เราอาจจะเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า คนเก่งดนตรีมักจะเก่งเลข, เก่งภาษานะคะ ที่ฟินแลนด์ก็ใช้ดนตรีเพื่อปูทางพื้นฐานเลข ส่วนดนตรีกับภาษานั้น ช่วยเหลือกันดังนี้ค่ะ
.
ในโน้ตเพลงเราคงเคยเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวย่อกำกับอยู่ เช่น p, f ตัวย่อเหล่านี้มาจากภาษาอิตาลี คำว่า piano และ forte เป็นการบอก dynamics เบา และ ดัง ตามลำดับ ตัวย่อสำหรับ dynamic อื่นๆ เช่น cres. และ dim. ก็มาจากคำว่า crescendo และ diminuendo ที่หมายถึง ค่อย ๆ ดังขึ้น และ ค่อย ๆ เบาลง
.
ตัวย่อกำกับจังหวะที่พบบ่อย เช่น rit. มาจากคำว่า ritardando หมายถึง ค่อย ๆ ช้าลง ซึ่งมักจะพบคู่กับคำว่า a tempo คือ หลังจากช้าลงแล้ว เมื่อเจอ a tempo คือ ให้กลับไปเล่นที่จังหวะเดิม
.
จะเห็นว่ามีภาษายุโรปกำกับอยู่ในโน้ตเพลง โดยเฉพาะเพลง classic จะมีคำศัพท์เยอะมาก เนื่องจากผู้ประพันธ์เพลง classic ส่วนมากเป็น ชาวยุโรป
สมัยก่อนต้องซื้อ พจนานุกรมดนตรี ไว้เปิดหาคำแปลก ๆ ที่ไม่เคยเจอ เพื่อให้เราเล่นบทเพลงได้ถูกต้องตามเจตนาของผู้ประพันธ์
.
สำหรับบางมหาวิทยาลัยที่นักเรียนเรียนเอกดนตรี จะมีวิชาบังคับให้เลือกเรียนภาษายุโรป ภาษาที่นิยมเรียนกัน เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส เพื่อให้นักดนตรีสามารถเข้าใจบทเพลงได้ดียิ่งขึ้น
.
ในตอนนี้ที่เราหาศัพท์ดนตรีได้อย่างรวดเร็ว
วันที่บางคนตั้งคำถามกับการเรียนภาษาในยุค Google Translate แต่การเรียนภาษาจากดนตรี นั้น เรียนเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อสื่อสาร จึงเป็นหัวใจของภาษาเพื่อดนตรี
.
แล้วทุกท่านคิดยังไงบ้างคะ
Comentários