ต่อจาก Ep ที่แล้วที่คุยกันเรื่องประโยชน์ของการเล่นดนตรีและจะเริ่มต้นเรียนดนตรีกันอย่างไรนะคะ วันนี้มาคุยต่อถึงการเลือกเครื่องดนตรี การเลือกครู และอื่น ๆ ค่ะ
.
#เลือกเครื่องอะไรดี ขอตอบนสองเครื่องที่ต่ายมีประสบการณ์ตรงนะคะ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มี range เสียงกว้างลูกเราจะได้ยินทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำ ได้ใช้มือสองข้างและเท้าด้วย สามารถเล่นโน้ตได้เป็นสิบตัวพร้อมกัน และเราต้องอ่านโน้ตทั้งกุญแจซอลและกุญแจฟา และคนที่เรียนเอกดนตรีในหมาวิทยาลัยจะต้องเรียนเปียโนเป็นวิชาบังคับ สำหรับไวโอลินข้อดีคือเราจะต้องฝึกฟัง เปียโนเป็นเครื่องที่นักเปียโนไม่ได้จูนเอง ในขณะที่เครื่องอื่น ๆ ส่วนมากแล้วต้องจูนเสียงเองก่อนเล่น สำหรับเครื่องเป่าอาจจะต้องเริ่มเมื่อโตซักหน่อยประมาณประถมนะคะ เครื่องเป่าใช้ลมในการเป่าเยอะและก็ช่วยให้เราฝึกปอดค่ะ อีกทางเลือกนึงคือ percussion อย่างเช่นกลองค่ะ ซึ่งการเรียนดนตรีก็อาจจะไม่ได้เรียนเพียงเครื่องเดียวค่ะ มีนักดนตรีหลายคนที่เล่นเครื่องที่สอง
.
#การซ้อม คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยจัดบรรยากาศการซ้อมในบ้านหาห้องที่เงียบเพื่อให้เด็กมีสมาธิในการซ้อม ช่วยจัดการซ้อมดนตรีให้เป็นจังหวะของชีวิต เหมือน routine อื่น ๆ เช่น กลับบ้าน ทำการบ้าน จัดกระเป๋า ทานข้าว ซ้อมดนตรี ให้เป็น routine เหมือนเดิมทุกวัน และการซ้อมดนตรี #ต้องซ้อมทุกวัน สำหรับเด็กเล็ก ๆ อาจจะซ้อมวันละ 5 นาที ทุกวัน ดีกว่าที่จะซ้อมวันเดียว 1 ชั่วโมง นอกจากนั้นชวนลูกทำแผนการซ้อมในแต่ละสัปดาห์ เช่น มีการบ้าน 3 อย่างจะซ้อมอย่างไรดี วันไหนจะซ้อมอะไร ให้ลูกช่วยวางแผนเพื่อจะได้มี commitment แล้วเมื่อลูกทำได้ตามแผนก็ชื่นชมไปกับลูกค่ะ เราก็ celebrate small win กันไปทุกวันค่ะ เวลา comment การซ้อมของลูกให้หาที่ชมก่อนแล้วค่ะ comment นะคะ การชมก็ควรชม specific ไม่ใช่ชมแค่เล่นเพราะ ชมไปเลยค่ะ ‘เมื่อกี้เพลงท่อนที่เร็วลูกเล่นได้คึกคักดีจังเลย แม่ชอบ’
.
#เวลาลูกหมดไฟ ให้พยาพยามหาเรื่องมาชื่นชมและให้กำลังใจกันค่ะ การพาลูกไปดู concert, การเข้า master class, การเข้าค่ายดนตรี การเปิดประสบการณ์ดนตรีเหล่านี้ช่วย inspire ลูกได้ค่ะ หรือพาไปดูสถานที่สำคัญอย่าง Carnegie Hall พาไปดูบ้านนักดนตรี เช่น บ้าน Mozart ที่เวียนนา, บ้าน Beethoven ที่ Bonn ก็เพิ่มความตื่นเต้นให้ลูก ๆ ค่ะ
.
#การเลือกครู ครูคนแรกสำคัญมาก อาจจะไม่ต้องเป็นครูที่เก่งที่สุด แต่ต้องเป็นครูที่เข้ากับลูกเรา (และเรา) ได้ ถ้าลูกเข้ากับครูไม่ได้อาจจะพาลไม่ชอบดนตรีไปด้วย ครูที่ดีควรจะบอกเราว่าแต่ละสัปดาห์ลูกเราเรียนอะไรไปบ้าง พัฒนาไปอย่างไร มีจุดไหนควรระวัง มีการบ้านอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ช่วยลูกซ้อมได้ถูก
.
สำหรับอาชีพที่เกี่ยวกับดนตรีก็ไม่ได้มีแค่นักดนตรีหรือครูสอนดนตรีค่ะ ยังมีอีกหลากหลายอาชีพ เช่น composer, conductor, sound engineer, music therapist etc.
.
คราวหน้าคุยกันต่อถึงเรื่องเราควรเรียนดนตรีไปถึงเมื่อไร การซ้อม 200% และทางเลือกสำหรับนักเรียนสายวิทย์ที่ชอบเรียนดนตรีค่ะ
Comments