ความอดทน เป็นทักษะที่กำลังหายไปค่ะ เพราะทักษะนี้ไม่ได้รับการฝึก และ กลายเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ใช่แล้วค่ะ เพราะปัจจุบันความสะดวกสบายที่มากขึ้น ทำให้ “ความอดทน” กลายเป็นทักษะที่ ไม่ต้องใช้
.
ต่อเนื่องจาก Ep. 201 ที่ว่าด้วยเรื่องโอกาสที่ได้มาเพราะความ “อดทน” วันนี้ต่ายจะขอคุยต่อเรื่องวิชา “อดทน” ค่ะ
(Link Ep. ที่แล้วอยู่ในคอมเมนท์นะคะ ฝากแชร์คนละนิดเพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ)
.
เมื่อเปรียบเทียบชีวิตวัยเด็กของเรากับของลูกในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า “ความลำบาก” ที่เป็นบ่อเกิดของ “ความอดทน” นั้นน้อยลงอย่างมาก ทำให้ลูกๆของเรา ไม่ได้ฝึก ความอดทน แบบ On the job training เหมือนเราสมัยก่อน และ ยังทำให้ความสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาลดลงไปอีกด้วย เช่น เมื่อก่อน
อากาศร้อน = อาบน้ำ, ทาแป้งเย็น, ตากพัดลม, หรือ อดทน VS ปัจจุบัน = เปิดแอร์, ไปห้าง
หิวตอนดึกๆ = จ่ายตลาด, ทำกับข้าว, อุ่นกับข้าว VS ปัจจุบัน = ไป 7-11, กดแอพสั่งอาหาร
.
เพราะธุรกิจในปัจจุบันมักเริ่มจากการแก้ Pain point ในอดีต ซึ่งความเจ็บปวดนี้ก็เป็นเพื่อนกับความลำบากนั่นเองค่ะ
เหมือนที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่า “No pain, No gain” “If it doesn’t kill you, it’s gonna make you stronger” นั่นเองค่ะ
.
.
ทีนี้ลูกเราจะเป็นยังไง? เพราะเขาเกิดมาในยุคที่แทบจะหาความ Pain ไม่ได้เลย เพราะส่วนหนึ่งผู้ใหญ่ก็แก้ไขไปหมดแล้ว เราจึงต้องสร้าง Pain ที่เหมาะสมให้ลูกเราค่ะ (ไม่ได้ให้ตีลูกนะคะ)
.
ถ้าลองมองเรื่องนี้แบบการออกกำลังกาย ทุกครั้งที่เราออกแรงมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อ, สมองของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง กล้ามเนื้อจะฉีกขาดในแบบที่เรารับ “ความเจ็บปวด” นั้นได้
แน่นอนค่ะ เช้าวันรุ่งขึ้นเราอาจจะนอนมากขึ้น, เดินท่าแปลกๆมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีอาการนี้ก็แสดงว่ายังออกกำลังอยู่ใน Comfort zone ค่ะ
.
เช่นเดียวกับการฝึกดนตรี ด้วยเพลง, เทคนิคที่ยากขึ้น หรือ การเรียนที่ยากขึ้นและการฝึกด้วยการบ้านที่ยากขึ้น
ลูกของเราก็ต้องการ “การฝึก” ความอดทนเช่นนี้เหมือนกันค่ะ
.
เพราะว่าเมล็ดความอดทนนี้จะงอกงามและแข็งแกร่ง ผ่านลมฝนของชีวิตได้ ต้องใช้เวลาอย่างยิ่งค่ะ
.
ซึ่ง Resilience Skill = ความอดทนทาง “จิตใจ” นั้นจะมีรายละเอียดลึกและฝึกยากกว่านี้อีกค่ะ
.
ดังนั้นเราควรให้ลูกเราได้พบกับ “ความเจ็บปวด” ที่ “จำเป็น” และจะยิ่งดี ถ้าเขาเลือกเส้นทางของเขาได้ด้วยตัวเอง โดยมีเรา “ป้องกัน” แต่ไม่ปกป้อง และ ให้เขาได้เจ็บเอง ล้มเอง และยืนได้เองค่ะ
.
หากสนใจเรื่องการฝึก “Resilience” ทางจิตใจ ฝากคอมเมนท์ไว้ได้นะคะว่าเพื่อนๆฝึกลูกอย่างไร ต่ายจะมาช่วยตอบแน่นอนค่ะ
.
หากถูกใจกันฝากกดแชร์, Like, คอมเมนต์ไว้ด้วยนะคะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี
コメント