สรุปฉบับเต็มมาแล้วนะคะ Clubhouse คราวนี้ต่ายชวนผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่เรียนดนตรีมาคุยกันค่ะ มีตั้งแต่คนที่ลูกเรียนปริญญาทางด้านดนตรีที่ยุโรป ลูกที่เรียน pre-college ด้านดนตรี และอดีตคุณครูสอนเปียโนที่สอนเปียโนลูกตัวเอง ลูกระดับประถมที่กำลังเรียนดนตรีค่ะ
.
สำหรับการเริ่มต้นในการเรียนดนตรีโดยมากจะเริ่มจากการที่อยากให้ลูกมีกิจกรรมนอกห้องเรียน ซึ่งเด็กสมัยนี้ก็จะมีกิจกรรม เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เรียนดนตรีเพื่อให้ผ่อนคลายจากการเรียนที่เครียดให้ห้องเรียน รวมทั้งการเล่นดนตรีช่วยเป็นเครื่องมือ emotional release โดยเฉพาะเวลาที่เรามีอารมณ์ลบ เช่น เศร้า เสียใจ หรือโกรธ การเล่นดนตรียังช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล่น เพื่อ balance กับการเล่นกีฬาที่ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ผู้ปกครองบางคนเห็นว่าเล่นดนตรีสามารถฝึกวินัย ฝึก EF (Executive Functions) ให้ลูก และยังทำให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ไปติดเกมส์หรือติด social media และถ้าเด็ก ๆ เอาจริงเอาจังก็สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ในอนาคต และนอกจากนี้การเรียนดนตรียังทำให้ลูกเป็นคนละเอียดและมีสุนทรียะ ซึ่งถ้าลูกอยากเรียนดนตรีแล้วก็แนะนำให้ไปทดลองเรียนดูก่อนค่ะ และผู้ปกครองก็ควรสนับสนุนด้วยการจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับการเรียนดนตรีค่ะ
.
สำหรับผู้ปกครองที่ไม่ได้เล่นดนตรี คุณครูสอนดนตรีก็มีความสำคัญ ในการทำให้เด็กรักและอยากเล่นดนตรี รวมทั้งช่วยให้เด็ก explore ความเป็นไปได้อื่น ๆ มี คุณแม่ที่ลูกเริ่มจากเรียนเปียโน และก็อยากลองเปลี่ยนเครื่องดนตรี ก็ได้คุณครูสอนดนตรีช่วย explore ว่าอยากเล่นเครื่องอะไรจนน้องได้มาเล่นแซกโซโฟนและฝึกฝนจนใช้แซกฯสอบเข้า pre-college ดนตรี
.
ตอนที่ลูกจะตัดสินใจว่าจะเรียนดนตรีจริงจังและจะทำเป็นอาชีพ คุณพ่อคุณแม่มีส่วนสำคัญมาก ๆ ในการที่อยู่ข้างลูก สนับสนุนให้ลูกค้นหาตัวเองให้เจอ หา passion ช่วยลูก confirm ว่าเค้าแน่ใจในสิ่งที่เค้าตัดสินใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ใน panel ก็จะให้เกียรติ รับฟัง และเคารพการตัดสินใจของลูก เมื่อลูกเจอ passion และช่วยสนับสนุนลูกเต็มที่
.
การเรียนดนตรีใช้เวลานาน จะมีช่วงที่ลูกท้อไม่อยากเรียนแล้ว ช่วงที่เจอบทเรียนที่ยากมาก ๆ พ่อแม่ก็มีหน้าที่อยู่เคียงข้างลูก บางครั้งก็มีจุดที่ต้องบังคับถ้าเราเห็นว่าสิ่งนั้นจะดีกับลูกเรา โดยอธิบายให้ลูกเข้าใน แต่ที่สำคัญต้องไม่ปล่อยให้เค้าเผชิญกับมันคนเดียวเราต้องอยู่ข้าง ๆ คอยประคองเค้าไปค่ะ และบางจังหวะอาจจะเป็นช่วงที่เรา push ไม่ได้ เราก็เรียนรู้ที่จะหยุดและรอ เรา push เค้าไม่ได้ตลอดเวลา แล้วเค้าก็จะผ่านไปได้ ซึ่งบางครั้งคนที่ช่วยให้เค้าผ่านมันไปก็อาจจะไม่ใช่เรา แต่ก็อาจจะเป็นคุณครูค่ะ ตรงนี้ต่ายมองว่าผู้ปกครองและคุณครูต้องเป็น partner กันในการสนับสนุนการเรียนของลูกค่ะ ทั้งให้กำลังใจและ push ตามสถานการณ์ค่ะ
.
