การทำให้ ‘สำเร็จ’ ซึ่ง beyond การทำแค่ ‘เสร็จ’ ฟังดูแล้วความหมายก็น่าจะเหมือนกับ perfectionist แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวนะคะ
.
ทำให้สำเร็จไม่ใช่แค่ทำให้ทำให้เสร็จ ถ้าเราทำงานตามหน้าที่ของเราเสร็จแล้ว งานก็น่าจะเสร็จแล้ว เราสามารถทำมากกว่านั้น (beyond expectation) เพื่อให้งาน ‘สำเร็จ’ ต่ายมีตัวอย่างเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ
.
มีครอบครัวหนึ่งไปพักผ่อนที่โรงแรม พอกลับมาถึงบ้านก็พบว่าลูกชายลืมตุ๊กตายีราฟแสนรักชื่อ Joshie ไว้ที่โรงแรม คุณพ่อเลยรีบโทรไปที่โรงแรมให้ช่วยหาตุ๊กตาให้ ซักพักทางโรงแรมก็โทรกลับมาบอกว่าหาเจอแล้ว คุณพ่อเลยบอกทางโรงแรมว่าจะบอกลูกชายว่าโจชี่ยังพักผ่อนต่อที่โรงแรมเดี๋ยวจะตามกลับมา และขอให้ทางโรงแรมช่วยถ่ายรูปโจชี่นั่งพักผ่อนที่เก้าอี้ข้างสระว่ายน้ำ
.
ไม่กี่วันต่อมาก็มีพัสดุมาส่งที่บ้านข้างในกล่องมีโจชี่กับของที่ระลึกของทางโรงแรมและยังมีรูปโจชี่ที่ถ่ายที่โรงแรม แต่ไม่ได้มีเพียงรูปเดียวมีอีกหลายรูปมีโจชี่ไปสปา โจชี่ขับรถกอล์ฟ โจชี่ช่วยทีม loss and found ดูกล้อง cctv และอีกหลายรูปเลยค่ะ ถ้าพนักงานของโรงแรมส่งตุ๊กตากลับมาให้ก็คือทำ ‘เสร็จ’ แต่ยิ่งกว่านั้นคือทำให้เหนือความคาดหมายเป็นการทำให้ ‘สำเร็จ’
.
ต่ายมองว่าตรงนี้ต่างกับ perfectionist ตรงที่ perfectionist ก็พยายามทำให้ดียิ่งขึ้นในมุมมองของตัวเอง งานตรงนี้ยังเพิ่มเติมได้อีกนิด PowerPoint ฟอนต์ยังไม่เท่ากัน align ยังไม่เป๊ะ ซึ่งก็ทำให้งานดีขึ้น เป็นงานที่ดีขึ้นมาระดับ incremental
.
ในขณะที่ทำให้ ‘สำเร็จ’ เรามักมองในมุมคนอื่น ทำให้เหนือความคาดหมายของคนอื่น เราจึงมักใช้ concept นี้กับงานบริการ และการทำให้ ‘สำเร็จ’ มักจะให้ความรู้สึกที่เพิ่มแบบมากกว่า incremental อารมณ์ exponential เลยค่ะ
.
เวลาไหนที่เราควรจะทำให้สำเร็จหรือทำให้ perfect คงไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน แค่เรา aware ว่ามี 2 concept แล้วให้เราตระหนักรู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ใน mode ไหนนะคะ Ep.หน้ามีอีกหนึ่ง concept ที่อยากจะมาชวนคุยคือ ‘ทำให้เสร็จสำคัญกว่าทำให้ดี’ คราวหน้ามาคุยกันต่อค่ะ
Kommentare