จากคำนำของผู้แปลสรุปแนวทางของหนังสือแนวพัฒนาตัวเองเป็นสองแนวทาง คือ แนวที่กระตุ้นให้ลงมือทำโดยบอกว่า ‘คุณทำได้’ และแนวการปลอบโยนให้เรา ‘มีความสุขกับสิ่งที่เป็น’ หนังสือทั้งสามเล่มนี้ (อิคิไก, คินสึงิ, วะบิ ซะบิ) เป็นแนวที่สอง
.
วะบิ ซะบิ เป็นปรัชญาญี่ปุ่น ที่แทบไม่มีคนญี่ปุ่นคนไหนตอบได้ตรง ๆ ว่ามันคืออะไร ทุกคนจะบอกว่ามันลอยอยู่ในสายลม แสงแดด ทั้งในความสุขและความทุกข์ อาจกล่าวได้ว่าทุกสรรพสิ่ง ‘ไม่เที่ยง ไม่สมบูรณ์ และไม่เสร็จสิ้น’ เปรียบได้กับการเฉลิมฉลองความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิตคนเรา
.
วะบิ มีความหมายเกี่ยวกับ การมองหาความงามในความเรียบง่าย ความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณ และความสงบงามที่ไม่ยึดติดกับโลกทางวัตถุ
.
ซะบิ เกี่ยวกับกาลเวลาที่ล่วงไป นำพาสรรพสิ่งเติบโตขึ้นและเสื่อมสลายลง สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของมัน
.
ประสบการณ์แห่ง วะบิ ซะบิ คือการตอบสนองด้วยปัญญาญาณแห่งความงาม รับรู้ได้เมื่อเห็นวัสดุธรรมชาติ ความบริบูรณ์ไม่ได้หมายถึงความสมบูรณ์แบบแต่หมายความว่าไม่มีส่วนใดถูกละทิ้งไป
.
การยอมรับ คือการพูดว่า
1.นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น (สังเกตการณ์มัน ไม่ไปขัดขืนต่อต้าน)
2.นี่คือระดับความสำคัญของมัน (ถ้ามันสำคัญ)
3.นี่คือจุดเริ่มต้นของอะไรอีกมากมานที่กำลังจะตามมาและนี่คือสิ่งที่ฉันจะลงมือทำ มันคือจุดที่ฉันอยู่ นี่คือจุดที่เราอยู่กับ
.
ทัศนคติของคนญี่ปุ่นเรื่องความล้มเหลว
1.เราไม่จำเป็นต้องชองความล้มเหลว แต่มองว่าเป็นการเรียนรู้ และทำให้เราอดทนมากขึ้น
2.ความรู้สึกล้มเหลวไม่ได้อยู่ตลอดไป เรามรโอกาสเริ่มใหม่เสมอ
3.สิ่งต่างๆที่เปลี่ยนไป อาจเป็นจังหวะให้เราได้หยุด พลิกมุม หรือหาหนทางอื่นแทน
.
ในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า ‘ชูเกียว’ แปลว่า การฝึกฝนจนเกิดปัญญาญาณ ในระบบคุณค่าของญี่ปุ่น วิธีการทำให้สำเร็จ สำคัญกว่าสิ่งที่ทำออกมา และความสำเร็จของคนอื่นก็ไม่ได้ขัดขวางความสำเร็จของเรา
.
เมื่อเรายุ่งมากจนไม่รู้สึกถึง วะบิ ซะบิ แสดงว่าเรากำลังสับสน อยู่ภายใต้แรงกดดัน หรือละเลยที่จะดูแลตัวเอง เราจึงควรทำทุกอย่างให้ช้าลง หายใจ และกลับมาค้นหาความงาม
.
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็น life coach ค่ะ ในหนังสือมีหลายๆคำถามช่วยให้เรา self coach (โค้ชตัวเอง) เพื่อให้เราเจอ วะบิ ซะบิ ของเราในหลายๆแง่มุม เช่น การยอมรับและปล่อยวาง การทบทวนความล้มเหลว การทะนุถนอมความสัมพันธ์ การงาน ถ้าสนใจลองหาอ่านได้ในหนังสือนะคะ
.
Key takeaway ของต่ายคือ วะบิ ซะบิ ช่วยให้เราปล่อยวางความperfectionist ซึ่งทำให้เราเครียด โดย cherish moment ที่เราอยู่ ทุกสิ่งก็ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ค่ะ ถ้าลูกเรากำลังเครียดเพื่อชีวิตที่ perfect ลองชวนลูกหาเวลามาปล่อยวาง และอยู่กับปัจจุบันค่ะ
Comments