ต่ายได้มีโอกาสคุยกับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นค่ะ คุยกันว่าเราควรจะให้มือถือลูกอย่างไรดี เราอาจจะพยายามให้มือถือลูกให้ช้าที่สุด แต่ถึงอย่างไรวันนึงก็ต้องให้ค่ะ
.
เรากังวลอะไรกันบ้างคะ ถ้าลูกจะมีมือถือเป็นของตัวเอง – กังวลเรื่องการใช้จอเป็นเวลานาน หรือไม่ทำอย่างอื่นติดจอ ติดเกมส์ กลัวลูกจะไปเจอ content ที่ไม่เหมาะสม เช่น ความรุนแรง เรื่องเพศ หรือลูกเราจะไปคุยกับใคร จะมีใครมาหลอกลูกเราหรือเปล่า ฯลฯ เพราะเมื่อมือถือไปอยู่กับลูกแล้วเราไม่สามารถตามไปเฝ้าลูกได้ 100% แน่นอนค่ะ
.
ก่อนอื่นอยากชวนเข้าใจ model การเติบโตค่ะ มนุษย์ตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ ต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นอย่างมากค่ะ ถ้าไม่มีคนมาดูแลจะคงจะไม่มีชีวิตรอด ไม่เหมือนสัตว์ที่เมื่อเกิดมาก็เดินได้เลย สัตว์บางประเภทก็ไม่มีใครมาดูแลเลย เกิดมาจากไข่ก็ต้องดูแลตัวเองเลย การเลี้ยงลูกของเราเมื่อเวลาผ่านไป เราควรให้ลูกรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น และพ่อแม่รับผิดชอบลูกให้น้อยลง ไม่ใช่ว่าความรับผิดชอบของพ่อแม่จะเพิ่มขึ้นนะคะ
.
บางครั้งคุณหมอก็เจอเคสที่คุณพ่อคุณแม่สนค่ะ บางครั้งเราก็ให้ลูกรับผิดชอบเรื่องที่ยังไม่ควรรับผิดชอบ บางครั้งเราก็ไปรับผิดชอบเรื่องที่ลูกควรรับผิดชอบ เช่นเรื่องของมือถือ ใครเป็นคนซื้อมือถือ? คำตอบก็คือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เพราะเด็กไม่มีเงินไปซื้อเองไม่ได้ แล้วใครเป็นคนยื่นให้เด็ก? ใครเป็นคนจ่ายค่าเน็ต ค่าไฟ? ดังนั้นคำถามสำคัญคือ ใครเป็นคนรับผิดชอบ? ถ้ามือถือเป็นของเรา เราก็เป็นคนรับผิดชอบใช่ไหมคะ เมื่อมีความรับผิดชอบ เราก็สามารถตั้งกฎ มีกติกาและอำนาจในการจัดการได้ แต่ถ้าเราให้มือถือเป็นของลูก เช่น ให้เป็นของขวัญวันเกิด เมื่อมือถือไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา เราก็ไม่สามารถควบคุมได้ค่ะ
.
สิ่งที่สำคัญก่อนที่จะยื่นมือถือให้ลูก เราต้องแน่ใจว่าเราว่าลูกของเราจะสามารถควบคุมตัวเองได้ในการใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) เป็นหนึ่งในทักษะของ EF ค่ะ ถ้าเราไม่ได้ปลูกฝังเรื่องนี้มาก่อน รวมทั้งเราเองก็ไม่ได้เป็นตัวอย่างให้ลูก ก็อาจจะยากที่ลูกจะสามารถควบคุมตัวเองได้ค่ะ
Comments