มาคุยกันต่อถึงเรื่องทางการเงินที่ลูกควรรู้สำหรับช่วงอายุ 11-18 ปีนะคะ
.
11 ปี สอนให้ลูกรู้จักการโฆษณา เด็กยุคนี้ได้รับโฆษณาท่วมท้นเลยค่ะ เปิด social media อันไหนก็มีโฆษณาแทรกมาให้เห็นตลอด ลูกควรจะรู้ว่าการโฆษณาก็เป็นการกระตุ้นอารมณ์ให้เราอยากซื้อ เราจะได้เห็นแต่ด้านดี ๆ ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และทำไมเราควรจะต้องมีมัน สอนลูกว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้ของ brand name เสมอค่ะ
.
12 ปี สอนให้ลูกว่าราคาไม่ใช่แค่ปัจจัยเดียวในการตัดสินใจซื้อของ สอนให้รู้จักเปรียบเทียบราคาและคุณภาพ บางครั้งเราไม่ได้ซื้อของที่ราคาถูกที่สุดอย่างเดียว เราต้องดูเรื่องของคุณภาพด้วย ของที่แพงกว่าอาจจะใช้ได้นานกว่า และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ organic เป็นของรักษ์โลก ฯลฯ
.
13 ปี สอนลูกให้รู้จักการลงทุน ลูกอาจจะเริ่มเข้าใจ concept ของการให้เงินทำงานแล้ว บอกลูกว่านอกจากการฝากธนาคาร ยังมีวิธีให้เงินทำงานให้ได้เงินเพิ่มมากกว่าการฝากธนาคาร แต่ก็ต้องสอนเรื่องความเสี่ยงด้วยนะคะ high risk, high return ค่ะ อันนี้แล้วแต่ความถนัดของคุณพ่อคุณแม่เลยค่ะ จะสอนการลงทุนในหุ้น ในกองทุน หรือการลงทุนอื่น ๆ และเล่าให้ฟังว่า การลงทุนระยะยาว ระยะเวลาจะช่วยลดความผันผวนของความเสี่ยง ระยะเวลายังช่วยให้เงินทำงานให้ได้เงินออกมาได้มากเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลงทุนเท่า ๆ กันทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท โดยได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี เมื่อครบ 1 ปีจะได้เงิน 36,968 บาท แต่ถ้าลงทุนต่อเนื่องไป 10 ปีจะได้เงิน 464,977 บาท ในประเทศไทยอายุที่เปิดบัญชีหุ้นหรือบัญชีกองทุนได้ คือ 20 ปีนะคะ ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะเปิดพอร์ตแยกออกมาสำหรับการลงทุนของลูกค่ะ
.
14 ปี ให้รู้ทำงานค่ะ ให้รู้ว่าการจะได้เงินมาต้องทำงาน ลูกอาจจะอยากได้ของที่ค่าขนมไม่พอซื้อ ให้ลูกทำงานเก็บเงินซื้อค่ะ แล้วเริ่มคุยกับลูกเปรียบเทียบค่าของของกับการทำงานค่ะ เช่น ถ้าลูกทำงานได้เงินชั่วโมงละ 100 บาท แล้วลูกอยากได้ของชิ้นละ 1,000 บาท ชวนลูกคุยว่าจะได้ของชิ้นนี้มาลูกต้องทำงาน 10 ชั่วโมง
.
