top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.134 Digital Literacy..



หลาย ๆ ท่านคงจำสมัยที่เรามี internet กันใหม่ ๆ ได้ ที่เราต้องต่อผ่าน modem รอมันติด ถึงจะเข้า internet ได้ (น่าจะเดาอายุกันได้เลย) ลูกของเราเกิดมาในยุคที่สามารถ connect internet ได้เกือบจะตลอดเวลา wifi เป็นสิ่งจำเป็นในหลาย ๆ บ้าน แน่นอนว่าชีวิตของลูกจะไม่เหมือนเราแน่นอน เราเตรียมตัวอะไรให้เค้าบ้างคะ

.

สมัยตอนเราเรียนถ้าเราต้องหาข้อมูลทำรายงาน เราทำยังไงกันคะ ส่วนมากคงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุด หรือไปสัมภาษณ์ผู้รู้ อย่างมากอาจจะไปขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับเด็กสมัยนี้ทุกอย่างหาได้จาก google ลูก ๆ เราคงไม่รู้จัก encyclopedia คงจะรู้จักแต่ wiki ดังนั้นการทำรายงานจึงไม่ได้เน้นไปที่การหาข้อมูล แต่จะเป็นการเลือกหยิบข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลมาใช้ และเขียนเป็นรายงานจากความเข้าใจ (critical thinking) ไม่ใช่ copy + paste

.

นอกเหนือจากที่ต้องรู้จักเลือกข้อมูลมาสังเคราะห์แล้ว ยังต้องรู้จักแยกแยะข้อมูลด้วยว่าเป็นจริงหรือเปล่า เราเห็นข้อความที่แชร์กันในไลน์มาเยอะค่ะ เค้าบอกว่าดีอย่างนู้นอย่างนี้ หลายคนเอาไปทำตาม โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ‘เค้า’ คือใคร ลูกเราต้องรู้จัก verify source of data ค่ะว่าจริงไหม และควรสอนลูกด้วยว่าถ้าไม่แน่ใจความถูกต้องของข้อมูล #อย่าแชร์

.

จริง ๆ แล้วรุ่นลูกเราคงไม่มีปัญหาเรื่อง digital literacy เท่ารุ่นเราค่ะ เค้าเกิดมาโลกก็มีคำว่า digital แล้ว เค้าเป็น digital native แต่ที่น่ากังวลกว่า คือ digital maturity ลูกต้องตระหนักว่าทุกการกระทำบนโลก digital มันจะทิ้ง digital footprint ไว้ และเราก็ไม่สามารถลบมันได้ตลอดกาล มันอาจจะทำให้เราเสียใจในอนาคต หลายบริษัทที่สืบค้น digital footprint ของผู้สมัครก่อนรับเข้าทำงานนะคะ

.

อีกเรื่องที่ลูกต้องตระหนักและเป็นเรื่องสำคัญมากๆๆๆๆ คือ privacy ลูกไม่ควรทิ้งข้อมูลส่วนตัวให้ใคร ๆ เข้าถึงได้ เราเห็นข่าวมากมายว่าหลายคนไม่ตระหนักเรื่องนี้โดย hack ข้อมูลและทำความเสียหายมากมาย เรื่องที่ทำได้ทันที คือ ตั้ง password ให้มีความปลอดภัย และลูกควรตระหนักถึง privacy ของคนอื่นด้วย เช่น การจะลงรูปคนอื่นที่เห็นหน้าชัดเจนเราควรได้รับการยินยอมจากเค้าก่อน (จริง ๆ พ่อแม่ที่จะโพสรูปลูกก็อยากให้คิดก่อนโพสนะคะ ลูกเราก็มีสิทธิ์ใน privacy ของเค้าเช่นกัน)

.

ประเทศไทยกำลังจะประกาศใช้ PDPA (Personal Data Protection Act) ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 (หลังจากเลื่อนออกไป 1 ปี) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความใส่ใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล โดยใจความหลักจะเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ถ้าเราให้ข้อมูลส่วนตัวของเราไปกับบริษัทไหน แล้วเราต้องการขอข้อมูลคืน เราสามารถทำได้โดยบริษัทนั้นต้องลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเราออกทั้งหมด

.

ในอนาคตเราจะเจอกับอะไรที่เราไม่รู้จักในวันนี้อีกมากมายค่ะ นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง สอนให้ลูกเรายืดหยุ่น เพื่อให้เค้าสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้นะคะ


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

コメント


bottom of page