เรายังคุยกันถึงการเรียนดนตรีซึ่งตามระบบการสอบเราต้องเรียนเพลงให้ครบทุกยุค ทั้งที่จริง ๆ แล้ว พอเราเป็นนักดนตรีที่แสดงจริง ๆ (performer) ก็มักจะมีแนวเพลงไม่กี่แนวที่เป็น signature ของตัวเอง ซึ่งในประเด็นนี้เราได้คุยกันว่าการที่หลักสูตรบังคับให้เรียนแนวเพลงที่หลากหลายก็เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ที่ประสบการณ์น้อยได้ลองให้ครบทุกแนวเพื่อหาแนวที่ตัวเองถนัดจริง ๆ ซึ่งถ้าเรียนจนแน่ใจแล้วว่าเราอยากเป็นอะไร เช่นถ้าจะเป็น performer ก็สามารถพัฒนาไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ขณะที่ถ้าจะมาสายคุณครู (pedagogy) อาจจะมุ่งเน้นในการเรียนต่างไป
.
เด็กปัจจุบันซึมเศร้ามาก ประคบประหงมเกิน พ่อแม่รังแกฉัน ไม่รู้จักคำว่าล้มเหลว สิ่งหนึ่งที่เห็นเป็น common ในเด็ก ๆ ที่เรียนดนตรีคือ resilience เด็กที่เล่นดนตรี ฮึด ยืดหยุ่นกับความล้มเหลว ความผิดหวัง ความท้อแท้ กับเส้นทางที่ตัวเองเลือก พ่อแม่มีหน้าที่รดน้ำต้นไม้ แล้วต้นไม้จะโตเมื่อไร เรา support ลูกเต็มที่ ส่วนลูกจะไปทางไหนก็แล้วแต่ลูก การเรียนก็ต้องมีความลำบาก ชื่นชมลูกที่ความพยายามความขยันความอดทน ไม่ได้ชมลูกว่าเก่ง
.
ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการเรียนดนตรีคือ สมาธิดี เด็กผ่านการ frustrate ในหลายอย่าง การเรียนดนตรีไม่ได้ smooth เสมอ โดยเฉพาะเด็กที่ได้เล่นร่วมกันคนอื่นเช่น ensemble หรือ orchestra เวลาซ้อมเจอคนที่ไม่ยอมซ้อมมา เป็นการฝึกจิตใจ เหมือนเวลาทำงานก็จะมีคนไม่อยากทำงาน ไม่ยอมทำงานกลุ่ม เด็กที่ไม่ได้เล่นดนตรีจะไม่มี experience แบบนี้ คนที่รับผิดชอบจะมี maturity
.
อาชีพสำหรับคนที่จบดนตรีก็มีหลากหลายทำได้หลายอาชีพเช่น นักดนตรี performer, composer, ซ่อมและทำเครื่องดนตรี, music engineer, music therapy และอาชีพอื่น ๆ อีกที่อาจจะเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี
.
สำหรับ key take away ของครั้งนี้ ให้ผู้ปกครองลองสังเกตลูกดูว่าลูกชอบอะไร อยากให้ลูกมีเวลาหาตัวเอง อย่าให้เรียนพิเศษจนไม่มีเวลาหาตัวเอง ถ้าลูกเราหาเจอแล้วก็สนับสนุนเค้าเต็มที่ค่ะ จะเป็นดนตรีหรือไม่ก็ไม่สำคัญค่ะ
Comments