Theory U เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจในการปรับเปลี่ยนมุมมองของเรา เปิดพื้นที่ให้เราได้เห็นมุมมองที่แตกต่างของคนอื่น ทำให้เราและเขาเข้าใจกันมากขึ้นผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
.
ต้องบอกก่อนว่า Theory U ไม่ใช่ทฤษฎีการสื่อสารโดยตรงนะคะ เป็นทฤษฎีของการพัฒนาองค์กร (organization development) ต่ายได้เรียนรู้ทฤษฎีนี้ผ่านห้องเรียนพ่อแม่ ในการนำมาปรับใช้กับครอบครัวและเยาวชน โดย อ.ขุนเขา Settapol Parinyapol Polset
.
เวลาเราเห็นแมลงสาบ เราทำยังไงกันคะ 98% ของคนจะมีจุดมุ่งหมายคือทำให้มันตาย เป็น reaction จากประสบการณ์เดิมของเราว่ามันสกปรก เห็นแล้วต้องตีให้ตาย แล้วถ้าย้อนกลับมาดูในครอบครัวเรา เวลาลูกขอซื้อของเล่นใหม่ เรา react ยังไงคะ อาจจะตอบว่า ไม่เอาหรอก ของเล่นมีเยอะแล้ว เป็น reaction แบบแทบจะ auto เลยค่ะ
.
เราได้เปิดพื้นที่รับฟังลูกไหมคะว่าเค้าอยากได้อะไร ถ้าพ่อแม่ react แบบนี้ตามประสบการณ์เดิมของเราเรื่อย ๆ ลูกจะรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ให้เค้าในบ้าน เค้าจะไปหาพื้นที่นอกบ้าน เช่น หนีออกจากบ้าน ไปเป็นเด็กแว้น ซึมเศร้า หรือฆ่าตัวตาย
.
หลักการของ theory นี้ คือ การสำรวจประสบการณ์เดิมของตน เปิดใจรับฟังมุมมองของลูก เปิดพื้นที่รับฟังเค้า เข้าใจเจตนาของเค้า แล้วจะทำให้เราไม่ react ด้วยระบบ auto ตามประสบการณ์เดิมของเรา ซึ่งการที่เราเปิดใจรับฟังมุมมองใหม่จะทำให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยังเปิดใจลูกให้รับรู้ด้วย
.
มีตัวอย่างเคสที่อาจารย์ยกตัวอย่าง เป็นนักศึกษาที่พยายามฆ่าตัวตาย โดยทางกู้ภัยไปชาร์จตัวลงมาจากขอบตึกสำเร็จแล้ว เค้าพูดซ้ำๆ ว่าตัวเค้าไม่มีคุณค่า หลายคนในที่นั้นตอบกลับไปว่าไม่จริงหรอก เค้าน่ะมีคุณค่า มีคนที่รักเค้า ฯลฯ ถ้าท่านอยู่ในเหตุการณ์นี้ท่านจะพูดกับเค้าอย่างไรคะ
.
อาจารย์ได้มีโอกาสพูดคุยกับนักศึกษาคนนี้ เริ่มต้นด้วยการถามว่าเกิดอะไรขึ้น เล่าให้ฟังหน่อย เค้าจึงพรั่งพรูออกมาว่า เค้าถูก bully ตั้งแต่เด็กมาจนโตว่าหน้าตาไม่ดี และเค้าเพิ่งไปบอกรักผู้หญิงคนนึงแต่ถูกปฏิเสธมา จึงรู้สึกว่าตัวเค้าไม่มีค่า
.
อาจารย์ได้เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เค้าได้ระบาย และมีโอกาสได้เล่าประสบการณ์ของตัวเองซึ่งเป็นชุดความคิดใหม่ว่า อาจารย์ก็หน้าตาไม่ดีแต่มีแฟนเป็นดาวคณะ เค้าจึงได้เปิดมุมมองเห็นประสบการณ์ใหม่ เค้าเข้ารับการบำบัด เมื่อเวลาผ่านไป อาจารย์ได้เจอเค้าอีกครั้ง เค้าบอกอาจารย์ว่าเค้ามีความสุขมาก และตอนนี้มีแฟนแล้ว
.
หลายครั้งที่เรามักจะพูดกับลูกว่าตอนพ่อแม่เป็นเด็กนะ พ่อแม่ทำแบบนี้ เป็นการ react มาจากประสบการณ์เดิมของเรา หลายอย่างที่มันเคย work ในอดีต มันก็ไม่ work ในปัจจุบันนะคะ
.
ถ้าเห็นว่า theory นี้น่าสนใจ เราลองเริ่มต้นด้วยการนิ่งและทบทวนกับตัวเอง เราเคยได้ฟังตัวเองไหมคะ
.
สำหรับต่ายมันคือการ shift paradigm โดยการฟังแบบไม่ judge ค่ะ
Comments