จากการที่ได้พูดคุยกับพ่อแม่หลาย ๆ คน ช่วงที่เรา lock down อยู่บ้านกัน เราได้อยู่กับลูกและคนในครอบครัวตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อกันหาย ๆ เดือน ช่วงแรก ๆ ก็รู้สึกดีที่เราได้ใช้เวลากับคนที่เรารัก ซึ่งก่อนหน้านี้เราต้องไปออกไปทำงานนอกบ้าน เราต้องไปทำงานที่ออฟฟิสเราเสียเวลาไปกับการเดินทาง หลายคนบ่นว่าเราไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่กับลูกเลย แต่พอเราได้มีเวลาอยู่กับลูกเยอะจริง ๆ เรากลับไม่ได้รู้สึกดีขนาดนั้น เราอยู่บ้านต้อง work from home ประชุมเปิดกล้อง ขณะเดียวกันเราก็ต้องช่วยเหลือลูกในการเรียน online ไปด้วย ปัญหานึงที่ต่ายเจอคล้ายกันทุกบ้าน คือ การกระทบกระทั่งกันกับคนในบ้าน เราไม่ได้รู้สึกดีกับการที่อยู่กับคนที่เรารักตลอดเวลาขนาดนี้ เอ..นี่ something wrong หรือเปล่า . เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะรู้สึกหงุดหงิดไม่ได้ดังใจกับคนที่เรารัก เมื่อเรามีเวลาอยู่ด้วยกันมาก ๆ หลายครั้งเรา ‘take it for granted’ ในสิ่งที่คนที่เรารักทำให้ หลาย ๆ อย่างที่เราได้รับถ้าเปลี่ยนเป็นคนนอกครอบครัวทำให้ เราอาจจะรู้สึกว่ามันมีคุณค่าขึ้นมาเลย เช่น ภรรยาล้างแก้วกาแฟให้ เมื่อเปรียบเทียบกับถ้าเราวางแก้วกาแฟไว้ในซิ้งค์ที่ออฟฟิสแล้วเพื่อร่วมงานเรามาล้างให้ เราจะรู้สึกต่างกันเลย เรารู้สึกขอบคุณเพื่อนที่เพื่อนมีน้ำใจล้างแก้วให้เรา แต่เราไม่ได้รู้สึกแบบนี้กับภรรยาของเราทั้ง ๆ ที่เป็นการกระทำแบบเดียวกันและภรรยาก็เป็นคนที่เรารักมากกว่าเพื่อนร่วมงาน . นอกจาก #TakeItForGranted แล้ว เรายังมี #ความคาดหวัง อีกด้วย เช่น ตื่นเช้ามา แก้วกาแฟยังไม่ได้ล้าง เรากลับจะโกรธเสียอีกทำไมภรรยาไม่ล้างก้าวให้ คิดไปต่าง ๆ นานา ไม่รู้หรอตื่นมาเราต้องดื่มกาแฟทุกเช้า ทำไมขี้เกียจอย่างนี้ ฯลฯ เป็นเพราะเรา ‘คาดหวัง’ ว่าคนที่เรารักจะต้องรู้ว่าเราอยากได้อะไรและทำให้เรา หลายครั้งคนรักของเราก็ไม่รู้หรอกค่ะว่าเราอยากได้อะไร . กับลูกก็เช่นเดียวกันค่ะ เราหงุดหงิดที่เวลาเรียน online ลูกไม่ตั้งใจเรียนเลย (ในสายตาเรา) ลูกเปิด window อื่น แอบอ่านการ์ตูน แอบวาดรูป ลูกไม่ได้ตั้งในเรียนเหมือนแบบที่เราคาดไว้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็ไม่เคยเห็นว่าลูกเราตอนที่อยู่ในห้องเรียน เค้าก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจเรียนแบบนี้อยู่แล้วก็ได้แต่เราไม่เคยรู้ รวมทั้งลูกเองก็ไม่รู้ว่า ‘การตั้งใจเรียน’ แบบของพ่อแม่หน้าตาเป็นอย่างไร มันเหมือนกับ ‘การตั้งใจเรียน’ แบบของเค้าไหม . สิ่งที่เราทำได้ให้เราสบายใจกันมากขึ้น เรื่องความคาดหวัง เราควรบอกความคาดหวังของเราไปเลยค่ะ รวมทั้งนิยามความคาดหวังของเราด้วย เช่น แม่อยากให้ลูกตั้งใจเรียน การตั้งใจเรียนของแม่คือ ต้องเปิดกล้องเรียนตลอด ไม่เปิดหน้าจออื่น และไม่แอบทำกิจกรรมอื่นเช่น แอบแชทกับเพื่อน แอบอ่านการ์ตูน ระหว่างเรียน ลูกจะได้เข้าใจว่าเราอยากเห็นพฤติกรรมแบบไหน บางครั้งเราคิดเอาเองว่าเค้ารู้แต่เค้าไม่รู้ค่ะ ส่วนจะทำได้ตามที่เราคาดหวังไหมอันนี้อีกเรื่องนะคะ ลูกก็อาจจะมีความคาดหวังให้เรา trust เค้า ไม่นั่งเฝ้าดูตอนเค้าเรียน online ตลอดเวลา แต่ละคนอาจจะไม่ได้ meet expectation ของตัวเอง 100% แต่เราสามารถพูดคุยเพื่อหาระดับความคาดหวังที่พอใจและสามารถทำได้สำหรับทั้งสองฝ่ายค่ะ . สิ่งที่ทำให้เราเครียดน้อยลงและมีความสุขมากขึ้น ต่ายค้นพบว่ามันคือการ ‘ลดความคาดหวัง’ ลงค่ะ ลูกอาจจะไม่ต้องตั้งใจเรียนตลอดเวลา 100% (ตอนเราเด็ก ๆ เรานั่งหลังตรงตั้งใจเรียนได้ตลอดไม่วอกแวกเลยไหมคะ) ขอแค่ส่งการบ้านครบตรงเวลา ก็น่าจะทำให้เราเครียดน้อยลงนะคะ . แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หลายอย่าง หรือบางคนค้นพบว่าเราก็มีพรสวรรค์ในด้านที่เราไม่เคยรู้ บางคนได้ทำในสิ่งที่ชอบแต่ไม่เคยมีเวลาทำ เช่น ทำกับข้าว ปลูกต้นไม้ ทำงานศิลปะ
พรุ่งนี้ต่ายจะ re-post เทคนิคการให้ feedback ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการพูดคุยเรื่องความคาดหวังได้ค่ะ
Comments