วันนี้มีข่าวเศร้าจากรั้วโรงเรียนมากระทบใจต่ายค่ะ ทั้งเรื่องที่เด็กบาดเจ็บหรือกระทั่งเสียชีวิตแต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ในหัวใจพ่อแม่ เรื่องลูกก็สำคัญเสมอ
.
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา หลาย ๆ ครั้งเราอาจจะคิดว่า "รู้งี้.." หรือ "ไม่น่าเลย.. น่าจะ" บางครั้งเราก็จ่ายค่าบทเรียนกันเล็กน้อย แต่บางครั้งบทเรียนก็แพงเกินกว่าจะรับไหว
.
แล้วจะทำอย่างไรให้ลูกเรา "กล้าที่จะปฏิเสธ"
วันนี้ต่ายจะมาชวนคุยเรื่อง "Child Refusal skills" ค่ะ
.
Step 1 ช่วงวัยเยาว์
ขั้นแรกเลยที่เด็กจะเริ่มเรียนรู้ทักษะนี้ได้ เริ่มจาก การสื่อสารที่ดีในครอบครัวค่ะ เริ่มจาก
- การฝึกให้แสดงความคิดเห็นด้วย คำถามปลายเปิด
- การไม่ปิดกั้นจิตนาการ, ชี้ผิดถูกทันทีด้วยประสบการณ์ของพ่อแม่
.
เมื่อเด็กสามารถพูดในสิ่งที่เขาคิดและได้รับการฟังอย่างใส่ใจ เด็กจะสร้าง Self-esteem ที่ดีขึ้นมาค่ะ
.
Step 2 Self-esteem คุณค่าของตัวเอง
เมื่อเด็กมี Self-esteem ที่ดีพอ ลูกเราจะรู้ที่จะรักตัวเอง และมีแนวโน้มที่ลูกจะเลือกทำในสิ่งที่ดี ลูกจะไม่ทำในสิ่งที่ทำร้ายตัวเอง หรือสร้างความ "รักดี" ให้ตัวเองค่ะ
.
แต่ถ้าลูกไม่มี Self-esteem ที่ดีพอ หรือ ไม่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจะทำอย่างไร? Step ต่อไปช่วยได้ค่ะ
.
Step 3 Effective communication ปฏิเสธอย่างไรให้ได้ผล
ไม่ว่าลูกจะผ่าน 2 สเตปแรกมาอย่างไร ณ เวลานี้คือการนำไปใช้แล้วค่ะ เมื่อลูกเผชิญกับสถานการณ์ที่จะต้องตัดสินใจ "เพื่อตัวเอง ด้วยตัวเอง" ลูกจะต้องพูด, แสดงออก อย่างไรให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งอาจชี้เป็นตายร้ายดีให้ชีวิตลูก ก็อยู่ตรงนี้ค่ะ เช่น
ลูกว่ายน้ำไม่เป็น, ไม่แข็ง แต่ถูกบังคับ, กลั่นแกล้ง ให้ลงน้ำลึก 3 เมตร - จะพูดอย่างไร?
.
ลูกถูกเพื่อนชักชวนให้ทดลองยาเสพติด - จะปฏิเสธอย่างไร?
.
Child Refusal skills แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคำตอบค่ะ
1. สร้างเหตุผล
- ไม่ ฉันไม่ชอบ แค่เห็นก็แย่แล้ว
- ไม่ นัด...ไว้ ต้องไปก่อน
- ไม่ นี่มันอันตราย
2. ชี้ความอันตราย
- นี่มันถึงตายได้นะ
- อยากทำร้ายตัวเองก็เชิญ ฉันไปหล่ะ
- ในข่าวมีคนตายด้วยเหตุนี้นะ
3. บอกตรงๆ
- ไม่ ฉันจะไม่ทำสิ่งนี้
- ไม่ คุณบังคับฉันไม่ได้
- ไม่ ครอบครัวฉันจะเสียใจหากฉันทำสิ่งนี้
*** และเมื่อปฏิเสธแล้ว ลูกจะต้องออกจากสถานการณ์นั้น ทันที!
หากยังไม่ได้ผล ลูกต้องร้องขอความช่วยเหลือ หรือ ไปอยู่ในที่คนอยู่มากและหาความช่วยเหลือ
.
ต่ายเห็นว่าการปฏิเสธเป็นพลังของคำพูดที่ต้องเสริมด้วยการกระทำค่ะ หากพูดแล้ว ก็ยังนับว่าอันตรายค่ะ
.
ดังนั้น ก่อนที่ลูกจะต้องออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรฝึก "บทบาทสมมุติ" ค่ะ เริ่มได้ตั้งแต่อนุบาล จนถึง วัยรุ่นเลย
.
การฝึกบทบาทสมมุติ จะช่วยพัฒนา ทักษะทั้ง 3 สเต็ป ได้เป็นอย่างดี และ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกของเราที่เขาจะต้องเผชิญค่ะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี
Comments