว passion ก็จะตามมา

.

ขอแนะนำการเริ่มเรียนดนตรีด้วยอิเล็คโทน ลูกจะได้รู้จักเสียงของเครื่องดนตรีเกือบทุกเครื่อง การเล่นใช้มีขวาเล่น melody มือซ้ายเล่นคอร์ด เท้าซ้ายเล่นเบส เท้าขวาควบคุมเสียงดังเบา และยังสามารถเปิดเสียงกลองเป็นจังหวะได้ เหมือนเราเล่นเป็นวงดนตรีได้ในคนเดียว การเล่นอิเล็คโทนจะช่วยให้เราฝึก skill ในการเล่นเป็นวงได้เป็นอย่างดี

.

เราควรเริ่มต้นด้วยการดูแววก่อนว่าสนใจไหม ให้ลองส่งไปเรียนดูก่อน ไม่ควรบังคับ เพราะจะไม่มีความสุขและทำออกมาได้ไม่ดี สังเกตลูก ดูแววของลูกมีแววทางไหนดนตรีหรือกีฬาหรือศิลปะก็แล้วแต่ลูก ถ้าอยากให้ลูกเรียนดนตรีเองโดยไม่บังคับให้ช่วยสร้างบรรยากาศดนตรีภายในบ้าน และอยากให้พ่อแม่คิดว่าให้ลูกเรียนดนตรีไปทำไม

.

มีความพยายามผลักดันให้อาชีพดนตรีอิสระเป็นอาชีพที่มั่นคง ด้วยการส่งเสริม eco system การสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน ถ้าเรียนแล้วอยากให้จริงจังเป็นอาชีพ หนทางที่เป็นนักดนตรีอาชีพไม่ง่าย แต่ก็สามารถนำดนตรีมาประกอบอาชีพ ทำการตลาด เข้าใจกลุ่มแฟนเพลง จิตวิทยาผู้บริโภค เข้าใจระบบ distribution, licensing ให้เข้าใจลูกว่าเค้าต้องการอะไรจากดนตรี เป็นงานอดิเรกหรือให้เป็นอาชีพ

Career path ทางด้านดนตรี ผู้ปกครองไม่ควรตั้งความหวังเพราะจะกดดัน ถ้าอยากเล่นเครื่องไรก็สนับสนุน และก็พ่อแม่ต้องติดตามด้วยว่าวันนี้ลูกเรียนไรไป จะได้ช่วยสนับสนุนและให้มีส่วนร่วม การช่วยคุณครูก็ช่วยให้ลูกมีพลังให้รู้สึกว่ามีคุณค่า อาชีพดนตรี ทำได้หลายอย่าง อาชีพอื่น sound engineer ทำงานใน studio ผลิตเพลง, เป็นนักนิติวิทยาศาสตร์ ช่วยแก้ไขไฟล์เสียงที่ไม่ชัดให้ตำรวจช่วยจับคนร้ายได้, อัดเสียงเครื่องบินเจ็ตทำ simulation, acoustic ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของห้อง บ้าน concert hall, จิตวิทยา+ดนตรี = music therapist, teacher, performer, composer เพลง orchestra, เพลงภาพยนต์, ทำเพลงโฆษณา เพลงละคร รายได้ดี แกะเพลงขาย มีหลากหลายอาชีพที่ใช้ดนตรีโดยตรงและเดียวข้องกับดนตรีค่ะ

.

สิ่งที่ speaker ทุกคนอยากฝากไว้คือ อยากให้รัฐบาลสนับสนุนเหมือนเกาหลีที่ทำให้ K pop เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และอีกประเด็นคือ AI จะมาทำงานแทนคนโดยเฉพาะในงานที่ทำซ้ำ ๆ แต่งานสายดนตรี ศิลปะ คงใช้เวลาอีกนานกว่า AI จะมาทำแทนคนได้ค่ะ สำหรับชีวิตทางการเงินถ้าคุณพ่อคุณแม่ห่วงว่าลูกจะลำบากไหม อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองกล้าที่จะให้น้อง ๆ ไปเผชิญชีวิต เพราะเราไม่สามารถปกป้องลูกไปได้ตลอด สำหรับแนวโน้มในวงการดนตรีก็โตขึ้นเรื่อย ๆ หนทางทำเงินได้ก็มากขึ้น และยังมีช่องทางใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ

.

พบกันใหม่ Ep หน้านะคะ #เลี้ยงลูกเล่นดนตรี



#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

Comments


bottom of page