15 ปี ถ้าเป็นคนรุ่นเราต่ายคงบอกว่าให้ลูกมีบัตร ATM ได้ ถ้าเป็นรุ่นลูกเราต้องบอกว่าเป็นอายุที่ลูกเราใช้ mobile banking ได้ คนรุ่นลูกเราอาจจะไม่รู้จักบัตร ATM แล้ว เพราะ mobile banking เค้าสามากดเงินโดยไม่ใช้บัตรได้ ซึ่งอายุ 15 ก็เป็นอายุที่ธนาคารให้ทำบัตร ATM และสมัครใช้บริการ mobile banking ได้ค่ะ และยังเป็นอายุที่ผู้ปกครองสามารถทำบัตรเสริมบัตรเครดิตให้ได้ค่ะ ส่วนตัวต่ายคิดว่าคงไม่ใช้อายุ 15 เป๊ะ ๆ ที่จะให้ลูกใช้บัตรเครดิต คงต้องดูความรับผิดชอบของลูกด้วย ต้องบอกว่าบัตรเครดิตไม่ได้มีไว้ให้ซื้อของไม่จำเป็นได้ในขณะที่ไม่มีเงินสด แต่ควรจะมีไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือหากว่าเราจะสอนลูกเรื่องการ shopping online แต่ก็ต้องแน่ใจว่าเรามีเงินพอที่จะจ่ายบัตรเครดิตเต็มวงเงิน
.
16 ปี สอนเรื่องการบริหารความสมดุลของชีวิต ช่วงเริ่มต้นมัธยมปลายเป็นช่วงชีวิตที่ยุ่ง ต้องเรียนหนังสือ เรียนพิเศษ เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย และอื่น ๆ เป็นช่วงที่ดีที่ช่วยสอนให้ลูก balance และ prioritize สิ่งต่าง ๆ ในชีวิด เพราะเป็นสิ่งที่เค้าต้องจัดการได้เองเมื่อเค้าเป็นผู้ใหญ่ และอย่าลืมเรื่องการบริหารเรื่องการเงินด้วยนะคะ
.
17 ปี สอนเรื่อง เครดิตบูโร เราทุกคนมี credit score เมื่อเราเริ่มมีการกู้เงิน (การใช้บัตรเครดิตก็ถือเป็นการกู้เงินประเภทหนึ่ง) เป็นคะแนนที่ทางสถาบันการเงินใช้ประเมินว่าเรามีความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้หรือไม่ ถ้าเราไม่จ่ายคืนเงินกู้ หรือจ่ายบัตรเคดิตตรงเวลาเราจะถูกหักคะแนน และถ้าเราถูกหักคะแนนมาก ๆ เราจะไม่สามารถกู้เงินใหม่ได้ในอนาคต
.
18 ปี สอนเรื่องแหล่งเงินทุนต่าง ๆ แหล่งเงินทุนหนึ่ง คือ การกู้เงินกับสถาบันการเงิน ขีดเส้นใต้คำว่าในระบบนะคะ สอนลูกให้เห็นผลเสียของการกู้ยืมนอกระบบ เผื่อสำหรับในกรณีที่ต้องการใช้เงิน เช่น ในกรณีที่ลูกจะเรียนมหาวิทยาลัย แล้วทางบ้านมีเงินทุนไม่พอ อาจจะกู้ยืม กยศ. (กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ถ้ามีความจำเป็นต้องกู้เงิน ต้องเน้นย้ำว่าต้องจ่ายเงินกู้ให้ตรงเวลา ในกรณีสุดวิสัยจริง ๆ ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตรงเวลา อย่ากลัวที่จะแจ้งตรง ๆ กับทางสถาบันการเงิน เราสามารถขอประนอมหนี้ได้ แต่เราจะขอประนอมหนี้กับแหล่งเงินทนนอกระบบไม่ได้แน่ ๆ ค่ะ
.
เราก็ช่วยปูพื้นฐานทางการเงินให้ลูกในสิ่งที่จำเป็นมาแล้วนะคะ สิ่งที่สำคัญที่สุดของ financial journey ที่ลูกได้เรียนรู้มาก่อนที่จะได้ไปใช้ชีวิต ไปดูแลการเงินของตัวเองก็คือ role model อย่าคุณพ่อคุณแม่และผู้ใกล้ชิดค่ะ เค้าได้ observe เรียนรู้ ปลูกฝังความเชื่อทางการเงิน การมีวินัยและการบริการทางการเงินในแบบของเค้าเองค่ะ
Comments