หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และเขียนหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ เมื่อเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณรวิศจึงอยากรู้มุมมองในการเลี้ยงลูกของนักธุรกิจ อาจจะไม่ใช่ Rich Dad, Poor Dad version ไทย แต่ก็มีมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ
.
คุณรวิศพูดถึงอนาคตที่ไม่แน่นอน ลูกกับ AI ใครจะอยู่รอด ลูกต้องอยู่กับอนาคตที่ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ คนที่จะผ่านการเปลี่ยนแปลงไปได้ค่อคนที่ปรับตัวได้มากที่สุด
.
ทักษะที่ควรสอนให้เด็ก ๆ ในระบบการศึกษามาตรฐาน คือ critical thinking, coding และ self-awareness
.
การรู้จักตัวเอง (self-awareness) คือ ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 เราช่วยฝึกทักษะนี้ให้ลูกได้โดย loving critic คือ การที่เรา feedback โดยบอกความจริงกับลูก ไม่พูดเรื่องที่ดีเกินหรือเรื่องที่แย่เกินไป
.
เด็กที่มีภาวะผู้นำ อ่อนน้อมถ่อมตน เข้าใจตัวเอง และรู้หน้าที่ของตัวเอง จะเป็นตัวช่วยให้เค้าเติบโตได้รวดเร็ว
.
สำหรับหน้าที่ของคุณครูควรทำการสอนแบบ personalizes learning เป็น coach และ mentor และแลกเปลี่ยนความคิดกับครูท่านอื่นเพื่อเรียนรู้และลดการ trial and error
.
เราสามารถสอนลูกให้ตั้งเป้าหมายโดยตั้งเป้าหมายร่วมกับลูก เราช่วยลูกสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาสิ่งที่ลูกชอบจริง ๆ และไว้ใจลูกโดยเปิดโอกาสให้ลูกลงมือทำอย่างเต็มที่ และคอยดูอยู่ห่าง ๆ ถามคำถามว่า ‘ทำไม’ให้เยอะ ๆ เพื่อฝึก critical thinking และเป็นทีมเดียวกับลูกโดยคอยให้กำลังใจลูก
.
นิสัย 3 ประการของคนล้มเหลว คือ เลือกสิ่งแวดล้อมผิด โทษทุกอย่างนอกจากตัวเอง และจับจด คืออยากทำไปหมดทุกอย่างแต่ไปไม่สุดทาง
.
สิ่งที่ซ่อนอยู่ในผู้คนที่ประสบความสําเร็จ คือ การยอมรับในความแตกต่าง (embrace diversity) สอนลูกให้รู้จัก ‘คุณค่า’ ซึ่งคุณค่าก็ต่างกันไปตามช่วงเวลา
.
ต่ายอาจหนังสือเล่มนี้หลายบทให้ลูกฟังก่อนนอนค่ะ ลูกก็ดูสนใจดี ไม่รู้หรอกค่ะว่าสิ่งเหล่านี้จะปลูกฝังเข้าไปในตัวลูกเท่าไหร่ อย่าลืมว่าเราไม่สามารถเป็น best parent ได้ตลอดเวลา แค่ good enough ก็เพียงพอแล้วค่ะ
Commentaires