top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.193 สรุป เด็กการเรียนดนตรี – ทุกสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อยากรู้ (จาก Clubhouse)..





การเริ่มเรียนดนตรี ควรเริ่มจากการฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อให้รู้จักอารมณ์ จับจังหวะได้ เริ่มเรียนตอนเด็กเล็กจะพัฒนาโสตทักษะได้ดีกว่า อายุที่เริ่มเรียนดนตรีได้คือ 3-4 ขวบ

.

ถ้าเด็กมาลองเรียนแล้ว ร้องไห้อาจจะอารมณ์ไม่ดี งอแง ไม่ได้แปลว่าเด็กจะไม่ชอบดนตรี ช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องของการปรับตัว ในขณะที่ครูอีกท่านก็มีมุมมองว่า ครูคนแรกสำคัญที่สุด การไปลองเรียนดนตรีคือการไปลองดูว่าเข้ากับครูได้ไหม จริง ๆ ไม่ได้ไปลองหลักสูตร ถ้าเจอครูแล้วร้องไห้เด็กอาจจะรู้สึกไม่ comfortable บางทีเด็กอาจจไม่เปิดใจรับ มีผลกับประสบการณ์ ถ้าเรียนกับครูคนนี้แล้วไม่ชอบอาจจะเกลียดดนตรี รวมทั้งการเล่น concert ครั้งแรก เด็กทุกคนไม่มีใครเกลียดดนตรี ทุกคนร้องเพลง ถ้าจะเกลียดดนตรีคือไปเจออะไรมา ครูคนแรกสำคัญที่สุด

.

ครูที่ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งไม่ควรบังคับ สำหรับเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่คือโลกของเด็ก ลูกจะเห็นคุณพ่อคุณแม่เป็นโมเดล ครูแนะนำว่าถ้าอยากให้ลูกเรียนดนตรี ให้คุณพ่อคุณแม่แสดงความรักความชอบในดนตรีให้ลูกเห็น ตอนที่เหมาะสมที่สุดที่ควรให้ลูกเริ่มเรียนดนตรีคือตอนที่เด็กอยากเรียนด้วยตัวเอง และสำหรับเด็กเล็กการเรียนดนตรี key ที่สำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ คลาสเรียนเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าไปเรียนด้วย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรส่งพี่เลี้ยงเข้าไปเรียนแทน

.

สำหรับเด็กที่จะเรียนเปียโนถ้าเริ่มเรียนได้ก่อนที่จะจับดินสอ มือจะ flexible ที่สุด มือยังไม่เกร็ง เพราะมียังไม่มี tension

.

ความคาดหวังของผู้ปกครองและมุมมองของผู้ปกครองจะส่งเสริมให้ลูกได้เรียนดนตรีในระยะยาว เด็กแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน เด็กบางคนอาจจะมี skill บางอย่างที่ด้อยกว่าคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ความสำคัญของพ่อแม่คือการเข้าใจในตัวลูก ลูกมีลักษณะเด่นยังไง ต้องพร้อมที่จะรอบาง skill ของลูกที่ด้อยกว่าคนอื่น การที่ผู้ปกครองเข้าใจในระยะยาวลูกจะไม่ต่อต้าน ถ้าถูกเปรียบเทียบมาก ๆ เด็กจะกดดันและจะเริ่มต่อต้าน

.

เด็กยังอ่านโน้ตไม่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นก็ไม่เป็นไร เค้าอาจจะความจำดีออกไป perform ได้ วันนึงเค้าจะต้องอ่านโน้ตได้แน่นอน การ support เด็ก ผู้ปกครองพร้อมจะ support เครื่องดนตรีระดับไหน เช่น ถ้าอยากให้ลูกเล่นเปียโนแต่ถามว่ายังไม่ซื้อเปียโนได้ไหมใช้คีย์บอร์ดที่คีย์ไม่ครบไปก่อนได้ไหม คุณครูทุกคนก็อยากให้เด็กมีเครื่องดนตรีที่มีคุณภาพไว้ซ้อมที่บ้านค่ะ อีกมุมมองคือถ้าเปียโนแพงไปลองเครื่องอื่นเราคาถูกกว่าเช่น violin ก่อนไหม เพราะการเรียนดนตรีก็คือการใช้เวลาของลูกที่หมดไปทุกวัน รวมทั้งใช้เงินของเรา ก่อนที่เราจะให้ลูกเรียนดนตรีเราควรถามตัวเองด้วยว่าเรา support เครื่องดนตรีให้ลูกได้หรือไม่

.

เพิ่มเติมประเด็นในเรื่องการฟังมีการพูดถึงการเรียนการฟังแบบ Fixed Do vs Move Do (ฟิกซ์โด vs มูฟโด) การเรียนแบบ Fixed Do คือ การที่เรียกชื่อโน้ตตามเสียงว่า โด เร มี... สำหรับ move (movable) Do จะฝึกฟังเสียงแบบที่ relative กับโน้ตตัวอื่น ซึ่งทั้งสองแบบไม่มีอันไหนดีกว่ากันแล้วแต่การนำไปใช้ เช่น ถ้าเล่นเครื่องดนตรีอื่นที่ไม่ใช่เครื่อง in C อย่าง เปียโน ไวโอลิน ฟลูต การเรียน fixed do อย่างเดียวอาจจะทำให้เรางงเสียงโดยเฉพาะเครื่องที่เสียงห่างจาก C เช่น French Horn เรื่องนี้น่าสนใจค่ะ ขอหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วมาเล่าให้ฟังนะคะ

.

และนักดนตรีหลายคนที่มี perfect pitch ซึ่งคือการที่สามารถบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินเป็นโน้ตอะไร (โด เร มี...) คุณครูหลาย ๆ ท่านก็มี perfect pitch ค่ะ ซึ่งการที่เริ่มเรียนตั้งแต่เด็กก็ช่วยพัฒนาการฟังได้มาก แต่อย่างไรก็ดีการมี perfect pitch ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ ‘จำเป็น’ การเรียนดนตรีค่ะ การฝึกฝนและพัฒนาสำคัญที่สุดค่ะ

.

Take away ของวันนี้สำหรับต่ายคือ ทักษะการฟังที่ทักษะที่สำคัญสำหรับการเรียนดนตรี การที่ได้พัฒนาทักษะนี้ยิ่งเร็วยิ่งดีค่ะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเรียนดนตรีตอนโตแล้วจะฝึกไม่ได้นะคะ เพราะก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยค่ะ สำหรับเด็กเล็กคนที่สำคัญที่สุดและในการเรียนดนตรีคือคุณพ่อคุณแม่ นอกจากความคาดหวังของเราต่อตัวลูกในการเรียนดนตรีแล้ว อยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่สำรวจความพร้อมที่จะ support การเรียนของลูกในระยะยาวด้วยค่ะ

.

ก็เป็นมุมมองของคุณครูหลาย ๆ ท่านนะคะ ต้องขอขอบคุณ ครูต้นเถา ครูออ ครูเตย ครูเบน ครูติ๊ก ครูอัน ครูดาว ครูเสก และผู้ปกครองและคุณครูทุกท่านที่เข้าฟัง มาถามคำถามและมาช่วยตอบคำถามและให้มุมมองค่ะ


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

Comments


bottom of page