คำถามนี้เป็น dilemma อยู่ในใจต่ายค่ะ วันนี้มีการแข่ง Young Artist Music Contest 2019 จัดโดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลยอยากจะเขียนเรื่องนี้เป็นบันทึกความทรงจำให้ตัวเอง
.
ตามที่ต่ายเคยเล่าใน Ep.11 พัฒนา EF ผ่านการส่งลูกแข่งดนตรี จุดประสงค์ของการที่ให้ลูกลงแข่ง ไม่ใช่เพราะต่ายเห็นว่าลูกเก่งและหวังที่จะได้รางวัล แต่ปีแรกที่แข่งเพราะระบบการเรียนที่ลูกเรียนไม่มีการสอบ จึงอยากให้ลูกได้เตรียมตัวเพื่อลองขึ้นเวที ส่วนปีที่สอง หลังจากที่ศึกษา EF (Executive Functions) อย่างจริงจัง เลยคิดว่าจะใช้การแข่งดนตรีนี่แหละฝึกทักษะ EF ลูก
.
ทำไมมันถึงเป็น dilemma มีหลาย school ที่บอกว่าเราไม่ควรให้เด็ก ๆ แข่งขันตั้งแต่เล็ก ๆ การแข่งขันจะทำให้เด็ก ๆ กดดัน ต้องมองดูคู่แข่งเป็นการเปรียบเทียบ และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะ ซึ่งสำหรับเด็ก ๆ การแข่งขันกับตัวเองและกับความคาดหวังของผู้ปกครองก็เครียดได้แล้วค่ะ
.
แม้แต่ Suzuki method ที่ลูก ๆ เรียนก็ไม่สนับสนุนให้แข่ง เด็ก ๆ จะได้เห็นความสามารถของเด็กคนอื่นใน group class หรือ ใน concert การศึกษาแบบ Waldorf ก็ให้เด็กแต่ละคนพัฒนาไปตาม pace ของตัวเอง หรือการศึกษาแนวจิตศึกษาก็ไม่แนะนำให้เด็ก ๆ แข่งขันค่ะ
.
ทีนี้ถ้ามองว่าแล้วลูกได้อะไรจากการแข่ง สิ่งที่ได้แน่ ๆ คือการฝึกฝนความอดทนในการซ้อมเพลงเดิมซ้ำ ๆ แก้แล้วแก้อีก และได้ลองเล่นบนเวทีที่มีคนดูที่ไม่รู้จักหลายคน นอกจากนี้ยังได้เห็นเพื่อน ๆ อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน บางคนเล่นเก่งมาก น่าจะ inspired เค้า (หวังว่าจะไม่กดดัน หรือ demotivate --")
.
จริง ๆ แล้วลูก ๆ จะได้อะไรมากน้อยแค่ไหน อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ ๆ นี่คือกิจกรรมครอบครัวที่สี่พ่อแม่ลูกฝึกซ้อมกันมาแรมปีจนเป็น ritual ของบ้าน ถ้าถามว่าปีหน้าจะแข่งไหม ตอบจริง ๆ ก็ลังเลนะคะ เพราะเหนื่อยมาก คิดว่าคงถามลูก ๆ ว่าจะแข่งไหม ให้เค้าตัดสินใจกันเองค่ะ
.
ใครมีประสบการณ์แข่งขัน (ที่อาจจะไม่ใช่ดนตรี) หรือมีมุมมองอย่างไรเรื่องการแข่งขันมาแชร์กันนะคะ
Коментарі