Resilience เป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ในวันที่เราเผชิญกับปัญหาหนักจนไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อ วันนี้จะมาสรุปวิชานี้ที่ต่ายได้ส่งลูก ๆ ไปเรียนกับครูเอ๋ ดร.อรุโณทัย ไชยช่วยค่ะ
.
ครูเอ๋เป็นนักการศึกษาและเป็นนักบำบัด ครูเล่าว่าครูสอนวิชานี้ให้เด็ก ๆ เพื่อที่โตขึ้นเด็ก ๆ จะได้ไม่ต้องมาบำบัดกับครู Resilience คือ ถึก อึด ฮึด สู้ ให้ได้ในแบบของตนเอง
.
#ถึก คือ ความแข็งแรง เมื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่ป่วย คือ strong and tough เราสามารถฝึกความถึกด้วยการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ
- ด้านร่างกาย (body) ผ่านการออกกำลัง ทำงานบ้าน
- เราฝึกความถึกทางใจ (soul) ผ่าน ดนตรี ศิลปะ
#อึด คือ การอดทนอย่างมีเป้าหมาย ขีดเส้นใต้คำว่ามีเป้าหมาย เราต้องรู้ว่าอดทนไปเพื่ออะไร อดทนถึงเมื่อไร ถ้าเด็ก ๆ ไม่รู้ว่าต้องอดทนไถึงเมื่อไร จะกลายเป็นเก็บกด ซึมเศร้า bipolar
#ฮึด คือ ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะไปต่อไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พ่อแม่สามารถเป็นศิลปะในการ struggle ได้โดยไม่ให้อะไรลูกง่าย ๆ (เป็นบางเรื่องนะคะ)
#สู้ เราต้องสู้ให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา ถูกคน ถูกสถานที่ ถ้ามีคนมาดูถูกเราการสู้ของเรา คือ ทำตัวเราให้มีความสุขที่สุด
การตัดสิน จาก พ่อ แม่ และครู จะทำให้พลัง resilience หายไป
.
พลังทั้ง 4 อย่างนี้ แต่ละคนอาจจะมีสัดส่วนไม่เท่ากัน แต่ต้องมีให้ครบทั้ง 4 ตัวนี้ถึงจะเป็นพลัง resilience
.
ช่วยลูกหาสิ่งที่ลูกชอบค่ะ สิ่งที่ลูกชอบจะมีประโยชน์ในวันที่ลูกไม่มีแรงใจไปต่อ แม้แต่สิ่งเล็กๆ อย่างรูปรสกลิ่นเสียง ลองนึกถึงวันที่ลูกถูกรังแกมาจากโรงเรียน ถ้ากลับบ้านมาเจอกลิ่นที่ชอบ ภาพที่ชอบ คุณแม่ทำอาหารที่ชอบรอไว้ อย่างน้อยก็คงช่วยเพิ่มแรงใจให้ลูกได้ค่ะ
.
เด็กวัย 7-14 เป็นช่วงที่ลูกจะ negotiate ค่ะ ถ้าลูกมาขออะไร เราขอคืนได้นะคะ คุยกันจนเจอ comfort point
.
สำหรับลูกวัน 14-21 ปี ใช้ทักษะการสื่อสารอย่างสันติ (nonviolence communication)
.
Resilience เป็นคุณสมบัติที่สามารถปลูกฝังให้ลูกได้ตั้งแต่เล็กค่ะ แม้ในวงการการพัฒนาบุคคลเอง resilience ก็เป็นคุณสมบัติที่องค์กรอยากให้พนักงานมีนะคะ
Comments